คุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฑ, 192 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการเวชสารสนเทศ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
Suggested Citation
กุณฑลี รักษ์งาร คุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
. วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการเวชสารสนเทศ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91840
Title
คุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Alternative Title(s)
The medical record service quality of Thammasat University Hospital
Author(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ประชากรได้แก่ผู้ใช้บริการเวชระเบียนประกอบไปด้วยประชาชน ผู้ป่วย ครอบคลุมบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มาติดต่อใช้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติวิธีวิจัยเชิงปริมาณสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น(Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 404 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถาม วิธีวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Performance Person) จำนวน 3 คน โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกดังนี้คือ เป็นผู้บริหาร หน.ส่วนงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ได้แก่ประธานคณะกรรมการเวชระเบียน 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืน 1 คน และผู้บริหารที่รับผิดชอบกำกับดูแลงานเวชระเบียน 1 คน เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติใช้ t-test F-test ANOVA Chi-square LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1)คุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( x =4.07,S.D.=0.82)จำแนกรายด้านพบว่าด้านการดูแลเอาใจใส่ (Empathy) ( x =4.23,S.D.=0.79) ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ (Assurance) ( x = 4.21,S.D.=0.72) มีคุณภาพอยู่ในระดับสูงสุด และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและรูปแบบของการให้บริการ (Tangibles) (x =3.94,S.D.=0.66) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพการให้บริการเวช ระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลระดับการศึกษาสูงสุด รายได้รวมต่อเดือน สิทธิการรักษาพยาบาล และประเภทการให้บริการมีความแตกต่างกันเป็นไปตามสมมุติฐาน 3)ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลระดับการศึกษาสูงสุด รายได้รวมต่อเดือน สิทธิการรักษาพยาบาล จำนวนครั้งการมาใช้บริการ และประเภทการให้บริการมีความสัมพันธ์กันเป็นไปตามสมมุติฐาน 4)แนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการเวชระเบียนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้แก่ (1) การพัฒนาการให้บริการตามประเภทการ ให้บริการ (2) การพัฒนาการให้บริการแยกตามประเภทสิทธิการรักษา (3) การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่การให้บริการอย่างเพียงพอ (4) การสร้างService Mind ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ (5) การเสริมสร้างแรงจูงใจ ชื่นชม ให้รางวัลเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการเวชระเบียน (6) การเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเวชระเบียนเป็น Electronics เต็มรูปแบบ (7) การกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพเวชระเบียน (8) การติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยและความลับเวชระเบียน (9) การรายงานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบเวชระเบียนและการติดตามแก้ไขความเสี่ยง
The objectives of this mixed method research were 1) to study The Medical Record Service Quality of Thammasat University Hospital, 2) to investigate personal factors that affect The Medical Record Service Quality of Thammasat University, 3) to study the relationships between personal factors and The Medical Record Service Quality of Thammasat University, 4) to study the development of The Medical Record Service Quality of Thammasat University Hospital guideline. Data were derived using a questionnaire form 404 samples consisting of patients and the Thammasat's officials who received Medical Record service at Medical Record Department. Furthermore, 3 key informants, a board director, a head leader and a hospital team member, were interviewed to collect qualitative data using in -depth interview. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, S.D., t-test, F-test, ANOVA, LSD, Chi-square, and content analysis. Results of this research were as follows. 1)The Medical Record Service Quality of Thammasat University Hospital was at a high level ( x=4.07, S.D.=0.82),ordering by the means scores from the highest to lowest levels: The Empathy ( x=4.23, S.D.=0.79), The Assurance ( x=4.21, S.D.=0.72) and The Tangibles ( x=3.94, S.D.=0.66). 2) The results showed that personal factors that affect Medical Record Service Quality were education level, monthly income, rights, and type of service. 3) The relationships study found The Medical Record Service Quality was significantly correlated with education level, monthly income, rights, year of service and type of service. 4)The Medical Service Quality guideline of Thammasat University Hospital included 1) the type of service, 2) Rights, 3) Tangibles, 4) Service Mind, 5) Motivation, 6) Electronic Medical Record, 7) participation, 8) safety and confident and 9) risk management.
The objectives of this mixed method research were 1) to study The Medical Record Service Quality of Thammasat University Hospital, 2) to investigate personal factors that affect The Medical Record Service Quality of Thammasat University, 3) to study the relationships between personal factors and The Medical Record Service Quality of Thammasat University, 4) to study the development of The Medical Record Service Quality of Thammasat University Hospital guideline. Data were derived using a questionnaire form 404 samples consisting of patients and the Thammasat's officials who received Medical Record service at Medical Record Department. Furthermore, 3 key informants, a board director, a head leader and a hospital team member, were interviewed to collect qualitative data using in -depth interview. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, S.D., t-test, F-test, ANOVA, LSD, Chi-square, and content analysis. Results of this research were as follows. 1)The Medical Record Service Quality of Thammasat University Hospital was at a high level ( x=4.07, S.D.=0.82),ordering by the means scores from the highest to lowest levels: The Empathy ( x=4.23, S.D.=0.79), The Assurance ( x=4.21, S.D.=0.72) and The Tangibles ( x=3.94, S.D.=0.66). 2) The results showed that personal factors that affect Medical Record Service Quality were education level, monthly income, rights, and type of service. 3) The relationships study found The Medical Record Service Quality was significantly correlated with education level, monthly income, rights, year of service and type of service. 4)The Medical Service Quality guideline of Thammasat University Hospital included 1) the type of service, 2) Rights, 3) Tangibles, 4) Service Mind, 5) Motivation, 6) Electronic Medical Record, 7) participation, 8) safety and confident and 9) risk management.
Description
การจัดการเวชสารสนเทศ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
การจัดการมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
การจัดการเวชสารสนเทศ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล