Browse
Recent Submissions
- Itemยารักษา COVID-19 และการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา(2564) ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์; Supatat ChumnumwatCoronavirus disease 2019 และแนวทางการรักษาด้วยยาในประเทศไทย Novel coronavirus หรือ severe acute respiratory syndrome coronavirus-2 (SARS-CoV-2) เป็น ribonucleic acid (RNA) virus ในวงศ์ betacoronavirus ที่ก่อให้เกิดโรค coronavirus disease 2019 (COVID-19) ซึ่งมีการแพร่ระบาดตั้งแต่ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 25621 การรักษา COVID-19 ในช่วงแรกเป็นการพยายามใช้ยาต้านไวรัสที่มีอยู่เดิมหรือยากลุ่มอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหรือกลไกการออกฤทธิ์ที่ขัดขวางกระบวนการในวงจรชีวิตของ SARS-CoV-2 เช่น chloroquine, hydroxychloroquine, azithromycin แต่ข้อมูลจากงานวิจัยหลายฉบับไม่แสดงประโยชน์ที่ชัดเจนของยาดังกล่าว ทั้งในแง่ของการลดอัตราการเสียชีวิตหรือลดความรุนแรงของโรค2 ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของแนวเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ที่มีการปรับปรุงแนวทางในการจัดการผู้ป่วยและยาที่แนะนาสาหรับการรักษามาอย่างต่อเนื่อง แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 25643 สาหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข มีการแนะนายา 4 ชนิดที่ใช้ในการรักษา COVID-19 ได้แก่ favipiravir, lopinavir/ritonavir (LPV/r), remdesivir และ corticosteroid (ตารางที่ 1 และ 2) และไม่แนะนาให้ใช้ chloroquine, hydroxychloroquine และ azithromycin, darunavir/ritonavir และยาต้านการอักเสบในกลุ่ม interleukin (IL)-6 receptor antagonist ในการรักษา
- Itemผลการสารวจระดับความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2563 - 2564(2564) คมสันต์ เรืองคง; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเครียดของ นักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้ข้อมูลการดำเนินงาน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 - เดือนสิงหาคม 2564 จากสถานการณ์การแพร่ ระบาด COVID - 19 จึงได้ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความเครียด (ST-5) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำแนกประเภท ได้แก่ เพศ ชั้นปี เวลานอนหลับ และระดับความเครียด ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการสำรวจทั้ง 4 ครั้ง จำนวนคำตอบรวม 783 คำตอบ พบว่านักศึกษามี ความเครียดอยู่ในเกณฑ์เครียดมาก โดยเพศหญิงจะมีความเครียดมากกว่าเพศ ชาย ในด้านคำตอบของความเครียดพบว่า ความคิดเห็น สอบเยอะ งานเยอะ และอ่านหนังสือไม่ทันมากที่สุด รองลงมา เหนื่อยและบริหารเวลาไม่ดี เรียน ออนไลน์อยู่บ้านน่าเบื่อมากและอยากเจอเพื่อน เครียดกับการเรียนและการ สอบ อยากมีเวลาพักผ่อนให้เยอะกว่านี้หรือการนอน ในด้านคำตอบของเวลา นอนหลับพบว่า ช่วงเรียนปกตินักศึกษามีเวลาการนอนหลับที่เพียงพอ 6 – 7 ชั่วโมง ช่วงเวลาสอบนักศึกษาจะมีเวลาหลับที่น้อยลง ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
- Itemการปรับปรุงกระบวนการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2564) พรทิพย์ ลีลาคณาทรัพย์; พรนัชชา เสนาะพิณ; วราพร อินทรสุขศร; ชญานุตม์ นิรมร; บุรินธร สันติชีวะเสถียร; Pornthip Leelakanasap; Pornnutcha Senorpin; Waraporn Intharasuksri; Chayanut Niramon; Burinthon Santichewasatian; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์การปรับปรุงกระบวนการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของ บุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและ ปรับปรุงแบบสำรวจปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยมีการนำข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อการออก จากงานของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ออกจากงาน ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2563 มาวิเคราะห์ร่วมกับผลจากการสำรวจปัจจัยที่ ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2563 ประกอบกับคณะเภสัชศาสตร์ ได้ส่งรายงาน ประเมินตนเองเพื่อขอรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ในปี พ.ศ. 2563 ที่ ผ่านมา และได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจประเมินในประเด็นที่ควร พัฒนาเรื่องแนวทางการบริหารจัดการด้านบุคลากรอย่างเป็นระบบ จึงมีการ เพิ่มประเด็นที่ต้องสำรวจ คือ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่บุคลากรได้รับจาก คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อนำผลไปใช้กำหนดกิจกรรมเพื่อสร้างความผูกพันของ บุคลากรในประเด็นที่ต้องพัฒนาต่อไป จากผลการปรับปรุงกระบวนการ และ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันดังกล่าว พบว่า ประเด็น “ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี” มีคะแนนต่ำกว่า 4 จากคะแนนเต็ม 5 และมีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด อย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปี ส่วนผลการสำรวจ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่ได้รับจากคณะเภสัชศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2564 พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสวัสดิการฯ น้อยที่สุดด้านเงิน รางวัลประจำปี (ค่าเฉลี่ย = 3.27) ด้านส่วนลดค่าสินค้า ในร้านยาคณะฯ (300 บาท ขึ้นไป ลด 3%) (ค่าเฉลี่ย = 3.44) และด้านเงินช่วยเหลือพิเศษ (เฉพาะ ลูกจ้างชั่วคราว) (ค่าเฉลี่ย = 3.45) ผู้จัดทำจึงได้นำเสนอผลสำรวจดังกล่าวเสนอต่อผู้บริหารคณะเภสัช ศาสตร์เพื่อรับทราบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะไป ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหรือปรับปรุงวิธีการหรือกระบวนการบริหารจัดการ สวัสดิการอย่างเป็นระบบ ทำให้บุคลากรเกิดความเข้าใจ ความพึงพอใจ และ ส่งผลต่อระดับความผูกพันของบุคลากรเพิ่มขึ้น โดยการกำหนดโครงการหรือ กิจกรรมที่สร้างความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนสิทธิประโยชน์ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของบุคลากรแต่ละกลุ่มต่อไป
- Itemการบริหารความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา(2561) นันทวรรณ จินากุล; Nanthawan Jinakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์วัตถุประสงค์ของงานเพื่อประเมินความเสี่ยงและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลการดำเนินงานโดยทำการสำรวจความเป็นอันตรายต่างๆ ศึกษาตามแนวทางเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจเพื่อชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Job Safety Analysis : JSA) โดยจะมุ่งเน้น 4 ด้าน คือ ด้านการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ด้านโครงสร้างห้องปฏิบัติการ ด้านมาตรการป้องกันอุบัติภัย และด้านการขจัดสิ่งปนเปื้อน ประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี checklist โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงในเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล และนำผลที่ได้มาจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง ผลลัพธ์ที่ได้ จากการสำรวจเพื่อชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Job Safety Analysis : JSA) 4 ด้าน คือ ด้านการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ด้านโครงสร้างห้องปฏิบัติการ ด้านมาตรการป้องกันอุบัติภัย และด้านการขจัดสิ่งปนเปื้อน นำผลการสำรวจทั้ง 4 ด้านที่ได้มาประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี checklist พบว่า ด้านการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ไม่สวมเสื้อกาวน์ ถุงมือ แว่นตา หน้ากากซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับ 2 ดังนั้น ควรมีมาตรการการควบคุมผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามกฏข้อบังคับอย่างเคร่งครัดจะทำให้เกิดจะช่วยป้องกันสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานได้ ด้านโครงสร้างห้องปฏิบัติการ พบว่า การควบคุมแมลงและหนูในห้องปฏิบัติการยังมีความบกพร่องบางห้องซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับ 2 จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมและป้องกันไม่ให้เป็นพาหะที่จะเกิดการแพร่กระจายของโรค ด้านมาตรการป้องกันอุบัติภัย ก๊าซที่มีความดันสูง เช่น CO2 ถูกใช้ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอเป็นความเสี่ยงระดับ 4 ที่มีอันตรายสูงมากหากเกิดอุบัติเหตุซึ่งพบว่าบางห้องปฏิบัติการมีพื้นที่จำกัด ถึงแม้ว่าจะมีโซ่คล้องป้องกันถังล้มแต่ควรจัดหาพื้นที่วางที่มีอากาศถ่ายเท หรือหยุดการใช้ หรือหามาตรการอื่นๆ ที่สามารถลดความเสี่ยงได้ ควรให้ความรู้และฝึกอบรมเรื่องก๊าซอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงาน จุดเก็บถังต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีระบบป้องกันไฟ มีประตูหนีไฟ ด้านการขจัดสิ่งปนเปื้อน เช่น การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เจ้าหน้าที่ประจำสำหรับทำความสะอาด การอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่มาทำความสะอาด เป็นต้น เป็นความเสี่ยงระดับ 3 จึงควรมีระบบ ทำความสะอาดห้องปฏิบัติการที่เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน และการขจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ในการทำลายเชื้อจุลชีพ
- Itemการศึกษาเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชาวไทยและชาวต่างชาติ(2561) อัมพร สงคศิริ; Amporn Songkasiri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษา ประชากร คือ นักศึกษาชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาพบว่ามีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของความเป็นพลเมืองโลกและคุณประโยชน์ของความเป็นพลเมืองโลกไม่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านสัญชาติ สถาบันต้นสังกัด และประเทศที่เดินทางไปแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลต่อคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลก ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาชาวไทยมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลก ได้แก่ 1) การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) การเข้าถึงสวัสดิภาพขั้นพื้นฐาน 3) ความเข้าใจในความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมที่หลากหลายและการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ในขณะที่นักศึกษาชาวต่างชาติมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลก ได้แก่ 1) การเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย 2) ความรับผิดชอบและความเข้าใจในการเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม และ 3) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ItemSubtype Specificity of Adenosine A2 Receptor on the Inhibition of Angiotensin II-induced Cardiac Fibrosis(2014) Kwanchai Bunrukchai; Darawan Pinthong; Supachoke Mangmool; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Department of Pharmacology; Mahidol University. Faculty of Science. Department of Pharmacology
