พฤติกรรมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในสถานพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ในเขตเทศบาลนครรังสิต ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 175 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ทรงสุดา ยงพัฒนจิตร พฤติกรรมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในสถานพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ในเขตเทศบาลนครรังสิต ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92554
Title
พฤติกรรมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในสถานพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ในเขตเทศบาลนครรังสิต ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545
Alternative Title(s)
Disposal of infectious waste behavior of medical clinic personnel according to ministerial regulation on infectious waste disposal B.E. 2545 in Rangsit City Municipality
Author(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมของบุคลากรที่ ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ในเขตเทศบาลนครรังสิต เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ เจตคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรม โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในสถานพยาบาล จำนวน 175 คน โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล มีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.29 โดยพบว่าพฤติกรรมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อขึ้นอยู่กับความรู้เรื่องมูลฝอยติดเชื้อโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) ด้านเจตคติพบว่า ส่วนใหญ่มีเจตคติในทิศทางที่เห็นด้วยต่อการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ร้อยละ 66.29 และพบว่าเจตคติมีอิทธิพลต่อการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.003) ด้านแรงจูงใจพบว่า ส่วนใหญ่มีแรงจูงใจในทิศทางที่เห็นด้วยต่อการกำจัดมูลฝอยติด เชื้อ ร้อยละ 62.29 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และแรงจูงใจที่ดีเกี่ยวกับการแยก และการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานทุกคน ทั้งในรูปแบบวารสาร คู่มือการปฏิบัติ การจัดเตรียมภาชนะ และรถขนย้ายมูลฝอยติดเชื้อให้เพียงพอ และควรมีนโยบายการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่แน่นอน เพื่อนำไปสู่การออกเทศบัญญัติเกี่ยวกับการจัดมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
The purpose of this research project was to study the knowledge, attitudes and behavior regarding infectious waste management by medical, clinical personnel in Rangsit city and to study the relationships between knowledge, attitudes and behavior. This research was performed using the survey research method and data were collected with questionnaires from 175 persons. The data were analyzed using the statistics package for the social science (SPSS), applying percentage, mode, arithmetic mean, standard deviation and multiple regression. The results were as follows medical clinic personnel had knowledge about infectious waste disposal at a moderate (78.29 percent) level. Significant infectious waste disposal was found (p = 0.001). The attitudes about infectious waste disposal of most medical clinic personnel were agreed (66.29 percent). The attitudes effect the infectious waste disposal significantly (p = 0.003). The motivation about infectious waste disposal of the most medical clinic personnel was agreed (62.29 percent). The recommendations based on these results should provide more knowledge, good attitudes and motivation, giving information to all personnel via journals or handbooks. The clinic should have a firm policy for more standardization and effectiveness in the management of infectious waste, and should provide infectious waste containers and garbage trunks, in order to contribute to the municipal laws regarding the disposal of infectious waste to increase infectious waste disposal efficiency further.
The purpose of this research project was to study the knowledge, attitudes and behavior regarding infectious waste management by medical, clinical personnel in Rangsit city and to study the relationships between knowledge, attitudes and behavior. This research was performed using the survey research method and data were collected with questionnaires from 175 persons. The data were analyzed using the statistics package for the social science (SPSS), applying percentage, mode, arithmetic mean, standard deviation and multiple regression. The results were as follows medical clinic personnel had knowledge about infectious waste disposal at a moderate (78.29 percent) level. Significant infectious waste disposal was found (p = 0.001). The attitudes about infectious waste disposal of most medical clinic personnel were agreed (66.29 percent). The attitudes effect the infectious waste disposal significantly (p = 0.003). The motivation about infectious waste disposal of the most medical clinic personnel was agreed (62.29 percent). The recommendations based on these results should provide more knowledge, good attitudes and motivation, giving information to all personnel via journals or handbooks. The clinic should have a firm policy for more standardization and effectiveness in the management of infectious waste, and should provide infectious waste containers and garbage trunks, in order to contribute to the municipal laws regarding the disposal of infectious waste to increase infectious waste disposal efficiency further.
Description
การบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
การบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล