รายงานการวิจัยการใช้จุลินทรีย์เพื่อผลิตอาหารโปรตีนสูงจากมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ทดลอง
dc.contributor.author | วีณา เชิดบุญชาติ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฐ ภมรประวัติ | en_US |
dc.contributor.author | กาญจนา ศิริสิทธิ์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์. ภาควิชาพยาธิชีววิทยา | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-11-17T06:48:29Z | |
dc.date.accessioned | 2018-02-22T03:38:10Z | |
dc.date.available | 2014-11-17T06:48:29Z | |
dc.date.available | 2018-02-22T03:38:10Z | |
dc.date.created | 2557-11-17 | |
dc.date.issued | 2531-05-31 | |
dc.description | ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2529-2530 (เงินงบประมาณแผ่นดิน ประเภท ข) | en_US |
dc.description.abstract | คณะผู้วิจัยได้ทำการทดลองโดยใช้อุปกรณ์และวัสดุภายในประเทศเพื่อการผลิตโปรตีนจากมันสำปะหลัง ผลการทดลองโดยสรุปมีดังนี้ 1.สามารถเลี้ยงเชื้อราที่ต้องการได้โดยวิธีง่าย โดยอาศัยอุปกรณ์ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ หรือสามารถซื้อหาได้ในประเทศ และมีราคาไม่แพง คือใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกซึ่งปกติผู้ใช้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ขวดเหล่านี้สามารถนำมาใช้เลี้ยงเชื้อราได้ผลดี เช่นเดียวกับที่สั่งจากต่างประเทศ หม้ออบนึ่งก็สามารถใช้หม้อหุงต้มธรรมดาที่มีขนาดใหญ่พอ อาหารเลี้ยงเชื้อราก็สามารถใช้ข้าวทุกชนิดที่เกษตรปลูกเช่น ข้าวสาร ข้าวเหนียว ข้าวซ้อมมือ หรือปลายข้าวและยาปฏิชีวนะก็เป็นยา tetracycline ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปในราคาถูก กรรมวิธีที่เสนอในรายงานนี้เป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ขยายพันธุ์เชื้อราได้จำนวนมากในเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง สามารถแนะนำให้ปฏิบัติได้ ทั้งการเลี้ยงขยายพันธุ์ การเก็บรักษา และการนำมาใช้ จึงทำให้ได้เชื้อราที่ต้องการใช้ในกิจกรรมทุกชนิดในราคาต้รทุนที่ประหยัดที่สุดที่จะเป็นไปได้ สามารถอบแห้งเชื้อราจำนวนมากๆ ได้โดยใช้ความร้อนซึ่งผลิตเตาอบในประเทศ สามารถผลิตได้ สามารถอบแห้งเชื้อราจำนวนมากๆ ได้โดยใช้ความร้อน 55 องศาเซลเซียสในเวลา 24 ชั่วโมง 2. คณะผู้วิจัยได้ทดสอบการหมักมันสำปะหลังด้วยเชื้อราและยีนต์ผสมกัน โดยใช้อาการเสริมเพียง urea และเกลือแกงเท่านั้น สามารถผลิตสารที่มีโปรตีนระหว่าง 20-22 เปอร์เซ็นต์ได้ในเวลา 30 วัน โดยการหมักไว้ในภาชนะที่เหมาะสม กรรมวิธีนี้ใช้ได้ตั้งแต่ขนาดมันที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ถึง 100 กิโลกรัม หากต้องการหมักมันที่มีน้ำหนัก 1-10 กิโลกรัม ก็สามารถใช้โถเลี้ยงปลาหาซื้อได้ทั่วไปและได้ออกแบบอุปกรณ์ถังหมักโดยดัดแปลงจากเครื่องผลิตหมูหยองซึ่งผลิตใช้กันอยู่แล้ว เมื่อต้องการหมักมันสำปะหลังจำนวนมากๆ ได้คัดเลือกเชื้อราและเชื้อยีสต์ชนิดที่จะให้โปรตีนสูง คือเชื้อราซึ่งให้โปรตีนสูงและกลิ่นดี คือ Aspergillus oryzae ซึ่งได้มาจากประเทศญี่ปุ่น ส่วน Aspergillus niger ให้โปรตีนเร็วกว่าและสูงกว่าเล็กน้อย เป็นเชื้อราซึ่งขึ้นเองบนหัวมันสดไม่ทราบ Strain เช่นกัน ยีสต์ที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย Candida pseudotropicalis, Candida utilis และ Candida tropicalis. คณะผู้วิจัยเชื่อว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยี่ การผลิตเชื้อรา หรือการหมักโดยวิธีที่เสนอนี้จะนำมาซึ่งการประหยัดและการพัฒนา น่าที่จะได้รับการสนับสนุนต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการผลิตเชื้อรา | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8795 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | จุลินทรีย์ | en_US |
dc.subject | การผลิตเชื้อรา | en_US |
dc.subject | มันสำปะหลัง | en_US |
dc.subject | อาหารสัตว์ทดลอง | en_US |
dc.title | รายงานการวิจัยการใช้จุลินทรีย์เพื่อผลิตอาหารโปรตีนสูงจากมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ทดลอง | en_US |
dc.title.alternative | Production of high protein food for laboratory animals using cassava as fermentation substrates | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
mods.location.physicalLocation | Central Library | |
mu.identifier.callno | QW85 ว815ก 2531 ฉ.2 [LICL] |
Files
License bundle
1 - 1 of 1