การบริหารความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
dc.contributor.author | นันทวรรณ จินากุล | en_US |
dc.contributor.author | Nanthawan Jinakul | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-08-11T02:48:35Z | |
dc.date.available | 2021-08-11T02:48:35Z | |
dc.date.created | 2564-08-11 | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.description | ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 153-154 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของงานเพื่อประเมินความเสี่ยงและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลการดำเนินงานโดยทำการสำรวจความเป็นอันตรายต่างๆ ศึกษาตามแนวทางเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจเพื่อชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Job Safety Analysis : JSA) โดยจะมุ่งเน้น 4 ด้าน คือ ด้านการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ด้านโครงสร้างห้องปฏิบัติการ ด้านมาตรการป้องกันอุบัติภัย และด้านการขจัดสิ่งปนเปื้อน ประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี checklist โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงในเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล และนำผลที่ได้มาจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง ผลลัพธ์ที่ได้ จากการสำรวจเพื่อชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Job Safety Analysis : JSA) 4 ด้าน คือ ด้านการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ด้านโครงสร้างห้องปฏิบัติการ ด้านมาตรการป้องกันอุบัติภัย และด้านการขจัดสิ่งปนเปื้อน นำผลการสำรวจทั้ง 4 ด้านที่ได้มาประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี checklist พบว่า ด้านการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ไม่สวมเสื้อกาวน์ ถุงมือ แว่นตา หน้ากากซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับ 2 ดังนั้น ควรมีมาตรการการควบคุมผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามกฏข้อบังคับอย่างเคร่งครัดจะทำให้เกิดจะช่วยป้องกันสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานได้ ด้านโครงสร้างห้องปฏิบัติการ พบว่า การควบคุมแมลงและหนูในห้องปฏิบัติการยังมีความบกพร่องบางห้องซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับ 2 จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมและป้องกันไม่ให้เป็นพาหะที่จะเกิดการแพร่กระจายของโรค ด้านมาตรการป้องกันอุบัติภัย ก๊าซที่มีความดันสูง เช่น CO2 ถูกใช้ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอเป็นความเสี่ยงระดับ 4 ที่มีอันตรายสูงมากหากเกิดอุบัติเหตุซึ่งพบว่าบางห้องปฏิบัติการมีพื้นที่จำกัด ถึงแม้ว่าจะมีโซ่คล้องป้องกันถังล้มแต่ควรจัดหาพื้นที่วางที่มีอากาศถ่ายเท หรือหยุดการใช้ หรือหามาตรการอื่นๆ ที่สามารถลดความเสี่ยงได้ ควรให้ความรู้และฝึกอบรมเรื่องก๊าซอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงาน จุดเก็บถังต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีระบบป้องกันไฟ มีประตูหนีไฟ ด้านการขจัดสิ่งปนเปื้อน เช่น การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เจ้าหน้าที่ประจำสำหรับทำความสะอาด การอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่มาทำความสะอาด เป็นต้น เป็นความเสี่ยงระดับ 3 จึงควรมีระบบ ทำความสะอาดห้องปฏิบัติการที่เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน และการขจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ในการทำลายเชื้อจุลชีพ | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63096 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ประเมินความเสี่ยง | en_US |
dc.subject | การจัดการความเสี่ยง | en_US |
dc.subject | ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา | en_US |
dc.subject | วิธี Job Safety Analysis | en_US |
dc.title | การบริหารความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา | en_US |
dc.type | Proceeding Abstract | en_US |