การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของบิดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดตามการรับรู้ของบิดาและพยาบาล
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 151 แผ่น : ภาพประกอบ,ตาราง
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ยศวิมล ถิ่นทิพย์ การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของบิดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดตามการรับรู้ของบิดาและพยาบาล. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93353
Title
การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของบิดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดตามการรับรู้ของบิดาและพยาบาล
Alternative Title(s)
Comparisons of needs and met needs of fathers of permature infants in a neonatal intensive care unit as perceived by fathers and by nurses
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็ นการวิจัยเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ (Comparative descriptive study) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการ และการได้รับการตอบสนองความต้องการของบิดาทารกเกิดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดตามการรับรู้ของบิดา และพยาบาล ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กรอบแนวคิดการวิจัยใช้ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมายของคิง (King's Theory of Goal Attainment) กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดอย่างน้อย 72 ชั่วโมง และ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหออภิบาลทารกแรกเกิด อย่างน้อย 1 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของบิดาทารกเกิดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดตามการรับรู้ของบิดา และพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า บิดามีความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.023, p = 0.046) พยาบาลรับรู้ความต้องการ และรับรู้การได้รับการตอบสนองความต้องการของบิดาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -0.386, p = 0.702) บิดา และพยาบาลรับรู้ความต้องการของบิดาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.332, p = 0.023) และ บิดาและพยาบาลรับรู้การได้รับการตอบสนองความต้องการของบิดาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 0.754, p = 0.45) ดังนั้น พยาบาลควรให้การพยาบาลโดยคำนึงถึงความต้องการของบิดาเป็นหลัก โดยเน้นให้การตอบสนองความต้องการในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านความมั่นใจในความปลอดภัยของบุตร ด้านการดูแลจิตใจ และ ด้านบทบาทการเป็นบิดา
This comparative descriptive study aimed to examine needs and met needs of fathers of premature infants in a Neonatal Intensive Care Unit (NICU) as perceived by fathers and by nurses at a tertiary hospital in Bangkok. The King's Theory of Goal Attainment was used as the conceptual framework of the study. The sample comprised fathers of premature infants in a NICU admitted for at least 72 hours and nurses working in a NICU for at least one year. Data were collected using the needs and met needs of fathers of premature infants in a NICU questionnaire and analyzed using descriptive statistics and t-test statistics. According to the study findings, the means of fathers' needs and met needs were statistically different (t = 2.023, p = .046). The means of fathers' needs and met needs perceived by nurses were not statistically different (t = -.386, p = .720). Means of fathers' needs perceived by fathers and by nurses were statistically different (t = 2.332, p = .023), and means of fathers' met needs perceived by fathers and by nurses were not statistically different (t = .754, p = .450). Therefore, professional nurses should be aware of the major needs of fathers with premature infant. Nursing care should be focused on met needs of those fathers, especially in relaying information, assurance of patient's safety, psychological, and paternal role aspects.
This comparative descriptive study aimed to examine needs and met needs of fathers of premature infants in a Neonatal Intensive Care Unit (NICU) as perceived by fathers and by nurses at a tertiary hospital in Bangkok. The King's Theory of Goal Attainment was used as the conceptual framework of the study. The sample comprised fathers of premature infants in a NICU admitted for at least 72 hours and nurses working in a NICU for at least one year. Data were collected using the needs and met needs of fathers of premature infants in a NICU questionnaire and analyzed using descriptive statistics and t-test statistics. According to the study findings, the means of fathers' needs and met needs were statistically different (t = 2.023, p = .046). The means of fathers' needs and met needs perceived by nurses were not statistically different (t = -.386, p = .720). Means of fathers' needs perceived by fathers and by nurses were statistically different (t = 2.332, p = .023), and means of fathers' met needs perceived by fathers and by nurses were not statistically different (t = .754, p = .450). Therefore, professional nurses should be aware of the major needs of fathers with premature infant. Nursing care should be focused on met needs of those fathers, especially in relaying information, assurance of patient's safety, psychological, and paternal role aspects.
Description
การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลเด็ก
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล