การพัฒนางานจัดเก็บรายได้ สถาบันบำราศนราดูร ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากทุกหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2558

dc.contributor.advisorสมชาติ โตรักษา
dc.contributor.advisorกิตติ์พงศ์ สัญชาตวิรุฬห์
dc.contributor.authorคณัชฌา สิทธิบุศย์
dc.date.accessioned2024-01-12T04:03:48Z
dc.date.available2024-01-12T04:03:48Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractการวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลัง การทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานจัดเก็บ รายได้ ในสถาบันบําราศนราดูร ที่สามารถปฏิบัติได้จริงโดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ นําไปทดลองที่สถาบันบําราศนราดูร เป็น เวลา 7 เดือน ระหว่าง 1 พฤษภาคม 2558 ถึง 30 พฤศจิกายน 2558 กลุ่มตัวอย่าง คือ การดำเนินงานให้บริการจัดเก็บรายได้ทาง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง รวม 10,985 รายการ ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร 15 คน ผู้ให้บริการ 40 คน และผู้ปฏิบัติงานจัดเก็บรายได้ 12 คน เปรียบเทียบผลการดําเนินงานระหว่าง ก่อน กับ หลัง การนํารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาดําเนินการ ในด้านปริมาณงาน คุณภาพงาน ระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ ความพึงพอใจของ ผู้เกี่ยวข้อง และด้านเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติ t, Pearson Chi-Square และ Fisher's Exact ที่ ระดับแอลฟ่า 0.05 และ การวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า หลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มาดําเนินการอัตราส่วนปริมาณงานต่อ จํานวนแรงงาน 10,000 คน-วินาที เพิ่มขึ้น (p<0.001) อัตราความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ ณ จุดปฏิบัติงาน อัตราความถูกต้องของ ใบแจ้งหนี้ก่อน เสนอยืนยันเรียกเก็บค่ารักษาไปยังผู้จ่ายเงิน และ อัตราความถูกต้อง หลังเรียกรับชําระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น (p<0.001) จํานวนแรงงานเฉลี่ยที่ใช้ในการปฏิบัติงานจัดเก็บรายได้ ลดลง (p<0.001) ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ ในกระบวนการแจ้งหนี้ค่ารักษา ลดลง (p<0.05) ความพึงพอใจของผู้บริหาร ผู้ให้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน ต่อการดําเนินงาน จัดเก็บรายได้ เพิ่มขึ้น (p=0.037, p<0.001, และ p=0.032) ตามลําดับ ต้นทุนรวม และต้นทุนต่อหน่วย ลดลง (p<0.001) สรุปได้ว่า รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่ดี เหมาะสมกับบริบทของสถาบันบําราศนราดูร ที่มีทรัพยากรจํากัด เสนอแนะให้พัฒนา ต่อไปจนเป็นตัวแบบระดับประเทศอย่างยั่งยืน ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อกระทรวงสาธารณสุขให้เน้นการพัฒนางานตามภารกิจ หลักสู่งานวิจัย
dc.description.abstractThis experimental development research, one group pre-test and post-test design aimed to develop hospital revenue collection using the existing resources. The experimental intervention was a new developed working model, to implemented at Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute during May 1, 2015 to November 30, 2015. The samples were 10,985 transactions of the electronically revenue collection services in out-patient, in-patient, and chronic kidney disease patient. The respondents for satisfaction questionnaires were 15 administrators, 40 service providers, and 12 operative officers. The results between pre-test and post-test in terms of quantity, quality, time and labor-force consumed, satisfaction, and economic were compared. Data analysis and statistical methods used were descriptive statistics, independent t-test, Chi square-test, Fisherโ€ s exact test at alpha 0.05, and content analysis. The results revealed that the ratio of work load to 10,000 man-second of labor- force increased (p<0.001). The accuracy rate of the invoice at the check point, accuracy rate of the invoice before the claim was submitted to payers, and the accuracy rate of invoice after electronic billing were increased (p<0.001). The average of the labor-force consumed decreased (p<0.001), and the average time for the hospital billing process was shorter (p<0.05). The satisfaction of administrators, service providers, and operative officers increased (p=0.037, p<0.001, and p=0.032) respectively. The total cost and unit cost decreased (p<0.001). It concluded that the new developed working model was a good working model and was appropriate to the context of the research area, which had limited resources. Further research to improve the model to be a sustainable national role model is recommended. A policy of Ministry of Public Health to emphasize on routine for research is also suggested.
dc.format.extentก-ฒ, 406 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92546
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectโรงพยาบาล -- การเงิน
dc.subjectงานจัดเก็บรายได้
dc.titleการพัฒนางานจัดเก็บรายได้ สถาบันบำราศนราดูร ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากทุกหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2558
dc.title.alternativeA development of hospital revenue collection in Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute by team involvement, fiscal year 2015
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/510/5636534.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files