ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการทำงานและการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชากรวัยทำงาน

dc.contributor.advisorอรวรรณ แก้วบุญชู
dc.contributor.advisorเพลินพิศ บุณยมาลิก
dc.contributor.advisorวรรณา สนองเดช
dc.contributor.authorธเนษฐ เทียนทอง
dc.date.accessioned2024-01-05T02:02:39Z
dc.date.available2024-01-05T02:02:39Z
dc.date.copyright2562
dc.date.created2562
dc.date.issued2567
dc.descriptionการพยาบาลอาชีวอนามัย (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
dc.description.abstractการวิจัย Case-Control Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการทำงานและการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ป่วยเป็นครั้งแรกภายในระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 60 คน กลุ่มควบคุมคือคนวัยทำงานที่ไม่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 120 คน นำมาจับคู่กลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับกลุ่มควบคุมที่มีเพศและลักษณะงานเหมือนกัน มีอายุแตกต่างกันไม่เกิน 3 ปี ทั้งสองกลุ่มมีอายุระหว่าง 20-59 ปี ต้องทำงานประจำอย่างน้อย 6 เดือนและก่อนป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ประเมินความเครียดจากการทำงานโดยใช้ Job Demand-Control Model และ Effort-Reward Imbalance Model วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการทำงานและการเกิดโรคหลอดเลือดสมองใช้สถิติ Chi-square, Simple & Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ความเครียดจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในวัยทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า ความตึงเครียดจากการทำงานระดับสูงมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเป็น 2.39 เท่าของการมีความตึงเครียดจากการทำงานต่ำ (OR=2.39, 95%CI=1.25-4.57, p=0.008) สัดส่วนการทุ่มเทในการทำงานและผลตอบแทนจากการทำงานสูงมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง 3.19 เท่า (OR=3.19, 95%CI=1.49-6.80, p=0.003) ของสัดส่วนการทุ่มเทในการทำงานและผลตอบแทนจากการทำงานต่ำ การทุ่มเทในการทำงานระดับสูงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองเป็น 2.28 เท่าของการมีการทุ่มเทในการทำงานต่ำ (OR= 2.28, 95%CI=1.24-4.18, p= 0.008) ความมุ่งมั่นที่มากเกินไปต่องานที่รับผิดชอบสูงมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเป็น 2.22 เท่าของการมีความมุ่งมั่นที่มากเกินไปต่องานที่รับผิดชอบต่ำ (OR= 2.22, 95%CI=1.16-4.24, p= 0.016) ผลการศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารและบุคลากรทางด้านอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงานควรมีการเฝ้าระวังและคัดกรองความเครียดจากการทำงานและดำเนินการส่งเสริมสุขภาพการจัดการความเครียดจากการทำงานและการจัดโปรแกรมลดความเครียดจากการทำงานให้กับพนักงาน เพื่อการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
dc.description.abstractThis case-control research aimed to study the relationship between job stress and stroke occurrence. The sample was 60 patients with first presentation of stroke within 1 month. The control group was working age people who did not have a stroke. The sample was matched up with the control group that has the same sex and job characteristics. The age difference was not more than 3 years. Both groups were between 20-59 years old. They must have worked regularly for at least 6 months before they had a stroke. Job stress was assessed using Job Demand-Control Model and Effort-Reward Imbalance Model. The relationships between job stress and stroke were analyzed with the use of Chi-square, simple & multiple logistic regressions. The findings revealed that when compared stroke patients with the control group by controlled personal and job characteristics variables, job stress was significantly correlated with the occurrence of stroke in working age. It was found that High strain job, risk of stroke was 2.39 times (OR=2.39, 95%CI=1.25-4.57, p=0.008) that of Low strain job. High ERI ratio, risk of stroke was 3.19 times (OR=3.19, 95%CI=1.49-6.80, p=0.003) that of low ERI ratio. High Effort, risk of stroke was 2.28 times (OR= 2.28, 95%CI=1.24-4.18, p= 0.008) that of low Effort. High Overcommitment, the risk of stroke was 2.22 times (OR= 2.22, 95%CI=1.16-4.24, p= 0.016) that of low commitment. The results of the study suggested that the administrations and occupational health care provider in the workplace should have surveillance and screening on job stress. As well as health promotion on job stress management and job stress reduction programs for employees should be implemented to prevent the risk of stroke occurrence.
dc.format.extentก-ญ, 208 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลอาชีวอนามัย))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91917
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectความเครียดในการทำงาน
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการทำงานและการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชากรวัยทำงาน
dc.title.alternativeRelationship between job stress and stroke among workforce populations
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/545/5937115.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลอาชีวอนามัย
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files