ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในกรุงเทพมหานคร
dc.contributor.advisor | ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ | |
dc.contributor.advisor | พัชราพร เกิดมงคล | |
dc.contributor.advisor | เอกราช บำรุงพืชน์ | |
dc.contributor.author | ศศวรรณ อัตถวรคุณ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-05T02:02:21Z | |
dc.date.available | 2024-01-05T02:02:21Z | |
dc.date.copyright | 2562 | |
dc.date.created | 2562 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562) | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในกรุงเทพมหานคร พระสงฆ์จำนวน 60 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก 4 วัด ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริม การดูแลตนเองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลตนเอง 2) การตั้งเป้าหมายและการวางแผน 3) การให้ความรู้และการฝึกทักษะการดูแลตนเองและการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง 4) การบันทึกติดตามทางโทรศัพท์ เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา และการให้ข้อมูลย้อนกลับ 1 ครั้ง/สัปดาห์ และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มและการประเมินผลการดูแลตนเอง ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลโดยผู้วิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการตรวจร่างกายและผลการตรวจโลหิต ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 54 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และมีค่าเฉลี่ย น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ความดันโลหิต น้ำตาลขณะอดอาหาร และแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การศึกษาครั้งนี้สนับสนุนผลของการประยุกต์ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็มต่อการเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในกรุงเทพมหานคร พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองในกลุ่มพระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ และควรศึกษาผลระยะยาวของโปรแกรมฯ ต่อความคงทนของพฤติกรรมและผลลัพธ์ทางคลินิก | |
dc.description.abstract | This quasi-experimental study was conducted to examine self-care behavior among monks with Metabolic syndrome in Bangkok Metropolitan. A total of 60 subjects, who met inclusion and exclusion criteria and lived in the four temples in Bangkok Metropolitan, were randomly assigned to be in an experimental (n=30) and a comparison groups (n=30). The experimental group received a 6-week self-care promoting program, consisting 1) Raising awareness about Metabolic Syndrome 2) Setting goals and Self-care plan 3) Health education and skill training in diet control, Increase physical activity, and avoid risk factors regarding Metabolic syndrome, 4) Weekly telephone follow up 5) Group discussion and evaluation of self-care. The comparison group received regular services from the primary health care center. Data were collected by the researcher using questionnaires and blood chemistry tests were done before and after the intervention. According to t-test analysis, the experimental group had significantly higher mean scores of self-care behavior than before the intervention, and those in the comparison group (p-value < .05). In addition the experimental group had better body weight, body mass index, waist circumference, and clinical outcomes including: blood pressure, fasting blood sugar, and LDL cholesterol had significantly higher mean scores than the intervention group (p-value < .05) The findings support that the self-care promoting program, applying the Orem's Self-care Theory, can increase self-care behavior among the monks with Metabolic syndrome in Bangkok Metropolitan. A community nurse practitioner should use this program to promote self-care among the monks with Metabolic syndrome or with other chronic diseases in other urban communities. A further study should examine the retention of self-care behavior and the long term effects of the program on clinical outcomes | |
dc.format.extent | ก-ญ, 196 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91911 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | เมทาบอลิกซินโดรม | |
dc.subject | สงฆ์ -- การดูแล | |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง -- ไทย -- กรุงเทพฯ | |
dc.title | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในกรุงเทพมหานคร | |
dc.title.alternative | Effects of self-care promoting program on self-care behaviors among monks with metabolic syndrome in Bangkok metropolitan | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/543/5936827.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |