การถักทอความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายของผู้หญิง : งานหัตถกรรมผ้าของผู้หญิงพลัดถิ่นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบริเวณชายแดนไทย-พม่า
dc.contributor.advisor | ศิริจิต สุนันต๊ะ | |
dc.contributor.advisor | โสฬส ศิริไสย์ | |
dc.contributor.advisor | สุชาดา ทวีสิทธิ์ | |
dc.contributor.author | พรพรรณ กาญจนาธิวัฒน์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-22T08:53:39Z | |
dc.date.available | 2024-01-22T08:53:39Z | |
dc.date.copyright | 2557 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description | วัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557) | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ทำความเข้าใจนิยามการผลิตงานหัตถกรรมผ้าของผู้หญิงพลัดถิ่นชาวกะเหรี่ยงที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับบทบาทของผู้หญิงบนพื้นที่ชายแดนหลายมิติทั้งในระดับปัจเจกและเครือข่ายของผู้หญิง เนื่องด้วย หัตถกรรมผ้าโดยเฉพาะการทอผ้าเป็นองค์ประกอบและบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้หญิงกะเหรี่ยง แม้ใน สถานการณ์พลัดถิ่นที่ผู้หญิงซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่ออกเดินทางและประคับประคองครอบครัว โดยปัจเจกหญิงที่ อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวและหมู่บ้านไทยให้ความหมายและคุณค่าของงานหัตถกรรมผ้าในเชิงอรรถ- ประโยชน์ คุณค่าทางการแลกเปลี่ยนและเศรษฐกิจ อันผูกพันกับความรับผิดชอบของผู้หญิงในทางเศรษฐกิจและ การผลิตภาคครัวเรือน บทบาททางเพศภาวะ รวมทั้งความหมายทางวัฒนธรรมในการดำรงและสืบทอดมรดกของ บรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยง นอกจากนี้ยังสร้างความสามารถและคุณค่าในตัวเองของผู้หญิง สำหรับในระดับ เครือข่ายที่มีกลุ่ม/องค์กรของผู้หญิงที่ดำเนินกิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้หญิงพลัดถิ่น/ผู้หญิง กะเหรี่ยง พบว่า งานหัตถกรรมผ้าเป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ดูแลช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มต่างๆ ใน สังคม, เป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และนำมาใช้พัฒนาศักยภาพ และสร้างพลังอำนาจให้แก่ผู้หญิง ขณะเดียวกันกลุ่ม/องค์กรของผู้หญิงยังประสานและร่วมมือกันเป็นเครือข่าย ของผู้หญิงพลัดถิ่นที่ชายแดน โดยเฉพาะผู้นำหรือแกนนำกลุ่ม/องค์กรที่สร้างความตระหนักถึงประเด็นเรื่องผู้หญิง ในหมู่สมาชิกและผู้หญิงพลัดถิ่นชาวกะเหรี่ยงระดับปัจเจก สร้างความรับรู้ต่อสถานการณ์ของผู้หญิงและคน กะเหรี่ยงพลัดถิ่นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-พม่าด้วยการเผยแพร่ข่าวสารและประสบการณ์ของผู้หญิงสู่สาธารณะ ผ่านช่องทางการสื่อสารข้ามพรมแดน รวมถึงปฏิบัติการเคลื่อนไหวร่วมกับขบวนการผู้หญิงอื่นๆ ในระดับสากล ทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับบทบาทเชิงขนบของผู้หญิงในการผลิตทางเศรษฐกิจ การผลิตซ้ำทางสังคม และการผลิตซ้ำ วัฒนธรรมที่สร้างประโยชน์แก่ชุมชนคนพลัดถิ่นชาวกะเหรี่ยง และเป็นพลวัตแห่งความหมายในงานหัตถกรรมผ้า ที่ถูกผลิตและนิยามขึ้นภายใต้บริบทการพลัดถิ่นบนพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า | |
dc.description.abstract | This thesis studies textile handicraft production by Karen displaced women, as it relates to multiple dimensions of the women's role along the Thai-Burma borderland, both at the individual and network levels. Textile handicrafts making, especially weaving, plays an important role in displaced Karen women's life. It supports many women's livelihoods and sustains their families in the condition of displacement. For individual women who live in temporary shelters and Thai villages along the Thai-Burma border, textile handicrafts carry use-value as well as exchange-value: the products are used in everyday life and sold as commodities. This study on textile handicrafts making highlights Karen displaced women's cultural and economic roles in the household and the community. Karen textile handicrafts represent Karen ethnic and cultural identity in the context of displacement. Through textile handicraft production, the women play an important part in maintaining Karen's cultural heritage. Contributing products and income to the household and the community, the women gain self- esteem as well as develop their own capacity. For women's organizations on the Thai-Burma border, textile handicrafts are a source of income that the organizations use to support community members who are in need. Textile handicraft production is part of the organizations' activities to develop women's potential and to empower displaced women. Women's groups and organizations in the border area have collaborated and formed displaced women's networks that transmit the awareness of women's issues to individual Karen displaced women in the Thai-Burma border. The women's networks communicate displaced women's issues to the world by distributing words about the situations and experiences of displaced women. The displaced women's networks mobilize along with the global women's movement. The incorporation of textile handicraft production in women's organization activities highlights the way in which women's traditional role in cultural and social reproduction can be a source of women's empowerment. From household utility to a source of income and to women's empowerment agent, Karen displaced women's textile handicraft production meaningfully contributes to the Karen community in the Thai-Burma Border area and beyond | |
dc.format.extent | [ก]-ฏ, 208 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93468 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | คนพลัดถิ่น | |
dc.subject | คนพลัดถิ่น -- เครือข่ายสังคม | |
dc.subject | กะเหรี่ยง -- เครือข่ายสังคม | |
dc.subject | กะเหรี่ยง | |
dc.subject | กะเหรี่ยง -- ภาวะสังคม | |
dc.subject | หัตถกรรมสิ่งทอ | |
dc.subject | หัตถกรรมสิ่งทอ -- พม่า | |
dc.subject | สตรี -- เครือข่ายสังคม | |
dc.title | การถักทอความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายของผู้หญิง : งานหัตถกรรมผ้าของผู้หญิงพลัดถิ่นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบริเวณชายแดนไทย-พม่า | |
dc.title.alternative | Weaving solidarity and women's networks : textile handicrafts of Karen displaced women on the Thai-Burma border | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd494/5236085.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย | |
thesis.degree.discipline | วัฒนธรรมและการพัฒนา | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |