ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความในการดูแล ความเครียด การปรับตัวและความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 143 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
นันทกาญจน์ ปักษี ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความในการดูแล ความเครียด การปรับตัวและความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93380
Title
ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความในการดูแล ความเครียด การปรับตัวและความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล
Alternative Title(s)
Effect of transitional care program for stroke patients and family caregivers on caregiver's preparedness, stress, adaptation and satisfaction
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ ญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความพร้อมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล โดยใช้กรอบแนวคิดของรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านของเนเลอร์ (Naylor, 2004) และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดจัดเข้าเป็นผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลกลุ่มควบคุม 30 คู่ และกลุ่มทดลอง 30 คู่ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วย 1.เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบประเมินสมรรถภาพทางสมอง (The Set Test) และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (Barthel Index of Activities of Daily Living) 2. เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน คู่มือการดูแลผู้ป่วย และการดูแลตนเองของญาติผู้ดูแล และแผนการสอน 3.เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของญาติผู้ดูแลและผู้ป่วย แบบประเมินความพร้อม ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล และแบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้าน และทางโทรศัพท์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแคว์ และสถิติที ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนน ความพร้อมในการดูแล ความเครียด และความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลในบริการที่ได้รับในระยะ 1 เดือนหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม คะแนนการปรับตัวของญาติผู้ดูแลในระยะ 1 เดือนหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ ควรมีการนำโปรแกรมการดูแลมาปรับใช้ในการติดตามผลการศึกษาในระยะยาว เช่น 2-3 เดือน หลังจำหน่าย เพื่อติดตามการปรับตัวของญาติผู้ดูแลหลังจากรับบทบาทเมื่อกลับไปบ้านต่อไป
This study was a quasi-experimental research aiming to explore the effect of the transitional care program for stroke patients and family caregivers during the transitional period from hospital to home looking at caregivers' preparedness, stress, adaptation, and satisfaction. This program was developed based on the conceptual framework of Transitional Care Model by Naylor combined with reviewing the literature. Samples were purposively selected. The participants comprised of 60 pairs of patients and their family caregivers that were equally divided into control and experimental groups. The control group received usual nursing care provided by nurses in a hospital and the experimental group received the usual nursing care provided by nurses in a hospital plus the transitional care program. The research instrument consisted of: 1) screening instruments which were composed of the Set Test and the Barthel Index of Activities of Daily Living; 2) the experimental instruments, which were composed of the transitional care program for stroke patients and family caregivers during the transitional period from hospital to home, and a care- givers' handbook and a lesson plan for caring for patients and for self-care; and 3) the instruments for collecting data comprised of a questionnaire on demographic data, the assessment tools of family caregivers' preparedness, stress, adaptation, satisfaction and a record form for home visits and telephone contact. The study was conducted from December B.E. 2556 to April B.E. 2558. Data were analyzed by using descriptive statistics (frequency, percentage, mean and standard deviation). The hypotheses were tested by using chi-square and t-test. The results showed that the mean scores of family care-givers' preparedness, stress and satisfaction in the experimental group, one month after discharge, was higher than those in the control group. The scores of adaptation of family caregivers in the experimental and control groups after intervention was not statistically significantly different. A long-term program should be conducted to follow the adaptation of family caregivers.
This study was a quasi-experimental research aiming to explore the effect of the transitional care program for stroke patients and family caregivers during the transitional period from hospital to home looking at caregivers' preparedness, stress, adaptation, and satisfaction. This program was developed based on the conceptual framework of Transitional Care Model by Naylor combined with reviewing the literature. Samples were purposively selected. The participants comprised of 60 pairs of patients and their family caregivers that were equally divided into control and experimental groups. The control group received usual nursing care provided by nurses in a hospital and the experimental group received the usual nursing care provided by nurses in a hospital plus the transitional care program. The research instrument consisted of: 1) screening instruments which were composed of the Set Test and the Barthel Index of Activities of Daily Living; 2) the experimental instruments, which were composed of the transitional care program for stroke patients and family caregivers during the transitional period from hospital to home, and a care- givers' handbook and a lesson plan for caring for patients and for self-care; and 3) the instruments for collecting data comprised of a questionnaire on demographic data, the assessment tools of family caregivers' preparedness, stress, adaptation, satisfaction and a record form for home visits and telephone contact. The study was conducted from December B.E. 2556 to April B.E. 2558. Data were analyzed by using descriptive statistics (frequency, percentage, mean and standard deviation). The hypotheses were tested by using chi-square and t-test. The results showed that the mean scores of family care-givers' preparedness, stress and satisfaction in the experimental group, one month after discharge, was higher than those in the control group. The scores of adaptation of family caregivers in the experimental and control groups after intervention was not statistically significantly different. A long-term program should be conducted to follow the adaptation of family caregivers.
Description
การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Degree Discipline
การพยาบาลผู้ใหญ่
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล