ความต้องการการช่วยเหลือของผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ตามลำพัง
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 124 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
สิรินทร์ญา ไข่เขียว ความต้องการการช่วยเหลือของผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ตามลำพัง. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93426
Title
ความต้องการการช่วยเหลือของผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ตามลำพัง
Alternative Title(s)
Needs for assistance of the Thai elderly living alone
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มและสถานการณ์ของผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ตามลำพังและเพื่อศึกษาความต้องการการช่วยเหลือของผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ตามลำพัง โดยการศึกษาเชิงปริมาณได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการการสำรวจประชาการสูงอายุในประเทศไทย ครั้งที่ 2-4 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 2550 และ 2554 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไปและใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2550 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุไทยที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไปและอาศัยอยู่ตามลำพัง จำนวน 1,1976 คน นอกจากนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลระดับลึกเกี่ยวกับความต้องการการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง จากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังจำนวน 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น โดยผู้สูงอายุเพศหญิงอาศัยอยู่ตามลำพังสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชายเมื่อพิจารณาถึงความต้องการการช่วยเหลือของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง พบว่า ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังเกือบครึ่งหนึ่งมีความต้องการการช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้างเนื่องจากปัญหาในการอาศัยอยู่ตามลำพัง เมื่อวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกถึงปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการช่วยเหลือของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง พบว่า สถาภาพสมรสรายได้เฉลี่ยต่อปี สุขภาพกายและปัญหาทางอารมณ์และจิตใจมีอิทธิพลต่อความต้องการช่วยเหลือของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง และสำหรับผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีความต้องการการช่วยเหลืออยู่ 2 ด้าน คือ ความต้องการการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการเงิน และความต้องการการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลและสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลดังนั้น จากผลการศึกษาข้างต้นจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดให้มีโครงการโทรศัพท์สายด่วน หรือระบบส่งสัญญาณฉุกเฉินสำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังที่จะมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นได้ใช้บริการเพื่อร้องขอความช่วยเหลือเฉพาะยามเจ็บป่วย
This research employs quantitative and qualitative methods in order to study the trends and situations of Thai elderly living alone and to study their needs of assistance. The quantitative analysis has acquired secondary data from the 2nd-4th National Elderly Surveys from 2002-2007 and 2011. The samples include the elderly aged 65 and above. Secondary data from the National Elderly survey in 2007 is also used for the quantitative analysis. The samples in this survey include 1,976 Thai elderly, aged 65 and above, who live alone. Moreover, 10 elderly people who live alone have been in-depth interviewed by the author regarding their needs of assistance. The results show that the proportion of elderly living alone is on an increasing trend with more female elderly than male elderly. Concerning the needs of the elderly living alone, it is found that almost 50% of the elderly living alone need support from other people. Logistic regression analysis on the determinants affecting the demand for assistance for elderly people living alone in Thailand found that marital status, annual average income, physical health, and emotional and psychological problems have impacts on the needs of assistance among elderly people living alone. Qualitative analysis found that these elderly people need 2 types of assistance including the need for economic and financial assistance, and the need for health care services and welfare for health care. Suggestions can be drawn from the results that there should be a telephone hotline or emergency system for assisting the increasing number of elderly who live alone in order for them to call for assistance, especially when ill.
This research employs quantitative and qualitative methods in order to study the trends and situations of Thai elderly living alone and to study their needs of assistance. The quantitative analysis has acquired secondary data from the 2nd-4th National Elderly Surveys from 2002-2007 and 2011. The samples include the elderly aged 65 and above. Secondary data from the National Elderly survey in 2007 is also used for the quantitative analysis. The samples in this survey include 1,976 Thai elderly, aged 65 and above, who live alone. Moreover, 10 elderly people who live alone have been in-depth interviewed by the author regarding their needs of assistance. The results show that the proportion of elderly living alone is on an increasing trend with more female elderly than male elderly. Concerning the needs of the elderly living alone, it is found that almost 50% of the elderly living alone need support from other people. Logistic regression analysis on the determinants affecting the demand for assistance for elderly people living alone in Thailand found that marital status, annual average income, physical health, and emotional and psychological problems have impacts on the needs of assistance among elderly people living alone. Qualitative analysis found that these elderly people need 2 types of assistance including the need for economic and financial assistance, and the need for health care services and welfare for health care. Suggestions can be drawn from the results that there should be a telephone hotline or emergency system for assisting the increasing number of elderly who live alone in order for them to call for assistance, especially when ill.
Description
วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
Degree Discipline
วิจัยประชากรและสังคม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล