Involvement of rosette formation in severe falciparum malaria
Issued Date
2024
Copyright Date
1994
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 82 leaves : ill. (some col.)
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Pathobiology))--Mahidol University, 1994
Suggested Citation
Kesinee Thanikkul Involvement of rosette formation in severe falciparum malaria. Thesis (M.Sc. (Pathobiology))--Mahidol University, 1994. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/100865
Title
Involvement of rosette formation in severe falciparum malaria
Alternative Title(s)
คุณสมบัติของเชื้อฟัลซิปารั่มในการจับกลุ่มกับเม็ดเลือดแดงกับความรุนแรงของโรคมาลาเรีย
Author(s)
Abstract
Rosette formation of Plasmodium falciparum-infected red blood cells (RBC) was studied with RBC from healthy or malaria infected donors. Rosetting, characterized by two or more uninfected RBC bound to an infected RBC, occurs when the parasites mature to trophozoite/schizont stages, and is believed to be a critical factor in the development of cerebral malaria. Rosette forming ability of RBC from healthy donors was greater in group A and B than group O RBC (A=B>O). Decreased rosetting ability of these RBC was observed during storage under blood bank conditions, showing significant reduction on day 14 (group A,B and O) of storage. In addition, rosetting of RBC from healthy donors was inhibited by antimalarial drugs. Normal RBC exposed for 30 minutes to quinine or artemether in vitro showed significantly decreased rosetting. These inhibitory effects could not be reversed by extensive washing and 24 hours further incubation under the in vitro culture conditions. Rosetting ability of uninfected RBC from uncomplicated and complicated malaria donors was similar to those of normal RBC (A=B>O). Regardless of blood group, rosetting of uninfected RBC from uncomplicated malaria donors was decreased significantly within 8 hours after treatment with quinine (1.46 vs 0.70), p=O.OO1 or qinghaosu derivatives (artesunate or artemether) (1.29 vs 0.63), p=O.OO1. Similarly, rosetting of the uninfected RBC from complicated malaria donors was decreased significantly within 4 hours after treatment with artesunate (1.22 vs 0.54) p=0.04. There was no significant reduction in the rosetting of uninfected RBC from complicated malaria donors after 2-24 hours treatment with quinine. Neither uninfected RBC from uncomplicated or from complicated malaria donors exhibited a greater rosetting ability than that of RBC from healthy donors. These observations may be useful for developing a standard practice of blood transfusion in anaemic malaria patients. Moreover, the results showed that besides the killing effects, antimalarial drugs can interfere with the rosetting mechanisms of P. falciparum-infected RBC, and might therefore rapidly reduce the patholhysiology and severity of the disease.
การเกาะของเม็ดเลือดแดงที่ไม่ติดเชื้อกับเม็ดเลือดแดง ที่ติดเชื้อ Plasmodium falciparum ในระยะ trophozoite/ schizont หรือที่เรียกว่า rosette formation นั้นอาจเป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคในผู้ติดเชื้อมาลาเรีย เช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง เมื่อศึกษาการเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดงของคนปกติกับเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อ พบว่า เลือดที่ถูกเก็บไว้ในภาวะเดียวกับการเก็บรักษาเลือดของธนาคาร เลือดนั้น เม็ดเลือดกลุ่ม A และ B เกาะ rosette ได้ดีกว่า เม็ดเลือดกลุ่ม O (A=B>0) และการเกาะ rosette ของ เม็ดเลือดแดงเหล่านี้ จะลดลงต่ำสุดในวันที่ 14 (กลุ่มเลือด A, B และ O) นอกจากนี้ ยารักษามาลาเรียยังมีผลต่อเม็ด เลือดของคนปกติ ในการเกาะ rosette กับเม็ดเลือดแดง ที่ติดเชื้อด้วย การเกาะ rosette จะลดลงต่ำสุด เมื่อเม็ด เลือดสัมผัสกับยาควินินหรืออาร์ติมิเตอร์เป็นเวลา 30 นาที เม็ดเลือดแดงที่ถูกลดสมรรถภาพในการเกาะ rosette แล้วนี้ ไม่สามารถทำให้มีคุณสมบัติในการเกาะ rosette เหมือนเดิมได้ ถึงแม้เม็ดเลือดแดงนั้นจะผ่านการล้างหลายๆ ครั้ง และถูกเก็บ ไว้นาน 24 ชั่วโมง ในสภาวะเดียวกับการเลี้ยงเชื้อมาลาเรีย ในห้องทดลองก็ตาม การศึกษาเม็ดเลือดแดงจากผู้ป่วยมาลาเรียก่อนได้รับ ยารักษามาลาเรีย พบว่าการเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดง จากผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียชนิดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะคล้ายคลึง กับการเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดงของคนปกติ (A=B>O) การเกาะ rosette นี้ จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.001) ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาควินิน และยากลุ่มอนุพันธ์อาร์ติมิซินิน (อาร์ติซูเนทหรืออาร์ติมิเตอร์) ส่วนการเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดงจากผู้ป่วยที่เป็น มาลาเรียชนิดมีภาวะแทรกซ้อน ก่อนได้รับยารักษามาลาเรียนั้น มีความคล้ายคลึงกับเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยมาลาเรียที่ไม่มี ภาวะแทรกซ้อน (A=B>O) และการเกาะ rosette จะลดลง อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.004) ภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากผู้ป่วย ได้รับการรักษาด้วยยาอาร์ติซูเนท แต่ยาควินินไม่สามารถลด การเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดง จากกลุ่มผู้ป่วยนี้ ภายหลังการรักษา 24 ชั่วโมง การศึกษานี้แสดงถึงข้อควรระวังในการเลือกใช้เลือด เพื่อการเปลี่ยนถ่ายให้กับผู้ป่วยมาลาเรียที่มีอาการรุนแรง และแสดงให้เห็นความสามารถในการเกาะ rosette ที่ เท่าเทียมกันของเม็ดเลือดแดงจากคนปกติ และ เม็ดเลือดแดง จากผู้ป่วยมาลาเรียทั้งสองกลุ่ม ยารักษามาลาเรีย นอกจาก จะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อมาลาเรียแล้ว ยังมีผลในการยับยั้ง การเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดง ซึ่งอาจช่วยลดพยาธิ สภาพ และความรุนแรงในผู้ติดเชื้อมาลาเรียได้
การเกาะของเม็ดเลือดแดงที่ไม่ติดเชื้อกับเม็ดเลือดแดง ที่ติดเชื้อ Plasmodium falciparum ในระยะ trophozoite/ schizont หรือที่เรียกว่า rosette formation นั้นอาจเป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคในผู้ติดเชื้อมาลาเรีย เช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง เมื่อศึกษาการเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดงของคนปกติกับเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อ พบว่า เลือดที่ถูกเก็บไว้ในภาวะเดียวกับการเก็บรักษาเลือดของธนาคาร เลือดนั้น เม็ดเลือดกลุ่ม A และ B เกาะ rosette ได้ดีกว่า เม็ดเลือดกลุ่ม O (A=B>0) และการเกาะ rosette ของ เม็ดเลือดแดงเหล่านี้ จะลดลงต่ำสุดในวันที่ 14 (กลุ่มเลือด A, B และ O) นอกจากนี้ ยารักษามาลาเรียยังมีผลต่อเม็ด เลือดของคนปกติ ในการเกาะ rosette กับเม็ดเลือดแดง ที่ติดเชื้อด้วย การเกาะ rosette จะลดลงต่ำสุด เมื่อเม็ด เลือดสัมผัสกับยาควินินหรืออาร์ติมิเตอร์เป็นเวลา 30 นาที เม็ดเลือดแดงที่ถูกลดสมรรถภาพในการเกาะ rosette แล้วนี้ ไม่สามารถทำให้มีคุณสมบัติในการเกาะ rosette เหมือนเดิมได้ ถึงแม้เม็ดเลือดแดงนั้นจะผ่านการล้างหลายๆ ครั้ง และถูกเก็บ ไว้นาน 24 ชั่วโมง ในสภาวะเดียวกับการเลี้ยงเชื้อมาลาเรีย ในห้องทดลองก็ตาม การศึกษาเม็ดเลือดแดงจากผู้ป่วยมาลาเรียก่อนได้รับ ยารักษามาลาเรีย พบว่าการเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดง จากผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียชนิดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะคล้ายคลึง กับการเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดงของคนปกติ (A=B>O) การเกาะ rosette นี้ จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.001) ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาควินิน และยากลุ่มอนุพันธ์อาร์ติมิซินิน (อาร์ติซูเนทหรืออาร์ติมิเตอร์) ส่วนการเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดงจากผู้ป่วยที่เป็น มาลาเรียชนิดมีภาวะแทรกซ้อน ก่อนได้รับยารักษามาลาเรียนั้น มีความคล้ายคลึงกับเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยมาลาเรียที่ไม่มี ภาวะแทรกซ้อน (A=B>O) และการเกาะ rosette จะลดลง อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.004) ภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากผู้ป่วย ได้รับการรักษาด้วยยาอาร์ติซูเนท แต่ยาควินินไม่สามารถลด การเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดง จากกลุ่มผู้ป่วยนี้ ภายหลังการรักษา 24 ชั่วโมง การศึกษานี้แสดงถึงข้อควรระวังในการเลือกใช้เลือด เพื่อการเปลี่ยนถ่ายให้กับผู้ป่วยมาลาเรียที่มีอาการรุนแรง และแสดงให้เห็นความสามารถในการเกาะ rosette ที่ เท่าเทียมกันของเม็ดเลือดแดงจากคนปกติ และ เม็ดเลือดแดง จากผู้ป่วยมาลาเรียทั้งสองกลุ่ม ยารักษามาลาเรีย นอกจาก จะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อมาลาเรียแล้ว ยังมีผลในการยับยั้ง การเกาะ rosette ของเม็ดเลือดแดง ซึ่งอาจช่วยลดพยาธิ สภาพ และความรุนแรงในผู้ติดเชื้อมาลาเรียได้
Description
Pathobiology (Mahidol University 1994)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Science
Degree Discipline
Pathobiology
Degree Grantor(s)
Mahidol University