The development of ethical standards of inquiry officers

dc.contributor.advisorSrisombat Chokprajakchat
dc.contributor.authorPrayat Puangjumpa
dc.date.accessioned2023-09-11T03:57:52Z
dc.date.available2023-09-11T03:57:52Z
dc.date.copyright2018
dc.date.created2018
dc.date.issued2023
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study and understand in ethical standards of the Office of The National Anti-Corruption Commission (ONACC), to study the ethical standards of the inquiry officers, and to propose ethical standards for these inquiry officers. 8 inquiry officers were recruited, and data were collected through interview. Results reveal that at present, the inquiry officers have adopted the Code of Conduct for National Anti-Corruption Commission, Government Officials and Employees of the Office of The National Anti-Corruption Commission, B.E. 2551 (2008). This code is to be used as a guideline for the operation from the process of receiving accusations from third parties to the process of gathering evidence and seeking information which requires cooperation from government agencies, state enterprises and private sectors or private organizations. Therefore, the inquiry officers must have good techniques and human relations. In addition, for development of the Code of Conduct, the inquiry officers should improve the Code of Conduct on the investigation to be practicable. More importantly, the Code of Conduct should be provided to the staff of the interrogator to interpret each of the provisions of the Code of Conduct to really understand what should or should not be done. Conducts in compliance with this code of conduct shall be equally enforceable by both officers and top executives. The offender must be treated fairly, with transparency, and have the same standards applied as anyone and which can be verified, without prejudice. Recommendations from the study are as follows. The National Anti-Corruption Commission must establish a dedicated Ethics Committee, with the intention of monitoring, controlling, and assessing the performance of the inquiry officers. This committee should include government officials and employees in both central and provincial areas, and it should support and instill moral awareness. Ethics for employees, inquiry officers, officials and employees of ONACC must push ethical standards to be both practical and tangible. It should be presented in accordance with the Royal Declaration on honesty in performing duties. To create values and instill good morals and ethics for government officials, the ONACC should have a guide and explanation of the Code of Conduct and Practices of the inquiry officers. Ethical training should be provided to employees, inquiry officers, and government officials regarding morality. Ethics should be encouraged to be demonstrated by both individuals and in any operations.
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ของพนักงานไต่สวนสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อศึกษาการประพฤติปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของ พนักงานไต่สวน และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามาตรฐานจริยธรรมของพนักงานไต่สวน ผลการศึกษาพบว่า ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้าราชการ และ ลูกจ้างสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2551 หมวดที่ 4 ได้กำหนดจริยธรรมในการไต่สวน ซึ่งปัจจุบัน พนักงานไต่สวนได้มีการนำประมวลจริยธรรมมาบังคับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เริ่มตั้งแต่ ขั้นตอนการรับเรื่องกล่าวหาจากบุคคลต่าง ๆ ขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานและการแสวงหา ข้อเท็จจริงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชนหรือ ภาคเอกชน ดังนั้นพนักงานไต่สวนจึงต้องมีเทคนิคและหลักวิชามนุษย์สัมพันธ์ที่ดี โดยไม่เข้าข้าง ฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ง นอกจากนี้การพัฒนามาตรฐานจริยธรรมของพนักงานไต่สวนควรมีการปรับปรุง ประมวลจริยธรรมในการไต่สวนให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และที่สำคัญต้องบังคับใช้กับ พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกฝ่าย และควรมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่พนักงานไต่สวนผู้ปฏิบัติงานใน การตีความแต่ละบทบัญญัติของประมวลจริยธรรม สิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ ในการปฏิบัติ ตามประมวลจริยธรรมนี้จะต้องบังคับใช้โดยเสมอภาคทั้งเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับสูง และ กระบวนการพิจารณาตัดสินผู้กระทำความผิดจะต้องยุติธรรม โปร่งใส มีมาตรฐานเดียวกันกับทุกคน และตรวจสอบได้ โดยปราศจากอคติ มีความเที่ยงธรรมเป็นที่ตั้ง ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการด้านจริยธรรมโดยเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ควบคุม และติดตามการปฏิบัติงานของพนักงานไต่สวน รวมถึงข้าราชการและลูกจ้างทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคสนับสนุนและปลูกฝังจิตสำนึกทางด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่พนักงานไต่สวนรวมถึงข้าราชการและลูกจ้างสำนักงาน ป.ป.ช. อีกทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องผลักดันมาตรฐานทางจริยธรรมให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถปฏิบัติได้จริง ควรนำเสนอแนวทางตามพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อสร้างค่านิยมและปลูกฝังศีลธรรมและจริยธรรมอันดีให้แก่ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ควรมีการจัดทำคู่มือและคำอธิบายแนวทางปฏิบัติและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของพนักงานไต่สวน ควรมีการจัดอบรมทางด้านจริยธรรมให้แก่ พนักงานไต่สวนและข้าราชการเกี่ยวกับหลักคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงตนและในการปฏิบัติงาน
dc.format.extentx, 128 leaves
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2018
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89830
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectEthics
dc.titleThe development of ethical standards of inquiry officers
dc.title.alternativeการพัฒนามาตรฐานทางจริยธรรมของพนักงานไต่สวน
dcterms.accessRightsrestricted access
mu.link.internalLinkhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd534/5537862.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Social Sciences and Humanities
thesis.degree.disciplineCriminology, Justice Administration and Society
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelDoctoral Degree
thesis.degree.nameDoctor of Philosophy

Files

Collections