การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะและหลักปฏิบัติเรื่องพุทธสันติวิธีกับอารยะขัดขืนของชุมชนสันติอโศก
Issued Date
2555
Copyright Date
2555
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 201 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
Suggested Citation
จันทรา เฮงสมบูรณ์ การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะและหลักปฏิบัติเรื่องพุทธสันติวิธีกับอารยะขัดขืนของชุมชนสันติอโศก. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93684
Title
การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะและหลักปฏิบัติเรื่องพุทธสันติวิธีกับอารยะขัดขืนของชุมชนสันติอโศก
Alternative Title(s)
A comparative study of the views and practice of buddhist peaceful means and Santi Asoke community's civil disobedience
Author(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นการวิจัยภาคเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนะและแนวปฏิบัติของพุทธสันติวิธี 2) ศึกษาแนวคิดเรื่อง "อารยะขัดขืน" ของชุมชนสันติอโศก และ 3) เพื่อศึกษา เปรียบเทียบแนวคิดและหลักการปฏิบัติของพุทธสันติวิธีและสันติวิธีตามแนวทางของชุมชนสันติอโศก ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง พบว่า พุทธสันติวิธี เป็นวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงใช้แก้ไขความขัดแย้ง โดยอาศัยหลักธรรมเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งไม่ได้มีนัยเพื่อแก้ไขความขัดแย้งเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่ผู้ปฏิบัติและคู่กรณีให้เกิดสันติอย่างแท้จริง และยั่งยืน แนวทางปฏิบัติตามหลักพุทธสันติวิธีสามารถสรุปได้เป็น 2 ประการ พุทธสันติวิธีภายใน คือ หลักคำสอนที่ช่วยสร้างความสงบภายในจิตใจของผู้ปฏิบัติ โดยใช้อริยสัจ 4 เป็นแนวทางปฏิบัติ และ สันติวิธีภายนอก คือ กระบวนการในการจัดการกับความขัดแย้ง, การเรียกร้อง ตลอดจนการดำเนินชีวิต ได้แก่ อธิกรณสมถะ, การเจรจาไกล่เกลี่ย, การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง และการคว่ำบาตร เป็นต้น ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สอง พบว่า แนวคิดอารยะขัดขืนตามแบบของชุมชนสันติอโศกนั้นอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับหลักคำสอนทางพุทธศาสนาเป็นหลัก โดยแนวทางปฏิบัติอารยะขัดขืนนั้น แบ่งได้ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ได้แก่ หลักคำสอนเรื่องศีล เป็นการฝึกฝนจิตใจให้มีเมตตาและมีความอดทนต่อกิเลส และระดับสังคม แนวทางการปฏิบัติที่ปราศจากความรุนแรง สันติ สงบ ได้แก่ หลักอปริหานิยธรรม 7 ซึ่งเป็นธรรมะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่รู้จักเสื่อม เป็นเหตุที่ตั้งแห่งความสามัคคี เป็นต้น ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สาม พบว่า แนวคิดอารยะขัดขืนของชุมชนสันติอโศก มีความสอดคล้องและเป็นแนวทางหนึ่งของพุทธสันติวิธี ในฐานะเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต แต่ยังไม่ใช่แนวทางของพุทธสันติวิธีที่สมบูรณ์ เนื่องจากกระบวนการเรียกร้องและเป้าหมายของชุมชนสันติอโศกนั้น แตกต่างจากพุทธสันติวิธีที่มุ่งเรียกร้องโดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และมีเป้าหมายเพื่อการปกป้องสถาบันศาสนา และเพื่อความสงบของสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง แต่ อย่างไรก็ตามแนวทางอารยะขัดขืนของชุมชนสันติอโศกถือได้ว่าเป็นแนวทางหนึ่งของสันติวิธีได้เช่นกัน เพราะเป็นแนวทางในการเรียกร้องโดยปราศจากความรุนแรง การวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า สังคมไทยในปัจจุบันควรมีการประยุกต์ใช้แนวคิดพุทธสันติวิธีแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งแนวทางของพุทธสันติวิธีจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชน เกิดการเรียนรู้ มีสติปัญญาในการดำรงชีวิต มีส่วนร่วม เคารพกติกา ยอมรับความเห็นต่าง เป็นผลทำให้รากฐานทางสังคมและ รากฐานทางจิตใจของคนในสังคม เติบโตไปพร้อมกันกับสังคม ศาสนา และการเมือง
Description
ศาสนาเปรียบเทียบ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
ศาสนาเปรียบเทียบ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล