Factors influencing physician's decision on generic statin prescription : discrete choice experiment
Issued Date
2014
Copyright Date
2014
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 75 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Social, Economic and Administrative Pharmacy))--Mahidol University, 2014
Suggested Citation
Pipattra Rodvanna Factors influencing physician's decision on generic statin prescription : discrete choice experiment. Thesis (M.Sc. (Social, Economic and Administrative Pharmacy))--Mahidol University, 2014. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95290
Title
Factors influencing physician's decision on generic statin prescription : discrete choice experiment
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของแพทย์ในการสั่งจ่ายยาสตาตินสามัญ : ดิสครีต ช้อยส์ เอ็กซ์เปอร์ริเมนท์
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
Statin drugs are the most frequently prescribed drugs for dyslipidemia in Thailand. Substantial savings could be achieved by statin generic substitution. Regarding this, physicians are key people who can decide whether patients receive either a brand-name or generic drug. Understanding the preferences of physicians is essential for promoting generic drug prescription in the hospital. This study aims to use a Discrete Choice Experiment (DCE) to examine 1)preference for generic statin drug prescription, 2) attitude towards generic drugs, and 3) the knowledge regarding the price of statin of family physicians at Ramathibodi Hospital. A cross-sectional survey using DCE was conducted. A self-administrated questionnaire was distributed to all family medicine physicians at the Department of Family Medicine, Ramathibodi Hospital from July toAugust, 2014. According totheliterature review and expert opinions,the followingfour attributes were selected for DCE: prevention from Coronary Heart Disease (CHD) and Framingham Risk Score, cost difference between statin original drug and generic drug per day, LDL cholesterol level and health insurance scheme. Nine choice sets were developed. Each choice set comprised two scenarios. For each choice set, physicians were asked "For which scenario would you prescribe a generic statin drug?"There was an overall response rate of 56.52% (26/46). In general, most family physicians in the study havea positive attitude towards generic drugs. Regarding knowledge of statin price, about 57.7% of physicians do not know the price of the statins. Regarding preferences for generic statin prescribing, the cost difference between the generic and brand name drug as well as the insurance scheme of the patients are associated with physicians' decision to prescribe generic statin. It was found that physicians preferred to prescribe generic statin if there was a very high cost difference between the generic and original drug, as compared to low or high cost difference. In addition, physicians preferred to prescribe generic statin to self-pay patients more than CSMBS patients. To promote the use of generic substitution, a policy to support generic substitution should be developed and knowledge on drug prices should be provided.
ยากลุ่มสแตตินเป็นกลุ่มยาที่มีการสั่งจ่ายในคนไข้ภาวะไขมันในเลือดสูงมากที่สุดในประเทศไทย การจ่าย ยาสามัญทดแทนในกลุ่ม สแตตินนั้นสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ โดยในกรณีนี้แพทย์คือบุคคลสำคัญที่จะตัดสินใจ ว่าผู้ป่วยสมควรได้รับยาต้นแบบหรือยาสามัญ ความเข้าใจถึงความพึงใจของแพทย์มีความสำคัญในการส่งเสริมการสั่งจ่ายยาสามัญในโรงพยาบาล การศึกษานี้ใช้ Discrete choice experiment (DCE) เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของแพทย์ในการสั่งจ่ายยาสามัญกลุ่มสแตติน, วิเคราะห์หาทัศนคติของแพทย์ต่อยาสามัญ และวิเคราะห์ถึงความรู้ของแพทย์เกี่ยวกับราคายากลุ่มสแตตินของแพทย์ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี การสำรวจเป็นแบบภาคตัดขวางโดยใช้ DCE ซึ่ง