- ItemDevelopment of taste masked fexofenadine hydrochloride orodispersible tablets using hot melt extrusion(2019) Nattawut Chareonthai; Thandar Aung; Keisuke Ueda; Kenjirou Higashi; Kunikazu Moribe; Satit Puttipipatkhachorn; สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Department of Manufacturing Pharmacy; Chiba University. Graduate School of Pharmaceutical SciencesOrodispersible tablet desired the oral solid formulations with a pleasant taste, and a rapid disintegration in the mouth with no need of water. In this study, orodispersible tablet formulations of fexofenadine HCl, a second generation anti-histamine drug were developed for pediatric and geriatric patients. To improve patient compliance, bitter taste masking using hot melt extrusion (HME) technology was studied. Fexofenadine HCl and Eudragit® EPO extruded powder at three different drug loadings (20%, 40% and 60%) was prepared by HME at various temperature (120°C, 150°C and 180°C). Physicochemical characterization using FT-IR spectroscopy, powder X ray diffraction and differential scanning calorimetry revealed that the amorphous state or molecularly dispersed state of fexofenadine HCl in HME powder was obtained at lower drug/polymer ratio and higher temperature. The HME powder extruded at 180°C was selected to prepare orodispersible tablet formulations. The orodispersible tablets with drug containing HME powder had physical properties conforming to pharmacopoeial standards, including weight variation, hardness, friability, disintegration time and drug dissolution in 0.1 N HCl. The taste masking performance using drug release test in simulated salivary fluid indicated that the orodispersible tablets had lower drug release, thus enabling taste masking effect in oral cavity. In conclusion, fexofenadine HCl orodispersible tablets with desired taste masked effect were successfully prepared by using hot melt extrusion technology.
- ItemAntimicrobial activities of Suregada multiflora extracts against skin pathogens(2019) Thunyanaratada Tangsri; Jaturong Pratuangdejkul; Suchitra Thongpraditchote; Veena Satitpatipan; Pongpan Siripong; วีณา สาธิตปัตติพันธ์; สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ; จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Department of Microbiology; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Department of Physiology; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Department of Pharmacognosy; Department of Public Health and Human Services. National Cancer InstituteSuregada multiflora A. Juss. is frequently used as one of herbal medicine in Thai traditional recipes for treating dermatological diseases; i.e. Yaw disease, leprosy, eczema, psoriasis, and skin infection diseases. This research aimed to study antimicrobial activities of S. multiflora extracts which were carried out by serial manner of extraction (hexane, dichloromethane, and 95% ethanol) and the traditional extraction (decoction and maceration with aqueous and 95% ethanol, respectively). The Minimal Inhibitory Concentration (MIC) were determined by resazurin-based broth microdilution assay. The Minimal Bactericidal Concentration (MBC) were subsequently determined using drop-plate method. For Gram– positive bacteria and fungi, hexane extract of S. multiflora exhibited antimicrobial activity against Staphylococus epidermidis DMST 15471, Staphylococcus aureus ATCC 25923, Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ATCC 43300, Cutibacterium acnes DMST 14916, and Candida albicans DMST 5815 with the MIC values of 0.1563, 0.625, 0.625, 0.625, and 1.25 mg/mL, respectively. While, the MBC values of S. multiflora hexane crude extract were 0.3125, 2.5, and 5 mg/mL for S. epidermidis, C. acnes, and C. albicans, respectively. For S. multiflora dichloromethane crude extract, the MIC values of 0.0781, 0.625, 0.625, 1.25 and 2.5 mg/mL were respectively found for S. epidermidis, S. aureus, C. acnes, C. albicans, and MRSA, however, its MBC values were detected only in S. epidermidis and C. acnes with 0.625 and 1.25 mg/mL, respectively. From this study, the extracts of S. multiflora, revealed the in vitro potential antimicrobial activities against some skin pathogens which supports Thai traditional remedies use of S. multiflora for treatment of skin disease.
