สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคเหนือตอนบน

dc.contributor.advisorณัฐชยา นัจจนาวากุล
dc.contributor.advisorอนรรฆ จรัณยานนท์
dc.contributor.authorนิรันดร์ เลิศนิรันดร์สกุล
dc.date.accessioned2024-01-15T01:45:33Z
dc.date.available2024-01-15T01:45:33Z
dc.date.copyright2560
dc.date.created2567
dc.date.issued2560
dc.descriptionดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยศึกษาปัญหาการเรียนการสอนดนตรีไทย และศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนดนตรีไทยใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนมี 4 รูปแบบ ได้แก่ จัดการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐาน วิชาเพิ่มเติมดนตรีไทย กิจกรรมชุมนุม และชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยแต่ละโรงเรียนจะจัดการ เรียนการสอนตามความพร้อมของโรงเรียนปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ เวลาในการจัดการเรียนการสอนมีน้อย นักเรียนบางส่วนไม่ตั้งใจและไม่มุ่งมั่นในการเรียนดนตรีไทย ปัญหาด้านครูผู้สอนพบว่าครูมีภาระงานมากทำให้ไม่สามารถทุ่มเทให้กับการสอนได้อย่างเต็มที่ บางโรงเรียนไม่มีครูสอนดนตรีไทย ขาดงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อและซ่อมเครื่องดนตรี นอกจากนี้ผู้ปกครองและครูบางส่วนมีทัศนคติว่าการเรียนดนตรีทำให้การเรียนแย่ลงด้วยอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนาที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนส่งผลให้กิจกรรมดนตรีไทยไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ส่งผลให้โอกาสในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนลดน้อยตามไป ด้านความต้องการในการจัดการเรียนการสอนพบว่ามีความต้องการเวลาการสอนดนตรีเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันควรมีครูสอนดนตรีไทย อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรส่งเสริมปัจจัยต่างๆ เพื่อสนับสนุน ผู้เรียน ควรมีการให้ทุนแก่นักเรียนที่มีความสามารถด้านดนตรีไทย นอกจากนี้การปรับทัศนคติผู้เรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งควรมีการส่งเสริมครูดนตรีในพื้นที่ให้มีโอกาสได้พัฒนาตนเอง ในด้านการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนดนตรีไทยใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนควรมีการสร้างรูปแบบการเรียนที่สอดคล้องคุณลักษณะของผู้เรียน ควรริเริ่มให้มีการจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มดนตรีไทยในพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เรียน
dc.description.abstractThe purpose of this research study was to investigate the conditions, problems, and needs of teaching and learning Thai music, as well as offering useful suggestions to suit Thai music leaners' needs in four provinces in the upper northern region of Thailand. The study employed qualitative research methodology. Results of the study revealed that there were four structures of Thai music teaching and learning according to the schools' curricula, i.e. Thai music as a foundation course, Thai music as an elective course, Thai music as students' activities of interest, and Thai music as extra course of the Moderate Class, More Knowledge scheme. It was also found that different schools offered Thai music courses differently, based on students' readiness. Common problems found included fewer Thai music classes, and some students paid less attention and were not motivated in Thai music classes. As far as Thai music teachers were concerned, they were really loaded with teaching and non-teaching work that they could not commit themselves to Thai music teaching. In some schools, there were no Thai music teachers at all. Additionally, certain schools lacked budget for procuring and maintaining Thai music instruments. Also, some parents and teachers took negative attitudes to Thai music learning, saying it worsened students' learning performance, thus Thai music teaching and learning was not being recognized academically. Regarding the needs for Thai music teaching and learning, it was found that more Thai music classes and Thai music teachers are desperately needed. Moreover, students are expected to be more attentive and determined in learning traditional Thai music. Schools should also support Thai music teaching and learning academically and financially. Results also revealed that parent and student attitudes should be assimilated. Local Thai music teachers should receive sufficient self-development opportunity and teaching strategies to address student's needs should be adapted to develop desired characteristics. Local Thai music teacher networks, and teaching knowledge exchange and collaboration activities among students should be implemented
dc.format.extentก-ฐ, 111 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationสารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92696
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectดนตรีไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคเหนือตอนบน
dc.title.alternativeProblems and needs of teaching and learning Thai music for high school in upper Northern Thailand
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd529/5838483.pdf
thesis.degree.departmentวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
thesis.degree.disciplineดนตรี
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files