แบบสอบถามได้ถูกแจกจ่ายให้กับแพทย์ทุกคนในภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดีในระหว่างเดือน กรกฎาคม 2557 ถึง สิงหาคม 2557 จากการทบทวนวรรณกรรมและสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญคุณลักษณะ 4 คุณลักษณะ ต่อไปนี้ได้ถูกคัดเลือกมาเพื่อสร้าง แบบสอบถาม DCE : การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและframingham risk score, ราคาที่แตกต่างกันระหว่างยา สแตติน ต้นแบบและยาสามัญ, ระดับไขมัน LDL และสิทธิประกันสุขภาพ 9 ชุดคำถาม ถูกพัฒนาขึ้น โดยในแต่ละชุดคำถามจะประกอบด้วย 2 สถานการณ์ ในแต่ละคู่ของสถานการณ์แพทย์จะถูกถามว่า "จาก คุณลักษณะดังกล่าวท่านจะเลือกใช้ยาสามัญ (Generic drug) สแตตินในสถานการณ์ใด" อัตราการตอบกลับทั้งหมดคิดเป็น 56.52% (26/46) โดยทั่วไปพบว่าแพทย์ส่วนใหญ่ในภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ยาสามัญ อย่างไรก็ ตามพบว่าร้อยละ 57.7 ของแพทย์ไม่ทราบราคาของยากลุ่ม สแตตินในด้านเรื่องของความพึงใจในการสั่งจ่ายยาสามัญกลุ่ม สแตตินราคายาที่แตกต่างกันของยาต้นแบบและยาสามัญและสิทธิประกันสุขภาพของผู้ป่ วยนั้น เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่จะจ่ายยาสามัญกลุ่ม สแตตินโดยพบว่าแพทย์พึงใจที่จะสั่งจ่ายยาสามัญกลุ่ม สแตตินในกรณีที่ราคายาของยาต้นแบบและยา สามัญแตกต่างกันสูงมาก เมื่อเทียบกับราคาที่แตกต่างกันน้อยหรือสูง นอกจากนั้นยังพบว่าแพทย์พึงใจจะสั่งจ่ายยาสามัญ กลุ่ม สแตตินในกรณีที่ผู้ป่วยชำระเงินค่ารักษาพยาบาลหรือค่ายาเองมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มข้าราชการ นโยบายในการสนับสนุน การจ่ายยาสามัญทดแทนในข้าราชการควรได้รับการส่งเสริม นอกจากนั้นยังควรส่งเสริมการให้ความรู้แพทย์ทางด้านราคายาอีกด้วย
ยากลุ่มสแตตินเป็นกลุ่มยาที่มีการสั่งจ่ายในคนไข้ภาวะไขมันในเลือดสูงมากที่สุดในประเทศไทย การจ่าย ยาสามัญทดแทนในกลุ่ม สแตตินนั้นสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ โดยในกรณีนี้แพทย์คือบุคคลสำคัญที่จะตัดสินใจ ว่าผู้ป่วยสมควรได้รับยาต้นแบบหรือยาสามัญ ความเข้าใจถึงความพึงใจของแพทย์มีความสำคัญในการส่งเสริมการสั่งจ่ายยาสามัญในโรงพยาบาล การศึกษานี้ใช้ Discrete choice experiment (DCE) เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของแพทย์ในการสั่งจ่ายยาสามัญกลุ่มสแตติน, วิเคราะห์หาทัศนคติของแพทย์ต่อยาสามัญ และวิเคราะห์ถึงความรู้ของแพทย์เกี่ยวกับราคายากลุ่มสแตตินของแพทย์ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี การสำรวจเป็นแบบภาคตัดขวางโดยใช้ DCE ซึ่ง แบบสอบถามได้ถูกแจกจ่ายให้กับแพทย์ทุกคนในภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดีในระหว่างเดือน กรกฎาคม 2557 ถึง สิงหาคม 2557 จากการทบทวนวรรณกรรมและสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญคุณลักษณะ 4 คุณลักษณะ ต่อไปนี้ได้ถูกคัดเลือกมาเพื่อสร้าง แบบสอบถาม DCE : การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและframingham risk score, ราคาที่แตกต่างกันระหว่างยา สแตติน ต้นแบบและยาสามัญ, ระดับไขมัน LDL และสิทธิประกันสุขภาพ 9 ชุดคำถาม ถูกพัฒนาขึ้น โดยในแต่ละชุดคำถามจะประกอบด้วย 2 สถานการณ์ ในแต่ละคู่ของสถานการณ์แพทย์จะถูกถามว่า "จาก คุณลักษณะดังกล่าวท่านจะเลือกใช้ยาสามัญ (Generic drug) สแตตินในสถานการณ์ใด" อัตราการตอบกลับทั้งหมดคิดเป็น 56.52% (26/46) โดยทั่วไปพบว่าแพทย์ส่วนใหญ่ในภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ยาสามัญ อย่างไรก็ ตามพบว่าร้อยละ 57.7 ของแพทย์ไม่ทราบราคาของยากลุ่ม สแตตินในด้านเรื่องของความพึงใจในการสั่งจ่ายยาสามัญกลุ่ม สแตตินราคายาที่แตกต่างกันของยาต้นแบบและยาสามัญและสิทธิประกันสุขภาพของผู้ป่ วยนั้น เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่จะจ่ายยาสามัญกลุ่ม สแตตินโดยพบว่าแพทย์พึงใจที่จะสั่งจ่ายยาสามัญกลุ่ม สแตตินในกรณีที่ราคายาของยาต้นแบบและยา สามัญแตกต่างกันสูงมาก เมื่อเทียบกับราคาที่แตกต่างกันน้อยหรือสูง นอกจากนั้นยังพบว่าแพทย์พึงใจจะสั่งจ่ายยาสามัญ กลุ่ม สแตตินในกรณีที่ผู้ป่วยชำระเงินค่ารักษาพยาบาลหรือค่ายาเองมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มข้าราชการ นโยบายในการสนับสนุน การจ่ายยาสามัญทดแทนในข้าราชการควรได้รับการส่งเสริม นอกจากนั้นยังควรส่งเสริมการให้ความรู้แพทย์ทางด้านราคายาอีกด้วย
Description
Social, Economic and Administrative Pharmacy (Mahidol University 2014)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Pharmacy
Degree Discipline
Social, Economic and Administrative Pharmacy
Degree Grantor(s)
Mahidol University