ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการ

dc.contributor.advisorวันเพ็ญ แก้วปาน
dc.contributor.advisorปาหนัน พิชยภิญโญ
dc.contributor.advisorจุฑาธิป ศีลบุตร
dc.contributor.authorอารีส พลอยทรัพย์
dc.date.accessioned2024-01-05T02:02:09Z
dc.date.available2024-01-05T02:02:09Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2560
dc.date.issued2567
dc.descriptionการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ง่าย แนวทางการป้องกันโรคที่ดีคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องและเหมาะสม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการ โดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค (Protection Motivation Theory) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในจังหวัดสมุทรปราการ ที่คัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยใช้แบบประเมิน Thai CVD Risk สุ่มเลือกโดยวิธีแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 220 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square และวิเคราะห์ความสามารถในการทำนายโดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับปานกลางและระดับดี ร้อยละ 49.1 เท่ากัน ปัจจัยด้าน เพศ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความคาดหวังประสิทธิภาพของพฤติกรรมป้องกันโรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรค มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( p-value < 0.05) และปัจจัยด้าน เพศ และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคสามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการ ได้ร้อยละ 51.2 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( p-value < 0.05 ) ผลการศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงโดยควรวางแผนจัดโปรแกรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรค ในเรื่องของการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด เพื่อสร้างเสริมให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
dc.description.abstractThis study aimed to study the factors that affected cardiovascular disease (CVD) preventive behaviors in a high-risk patient group in Samutprakarn province. The research model was a cross-sectional descriptive study, using the Protection Motivation Theory. Samples were selected from a patient group in Samutprakarn province who were considered to be at high risk for the development of CVD. From these, 220 people were randomly selected by cluster random sampling. Data was collected using an interview form and was analyzed using a chi - squared test, to assess relationships, and by Stepwise Multiple Regression Analysis to determine predictability. Results were expressed as means ? standard deviation. The results indicate that, for this patient group, which has a high risk of developing cardiovascular disease, the CVD preventative behavior level was between moderate and good, (49.1% x? = 45.0, S.D. = 5.652). The statistically significant factors related to CVD preventive behavior in the high- risk patient group in Samutprakarn province included: gender, perceived susceptibility, response efficacy, and self-efficacy. Predictors of CVD preventive behavior for this group included gender and self-efficacy, and accounted for 51.2% of variance (p-value <0.05). The results of this study could be used to plan a program to prevent CVD in high-risk patient groups. By increasing their self-efficacy in CVD prevention practiced behaviors, including eating, exercise and stress management practices, it may be possible to optimize their cardiovascular disease prevention behavior.
dc.format.extentก-ฎ, 139 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91836
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิลด
dc.subjectการปรับพฤติกรรม
dc.subjectความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- ไทย -- สมุทรปราการ
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ
dc.subjectหลอดเลือด -- โรค -- การป้องกัน
dc.subjectหัวใจ -- โรค -- การป้องกัน
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการ
dc.title.alternativeFactors affecting cardiovascular disease prevention behaviors among a high risk group in Samutprakan province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/545/5736292.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files