Electronic Kardex for nurse
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
น้ำผึ้ง อินทโพธิ์, ศิริพร สมจิต, ณัฐวดี เมืองงิ้วราย, ธัญญา นารายณ์, ธนัชชา ยินสูตร์, Numpueng Inthaphoe, Siriporn Somjit, Nattawadee Muangngewrat, Thanutcha Yinsoot (2564). Electronic Kardex for nurse. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79965
Title
Electronic Kardex for nurse
Other Contributor(s)
Abstract
หน่วยผ่าตัดนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราชให้บริการผู้ป่วยที่เข้ารับ
การผ่าตัดอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานของสตรี ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดหน้า
ท้อง (Open surgery) การผ่าตัดทางช่องคลอด (Vagina surgery) และการ
ผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopy) การผ่าตัดผ่านกล้องทางช่อง
คลอด (Hysteroscopy) จากสถิติปี 2563 มีจำนวนผู้รับการผ่าตัดในหน่วย
ผ่าตัดนรีเวชวิทยาจำนวน 2,756 คน มีการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์
วัสดุภัณฑ์ ที่มีความหลากหลาย การเพิ่มขึ้นของจำนวนนรีแพทย์ผู้ทำผ่าตัดมี
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ในปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนนรีแพทย์ทั้งหมด 45 คน ทำให้
การจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุภัณฑ์ และลำดับขั้นตอนการผ่าตัดของ
นรีแพทย์มีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้พยาบาล
ประจำห้องผ่าตัดหมุนเวียนปฏิบัติงาน ระหว่างหน่วยผ่าตัดนรีเวชวิทยาและ
หน่วยผ่าตัดสูติศาสตร์ อีกทั้งมีพยาบาลประจำหน่วยผ่าตัดนรีเวชฯ อายุงาน
น้อยกว่า 5 ปี ประมาณ 1/3 ของพยาบาลประจำหน่วยผ่าตัดนรีเวชทั้งหมด
ซึ่งพยาบาลกลุ่มนี้ยังมีประสบการณ์น้อยในการช่วยและส่งผ่าตัดของแพทย์แต่
ละท่าน ฉะนั้นทำให้เกิดความล่าช้าและคลาดเคลื่อนในการจัดเตรียมวัสดุ
อุปกรณ์ การเตรียมเครื่องมือไม่พร้อมใช้ภายหลังผู้ป่วยได้รับยาระงับ
ความรู้สึก และความคลาดเคลื่อนในการส่งผ่าตัดตามลำดับขั้นตอนนรีแพทย์
ผู้ทำผ่าตัดแต่ละท่าน
ดังนั้นจึงจัดทำคู่มือนี้ที่รวบรวมการจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ
ภัณฑ์ตามขั้นตอนการผ่าตัดของนรีแพทย์แต่ละท่านไว้ โดยรวบรวมข้อมูล
นามาเก็บในระบบอิเล็คทรอนิค สามารถเข้าถึงได้จากการสแกน QR code
วิธีนี้สามารถเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และซับซ้อนได้ สะดวกในการค้นหารายชื่อนรีแพทย์ และสะดวกในการแก้ไขข้อมูล โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดเตรียม
เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุภัณฑ์ และขั้นตอนการผ่าตัดของ นรีแพทย์แต่ละ
ท่านที่แตกต่างกัน เพื่อให้พยาบาลห้องผ่าตัดในหน่วยผ่าตัดนรีเวชฯและ
หน่วยงานอื่นที่หมุนเวียนปฏิบัติงานและสนใจได้เรียนรู้ และทบทวนการ
จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุภัณฑ์ และทบทวนขั้นตอนการผ่าตัดของนรี
แพทย์ได้รวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาในการจัดเตรียมเครื่องมือ และลดค่าใช้จ่าย
ในการเปิดเวชภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นในการทำผ่าตัดนั้นๆของผู้ป่วย ทำให้พยาบาล
ประจำหน่วยผ่าตัดนรีเวชฯและผู้สนใจสามารถส่งผ่าตัดได้ถูกต้องมี
ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 163-164