- ItemStability evaluations on Thunbergia laurifolia Lindl. leaf extract through HPLC, TLC and free radical scavenging activity analysis(2019) Chaweewan Suwanvecho; Pongtip Sithisarn; Supavadee Timum; Nidthida Archeepsudjarit; Piyanuch Rojsanga; ปิยนุช โรจน์สง่า; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Department of Pharmaceutical Chemistry; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Department of Pharmacognosy; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Center of Analysis for Product Quality (Chemical division)Regulatory guidelines recommend efficient stability studies on herbal products to establish their shelf lifes. In this study, dried extracts of Thunbergia laurifolia Lindl. leaves were subjected to three different storage conditions for six months: 1) 30 ± 2 ºC, 75 ± 5 % relative humidity (RH), 2) 40 ± 2 ºC, 75 ± 5 %RH, and 3) 2-8 ºC. Control and stability tested samples were evaluated for physical appearance, moisture content, caffeic acid and rosmarinic acid contents as chemical markers, and thin layer chromatography fingerprints, and determination for DPPH scavenging activity. Chemical marker contents and DPPH scavenging activities of the stability tested samples comparably retained with respect to the control samples after the storage for 3 months in all storage conditions. Pearson correlation analysis revealed the strong positive correlation between antioxidant activity and rosmarinic acid content of stability samples stored after 6 months with correlation coefficient (r) values more than 0.901 However, antioxidant activity was correlated positively with the caffeic acid content only stored after 3 months (r values less than 0.742). The results suggested that rosmarinic acid is more suitable to use as a chemical marker for evaluation of chemical and biological shelf lives of T. laurifolia leaf products.
- ItemInvestigation of antimicrobial and alpha-glucosidase inhibitor activities of Morus alba L.(2019) Nichapa Teerakulkanont; Mullika T. Chomnawang; Krit Thirapanmethee; Piyatip Khuntayaporn; มัลลิกา ชมนาวัง; กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี; ปิยทิพย์ ขันตยาภรณ์; Mahidol University. Faculty of Pharmacy. Department of MicrobiologyMorus alba L. is a medical plant and food that has been used for a long time and commonly known as mulberry. Mulberry can be cultivated in the sub-tropical area of Asia. Leaves of mulberry are popularly consumed as mulberry tea. The aim of this study was to investigate the bioactivities of mulberry leaves in water extract and hydro-ethanol extract. Antimicrobial activities were evaluated by minimal inhibitory concentration (MIC) and minimal bactericidal concentration (MBC) assay. Broth microdilution was performed according to CLSI guidelines. Both mulberry leaves extract, were tested against Bacillus cereus ATCC 11778, Escherichia coli ATCC 25922, Staphylococcus aureus ATCC 25923, Staphylococcus epidermidis ATCC 12228, Cutibacterium acnes ATCC 6919 and Pseudomonas aeruginosa ATCC 9027. All MIC value against tested bacteria were more than 4 mg/ml in all extracts. Besides, both extracts were tested in the alpha-glucosidase inhibition assay. This study was used acarbose as a standard to compare with mulberry extracts. Alphaglucosidase was inhibited by acarbose (IC50 = 312.5 μg/ml). The IC50 values of water extract and 70% ethanol extract were 31.25 μg/ml and 46 μg/ml, respectively. The inhibition of alphaglucosidase is involved with postprandial hyperglycemia reduction in type 2 diabetes. Therefore, both mulberry leaves extracts, water extract and 70% ethanol extract, demonstrated an interesting alpha-glucosidase inhibition activity. Moreover, both extracts were more effective than acarbose. These might indicate the potential of this plant to develop as a food supplement in type 2 diabetes patients.