ผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อทักษะสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้ง
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 161 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ศศิพิมพ์ เศรษฐเสถียร ผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อทักษะสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้ง. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92777
Title
ผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อทักษะสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้ง
Alternative Title(s)
The effect of music therapy on social skills in a neglected child
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อทักษะทางสังคมในเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งผู้เข้าร่วมมีอายุ 8 ปี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยกรณีศึกษากรณีเดี่ยว (ABAB single-case design) ร่วมกับการวิจัยกรณีศึกษาแบบกรณีเดี่ยวในเชิงคุณภาพ (Qualitative single-case study) การทดลองประกอบไปด้วย 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะ Baseline ซึ่งเป็นระยะของการสังเกตทักษะสังคมที่ไม่มีการใช้ดนตรี และ 2) การให้กิจกรรมดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมทักษะสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท คือ 1) The Individualized Music Therapy Assessment Profile (IMTAP) ในส่วนของการประเมินทักษะสังคม และ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมเพื่อใช้บันทึกพฤติกรรมทางสังคมของผู้เข้าร่วมในเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์กราฟ และการวิเคราะห์กรณีศึกษาเชิงบรรยายเพื่อแสดงพัฒนาการทักษะสังคมของผู้เข้าร่วมตั้งแต่ระยะ Baseline จนถึงการให้กิจกรรมดนตรีบำบัดครั้งสุดท้าย ผลการวิจัยพบว่า ในระยะ Baseline ช่วงที่ 1 ผู้เข้าร่วมมีคะแนนทักษะสังคมที่ต่ำกว่าการให้กิจกรรมดนตรีบำบัดในช่วงที่ 1 หลังจากนั้นคะแนนทักษะสังคมกลับลดลงอีกครั้งอย่างเห็นได้ชัดในระยะ Baseline ช่วงที่ 2 อย่างไรก็ตามคะแนนทักษะสังคมกลับมาสูงอีกครั้งในการให้กิจกรรมดนตรีบำบัดในช่วงที่ 2 จากผลการวิจัย สรุปได้ว่าดนตรีบำบัดสามารถพัฒนาทักษะสังคมของเด็กที่ถูกทอดทิ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The purpose of this study was to examine the effect of music therapy on social skills of an 8-year-old neglected child. The procedure employed the A-B-A-B design combined with the qualitative single-case design. The experiment was organized as two periods including baseline sessions (A) and music therapy sessions (B). The Individualized Music Therapy Assessment (IMTAP) for social domain and narrative observation form were used as research instruments to collect and assess the social behaviors of the participant. The results of participant's social skills were illustrated using the visual inspection and narrative case study. The result showed that the scores of social skills in baseline sessions (A1) were lower than the scores of music therapy session (B1). After withdrawal interventions, the scores went lower apparently again in the baseline sessions (A2). However, the scores increased again after providing the music interventions in music therapy session (B2). In summary, the results proved that music therapy enhanced the social skills of the neglected child efficiently.
The purpose of this study was to examine the effect of music therapy on social skills of an 8-year-old neglected child. The procedure employed the A-B-A-B design combined with the qualitative single-case design. The experiment was organized as two periods including baseline sessions (A) and music therapy sessions (B). The Individualized Music Therapy Assessment (IMTAP) for social domain and narrative observation form were used as research instruments to collect and assess the social behaviors of the participant. The results of participant's social skills were illustrated using the visual inspection and narrative case study. The result showed that the scores of social skills in baseline sessions (A1) were lower than the scores of music therapy session (B1). After withdrawal interventions, the scores went lower apparently again in the baseline sessions (A2). However, the scores increased again after providing the music interventions in music therapy session (B2). In summary, the results proved that music therapy enhanced the social skills of the neglected child efficiently.
Description
ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Degree Discipline
ดนตรี
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล