Emotion management : fluidity of sexuality and sexual health risk of Laos migrant female sex worker (Saokaraoke) in transnational context
Issued Date
2017
Copyright Date
2017
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xvi, 260 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Social Sciences and Health))--Mahidol University, 2017
Suggested Citation
Nattawut Singkul Emotion management : fluidity of sexuality and sexual health risk of Laos migrant female sex worker (Saokaraoke) in transnational context. Thesis (Ph.D. (Social Sciences and Health))--Mahidol University, 2017. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92228
Title
Emotion management : fluidity of sexuality and sexual health risk of Laos migrant female sex worker (Saokaraoke) in transnational context
Alternative Title(s)
การจัดการอารมณ์ : ความลื่นไหลของเพศวิถีและความเสี่ยงในสุขภาพทางเพศของแรงงานผู้หญิงข้ามชาติลาวขายบริการทางเพศ (สาวคาราโอเกะ) ในบริบทข้ามพรมแดน
Author(s)
Abstract
The research studies emotion and emotion management, sexuality and risks among Laotian migrant female sex workers in a transnational context, using an ethnographic methodology, participant observation, and field study. The fieldwork was conducted for two years during 2014-2016 in a border area in Thailand. The researcher used focus group interviews among 40 karaoke bar workers, 20 in-depth interviews, ten sexuality narrative analysis and 45 ethnographic interviews with local stakeholders, namely: officials, community members, karaoke bar visitors, and nongovernmental organization staff. The research used emotion labor and emotion management by Arlie Russell Hochschild as a theoretical framework in the study, and sexuality narrative-based emotion analysis from the transnational migrant sex workers' (Laotian karaoke bar workers) story. From the findings of the study, it can be concluded that emotions are a necessary tool for Laotian migrant sex workers ("sao karaoke" or karaoke girls) in their work and their everyday lives. Emotion and emotional labor is the medium of exchange with customers, including emotional management, superficial acting, and deep acting in the workplace. Sexuality is used as part of work that is linked to intimacy, satisfaction, attraction, and seduction. There is sexual emotion that fortifies bargaining power and agency among migrant workers, for this reason, karaoke girls have not been entirely commoditized in the sex industry, through emotion management strategies, namely: partner screening, selection, and refusal, prioritizing clients, lovers, or boyfriends, and creating bodily boundaries. Karaoke girls also use emotions associated with sex work, multiple identity constructions, together with using emotions for sexual pleasure and satisfaction from work. Notwithstanding the fact that karaoke girls face poverty and inequality which are primary and essential conditions that drive Laotian migrant workers (karaoke girls) to engage in sex work in Thailand, they are not objectified by men or Capitalism in the sex industry. Karaoke girls maintain their subjectivity and agency as they choose and act throughout the use of emotion and emotion management-- a negotiation strategy and tool for work and lives under the context of survival and sexual health risks in transnational sex work
งานศึกษาชิ้นนี้มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับอารมณ์ การจัดการอารมณ์ที่สัมพันธ์กับเพศวิถีและความเสี่ยงของสุขภาพทางเพศของแรงงานผู้หญิงข้ามชาติลาวในบริบทของการข้ามพรมแดน โดยใช้การศึกษาภาคสนามเชิงชาติพันธุ์วรรณนาทางมานุษยวิทยาในพื้นที่ชายแดนแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นระยะเวลา 2 ปี (20014-2016) ผู้ศึกษาใช้การสัมภาษณ์แบบกลุ่มกับพนักงานร้านคาราโอเกะชาวลาวจำนวน 40 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 20 คนและสัมภาษณ์ผ่านเรื่องเล่าทางเพศในกลุ่มแรงงานผู้หญิงข้ามชาติลาวจำนวน 10 คน รวมถึงการใช้การสัมภาษณ์เชิงชาติพันธุ์ (Ethnographic interviews) กับผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในพื้นที่ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำ ชุมชน ชาวบ้าน นักเที่ยวและนักพัฒนาเอกชน เป็นจำนวน 45 คน การใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการฝังตัวในชุมชนที่ศึกษา และใช้แนวคิดเรื่อง emotion labor และ Emotion management ของ Arlie Russell Hochschild เป็นกรอบความคิดในการศึกษาและกระบวนการวิเคราะห์อารมณ์ผ่านเรื่องเล่าทางเพศของผู้หญิงขายบริการข้ามพรมแดน (สาวคาราโอเกะชาวลาว) ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า อารมณ์เป็นเสมือนเครื่องมือพื้นฐานในการใช้ชีวิตและการทำงานของแรงงานผู้หญิงข้ามชาติลาว (สาวคาราโอเกะ) ในฐานะผู้ให้บริการทางเพศ และแรงงานทางอารมณ์ที่ต้องใช้ร่างกายและอารมณ์เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนซื้อขายกับลูกค้าหรือแขก รวมถึงการจัดการอารมณ์สัมพันธ์กับการแสดงออกแบบผิวเผินและการแสดงออกเชิงลึกในการทำงาน อารมณ์ทางเพศวิถีถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่เชื่อมโยงกับความผูกพันใกล้ชิด ความพึงพอใจ การดึงดูดและชักชวนทางเพศ รวมถึงอารมณ์ทางเพศที่สร้างอำนาจของการต่อรอง ความเป็นผู้กระทำการให้กับแรงงานผู้หญิงข้ามชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพวกเธอไม่ได้ถูกทำให้เป็นแรงงานภายใต้ระบบธุรกิจขายบริการทางเพศอย่างสมบูรณ์แต่พวกเธอเป็นผู้กระทำการที่สะท้อนผ่านกลยุทธ์ของการจัดการอารมณ์ ทั้งการเลือกคู่ความสัมพันธ์ การค้นหา การคัดเลือกและการปฏิเสธแขก การจัดลาดับความสำคัญของแขก แฟน หรือคนรัก การสร้างขอบเขตของร่างกาย อารมณ์ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับการทำงานให้บริการทางเพศ และการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้อารมณ์เพื่อแสวงหาความสุข ความพึงพอใจทางเพศไปพร้อมกับการทำงาน ดังนั้นแม้ว่าพื้นฐานของความยากจนและความไม่เท่าเทียมของการพัฒนาจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้แรงงงานผู้หญิงข้ามชาติลาว (สาวคาราโอเกะ) เข้ามาสู่ธุรกิจขายบริการทางเพศในประเทศไทย แต่พวกเธอก็ไม่ได้ตกอยู่ในฐานะของการเป็นผู้ถูกกระทำ การจากอำนาจของผู้ชายหรือระบบทุนนิยมในธุรกิจขายบริการทางเพศเพียงอย่างเดียว พวกเธอยังมีความเป็นอัตวิสัยภายใต้การเป็นผู้เลือกและผู้กระทำ การผ่านการใช้อารมณ์และการจัดการอารมณ์ซึ่งเป็นกลยุทธ์และ เครื่องมือในการต่อรองในการทำงานและการใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กับการอยู่รอดและความเสี่ยงของสุขภาพทางเพศในการทำงานให้บริการทางเพศในบริบทของการข้ามพรมแดน
งานศึกษาชิ้นนี้มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับอารมณ์ การจัดการอารมณ์ที่สัมพันธ์กับเพศวิถีและความเสี่ยงของสุขภาพทางเพศของแรงงานผู้หญิงข้ามชาติลาวในบริบทของการข้ามพรมแดน โดยใช้การศึกษาภาคสนามเชิงชาติพันธุ์วรรณนาทางมานุษยวิทยาในพื้นที่ชายแดนแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นระยะเวลา 2 ปี (20014-2016) ผู้ศึกษาใช้การสัมภาษณ์แบบกลุ่มกับพนักงานร้านคาราโอเกะชาวลาวจำนวน 40 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 20 คนและสัมภาษณ์ผ่านเรื่องเล่าทางเพศในกลุ่มแรงงานผู้หญิงข้ามชาติลาวจำนวน 10 คน รวมถึงการใช้การสัมภาษณ์เชิงชาติพันธุ์ (Ethnographic interviews) กับผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในพื้นที่ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำ ชุมชน ชาวบ้าน นักเที่ยวและนักพัฒนาเอกชน เป็นจำนวน 45 คน การใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการฝังตัวในชุมชนที่ศึกษา และใช้แนวคิดเรื่อง emotion labor และ Emotion management ของ Arlie Russell Hochschild เป็นกรอบความคิดในการศึกษาและกระบวนการวิเคราะห์อารมณ์ผ่านเรื่องเล่าทางเพศของผู้หญิงขายบริการข้ามพรมแดน (สาวคาราโอเกะชาวลาว) ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า อารมณ์เป็นเสมือนเครื่องมือพื้นฐานในการใช้ชีวิตและการทำงานของแรงงานผู้หญิงข้ามชาติลาว (สาวคาราโอเกะ) ในฐานะผู้ให้บริการทางเพศ และแรงงานทางอารมณ์ที่ต้องใช้ร่างกายและอารมณ์เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนซื้อขายกับลูกค้าหรือแขก รวมถึงการจัดการอารมณ์สัมพันธ์กับการแสดงออกแบบผิวเผินและการแสดงออกเชิงลึกในการทำงาน อารมณ์ทางเพศวิถีถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่เชื่อมโยงกับความผูกพันใกล้ชิด ความพึงพอใจ การดึงดูดและชักชวนทางเพศ รวมถึงอารมณ์ทางเพศที่สร้างอำนาจของการต่อรอง ความเป็นผู้กระทำการให้กับแรงงานผู้หญิงข้ามชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพวกเธอไม่ได้ถูกทำให้เป็นแรงงานภายใต้ระบบธุรกิจขายบริการทางเพศอย่างสมบูรณ์แต่พวกเธอเป็นผู้กระทำการที่สะท้อนผ่านกลยุทธ์ของการจัดการอารมณ์ ทั้งการเลือกคู่ความสัมพันธ์ การค้นหา การคัดเลือกและการปฏิเสธแขก การจัดลาดับความสำคัญของแขก แฟน หรือคนรัก การสร้างขอบเขตของร่างกาย อารมณ์ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับการทำงานให้บริการทางเพศ และการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้อารมณ์เพื่อแสวงหาความสุข ความพึงพอใจทางเพศไปพร้อมกับการทำงาน ดังนั้นแม้ว่าพื้นฐานของความยากจนและความไม่เท่าเทียมของการพัฒนาจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้แรงงงานผู้หญิงข้ามชาติลาว (สาวคาราโอเกะ) เข้ามาสู่ธุรกิจขายบริการทางเพศในประเทศไทย แต่พวกเธอก็ไม่ได้ตกอยู่ในฐานะของการเป็นผู้ถูกกระทำ การจากอำนาจของผู้ชายหรือระบบทุนนิยมในธุรกิจขายบริการทางเพศเพียงอย่างเดียว พวกเธอยังมีความเป็นอัตวิสัยภายใต้การเป็นผู้เลือกและผู้กระทำ การผ่านการใช้อารมณ์และการจัดการอารมณ์ซึ่งเป็นกลยุทธ์และ เครื่องมือในการต่อรองในการทำงานและการใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กับการอยู่รอดและความเสี่ยงของสุขภาพทางเพศในการทำงานให้บริการทางเพศในบริบทของการข้ามพรมแดน
Description
Social Sciences and Health (Mahidol University 2017)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Social Sciences and Health
Degree Grantor(s)
Mahidol University