ความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

dc.contributor.advisorกมลพร สอนศรี
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ
dc.contributor.advisorภัทร์ พลอยแหวน
dc.contributor.authorคัมภิณี เย็นเป็นสุข
dc.date.accessioned2024-01-22T08:53:37Z
dc.date.available2024-01-22T08:53:37Z
dc.date.copyright2557
dc.date.created2567
dc.date.issued2557
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
dc.description.abstractการศึกษาวิจัย เรื่อง ความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ4) เพื่อนำเสนอแนวทางใน การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ระดับความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความพร้อมด้านแรงงาน เทคโนโลยี ระบบโลจิสติกส์ ตลาด กฎระเบียบ การบริหารจัดการ และการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพร้อมด้านเครือข่ายอยู่ในระดับน้อย 2) เปรียบเทียบความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า รูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมด้านแรงงาน เทคโนโลยี ระบบโลจิสติกส์ ตลาด เครือข่าย กฎระเบียบ การบริหารจัดการ และการวิจัยและพัฒนาของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่างกัน ขนาดธุรกิจที่ต่างกันมีผลต่อความพร้อมด้านแรงงาน เทคโนโลยี ระบบโลจิสติกส์ ตลาด เครือข่าย กฎระเบียบ การบริหารจัดการ และการวิจัยและพัฒนาของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่างกัน และกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมด้านแรงงาน เทคโนโลยี ระบบโลจิสติกส์ ตลาด เครือข่าย กฎระเบียบ การบริหารจัดการ และการวิจัยและพัฒนาของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่างกัน 3) ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีปัญหาและอุปสรรคทางด้านเงินทุน ภาษา การขนส่ง กฎหมาย กระบวนการผลิต การประชาสัมพันธ์ การหาช่องทางการตลาดในการเข้าถึงตลาด AEC และการสร้างสินค้าที่มีความแปลกใหม่หรือเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานตามสากล อีกทั้ง ข้อกีดกันทางการค้า ระหว่างประเทศอาเซียน การมีตลาดที่ไม่แข็งแรงพอ และยังไม่มีความรู้ในเรื่องข้อกำหนดกฎหมายต่างๆของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 4) แนวทางในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป พบว่า สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปต้องทำหน้าที่เป็นตัวประสานการรวมกลุ่มกันด้านเครือข่ายทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการให้มากขึ้นและจัดดำเนินโครงการสนับสนุนด้านเงินทุนในการนำไปพัฒนาในด้านต่าง ๆ ขององค์กรให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งดำเนินการจัดการอบรมภาษาต่างประเทศ (อาเซียน) เพื่อเสริมทักษะทางด้านภาษาให้แก่ผู้ประกอบการ
dc.description.abstractThe aims of the research are 1) to study the availability of the SMEs in the food industry for entering the AEC. 2) to compare the availability of the SMEs in the food industry for entering into the AEC. 3) to study problems and barriers of the SMEs in the food industry for entering into the AEC and 4) to present guidelines for the promotion of the SMEs in the food industry for entering into the AEC to Bureau of Agro-industry development. The results showed that 1) a level of the availability of the SMEs in the food industry for into the AEC areas of labor, technology, logistic, market, rule, management, and research and development is moderate and the availability of network is low. 2) To compare the availability of the SMEs in the food industry for entering the AEC found that the business models that are different and can affect the availability of labor, technology, logistic, market, network, rule, management, and research and development of the Asean Economic Community as well. The difference of business sizes affects the availability of labor, technology, logistic, market, network, rule, management, and research and development of the AEC as well. And, the difference in customer groups affects the availability of labor, technology, logistic, market, network, rule, management, and research and development of AEC as well. 3) Problems and barriers of the SMEs in the food industry for entering the AEC; most of SMEs have problems with funding, languages, transportation, laws, production process, public relations, finding a suitable market amongst the AEC, and creating a new product or finding products that meet international standards and are inline with trade barriers between countries. The market is not strong enough, and knowledge of regulation, laws of the AEC is weak. And 4) guidelines for the promotion of SMEs in the food industry for entering the AEC to Bureau of Agro-industry development found that Bureau of Agro-industry development must act more as a coordinator in an affect to combine SMEs and manage funding development projects required to develop the aspects of SMEs organizations and the management of foreign language training (ASEAN) needed to strengthen the language skills of SMEs.
dc.format.extentก-ฎ, 199 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93458
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectสมาคมอาเซียน
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหาร
dc.subjectธุรกิจขนาดย่อม -- ไทย
dc.titleความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ด้านอุตสาหกรรมอาหารต่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
dc.title.alternativeThe preparation of SMEs in food industry for the AEC
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd483/5337781.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files