การศึกษาลักษณะภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุมขำขันของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก
Issued Date
2550
Copyright Date
2550
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ช, 135 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
Suggested Citation
จิรศุภา ปล่องทอง การศึกษาลักษณะภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุมขำขันของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93916
Title
การศึกษาลักษณะภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุมขำขันของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก
Alternative Title(s)
A study of humorous language in Kaihuaroh and Mahasanook comic
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษา และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งเก็บข้อมูลจากหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะรายสัปดาห์ ฉบับเดือนมีนาคม -- เมษายน 2548 จำนวนทั้งหมด 82 เรื่อง และหนังสือการ์ตูนมหาสนุกรายสัปดาห์ ฉบับเดือนมีนาคม -- เมษายน 2548 จำนวนทั้งหมด 56 เรื่อง รวมทั้งหมด 138 เรื่อง โดยใช้ข้อมูลเฉพาะมุมขำขันเท่านั้น ผลการวิเคราะห์พบว่า กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสร้างอารมณ์ขันมี 9 กลวิธี ดังนี้คือ การเล่นคำปริศนาคำทาย การเขียนเสียดสี การขยายความเกินความจริง คำจำกัดความ การอุปมา การหักมุมด้วยคำพูด และกลวิธีแบบผสม ซึ่งกลวิธีที่พบมากที่สุด ได้แก่ การหักมุมด้วยคำพูด กลวิธีแบบผสม การบ่งชี้โดยนัย และกลวิธีอื่น ๆ ตามลำดับ ส่วนการตั้งชื่อเรื่อง การตั้งชื่อตัวละคร และนามปากกาเป็นเพียงส่วนประกอบในการช่วยสร้างอารมณ์ขันให้เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ได้สร้างความขบขันจากความหมายในตัวของภาษาโดยตรง ด้านบริบทในการสื่อสารในภาษาสื่ออารมณ์ขันนั้น พบว่ามี 3 ประการ ได้แก่ บริบททางวัฒนธรรม บริบททางสังคม และบริบททางสถานการณ์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจในเรื่องของภาษาสื่ออารมณ์ขันความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขัน และบริบทในการสื่อสารในภาษาสื่ออารมณ์ขัน มีความสอดคล้องกับลักษณะของการเล่นตลก ดังนี้คือ การเล่นตลกกับภาษา การเล่นตลกกับสามัญสำนึก การเล่นตลกกับอารมณ์ความรู้สึก และการเล่นตลกกับเรื่องในชีวิตประจำวัน สำหรับข้อเสนอแนะในอนาคต ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการศึกษากลวิธีการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขันรูปแบบ และเนื้อหาในส่วนของนวนิยายต่อไป
The objective of this study is to analyze humorous language and its communication contexts in Kaihuaroh and Mahasanook comic books using content analysis. This study is qualitative research presenting data as an analytical description. Selective samples are from both comic books published between March and April, 2005 : 82 stories are from Kaihuaroh, and an other 56 stories are from Mahasanook. The research finds that humorous language can be classified into 9 categories : puns, riddles, satires, hyperboles, definitions, metaphors, punch lines, implications and mixes. Punch lines are one of the key elements in this thesis, besides mixes, implications and so on. Plots and accumulative details from a story are the main source in humor creation, assisted by entitlement, character -- naming and pen name. For communication contexts in humorous language, humor is constructed from three essential elements -- culture contexts, social contexts and situation contexts, (as well as time and space play signification roles in constituting humor.) The research also finds that, in humorous language, language mechanisms and communication contexts are closely related to 4 distinguished comic logics : verbal play, emotional play, social play and moral play. For future study, it is recommended that other researchers also study humorous language, style or content in animations and novels.
The objective of this study is to analyze humorous language and its communication contexts in Kaihuaroh and Mahasanook comic books using content analysis. This study is qualitative research presenting data as an analytical description. Selective samples are from both comic books published between March and April, 2005 : 82 stories are from Kaihuaroh, and an other 56 stories are from Mahasanook. The research finds that humorous language can be classified into 9 categories : puns, riddles, satires, hyperboles, definitions, metaphors, punch lines, implications and mixes. Punch lines are one of the key elements in this thesis, besides mixes, implications and so on. Plots and accumulative details from a story are the main source in humor creation, assisted by entitlement, character -- naming and pen name. For communication contexts in humorous language, humor is constructed from three essential elements -- culture contexts, social contexts and situation contexts, (as well as time and space play signification roles in constituting humor.) The research also finds that, in humorous language, language mechanisms and communication contexts are closely related to 4 distinguished comic logics : verbal play, emotional play, social play and moral play. For future study, it is recommended that other researchers also study humorous language, style or content in animations and novels.
Description
ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท
Degree Discipline
ภาษาศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล