อิทธิพลของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้าและการใช้ยาหลายขนาน ต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
dc.contributor.advisor | ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ | |
dc.contributor.advisor | วิชชุดา เจริญกิจการ | |
dc.contributor.author | วิกานดา ศรีภูมิพฤกษ์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-22T01:42:40Z | |
dc.date.available | 2024-01-22T01:42:40Z | |
dc.date.copyright | 2559 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.description | การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559) | |
dc.description.abstract | This correlational predictive research aimed to study the influence of fatigue, health literacy, depression and polypharmacy on risk behaviors of drug related problems in patients with heart failure. The concept of drug related problems was used to guide this study. The sample consisted of 86 patients with heart failure at the out-patient department of Maharaj Nakorn Ratchasima Hospital. Data were collected using a demographic questionnaire, medications used record, Piper Fatigue Scale-12, Assessment of Functional Health Literacy for Patients with Heart Failure, Center for Epidemiologic Studies Depression Scale (CES-D) and Risk behaviors of drug-related problems. The data were collected between May and September 2015 and analyzed using descriptive statistics, Pearson product's moment correlation coefficient and Multiple regression. The results revealed that more than half of the sample were male (52.3 percent), mean age was 67.51 years (SD = 10.19) (Max= 85, Min= 41). The sample had experience moderate fatigue symptoms of 62.80 percent, adequate health literacy of 37.20 percent, depression of 41.90 percent, used 3-6 medications 5 1 . 2 0 percent (Max = 1 3 , Min = 3 , Mean = 6 . 7 8 ,SD = 2 . 7 2 ) , and had risk behaviors of drug-related problems of 62.80 percent. Only depression had statistical significance in predicting risk behaviors of drug-related problems (β = .416, p = .001) . Fatigue, health literacy, depression and polypharmacy together could explain 15.3 percent of variation on risk behaviors of drug-related problems (R2 = .153, F = 3.667, p = .009) Based on the findings, the researcher suggested that nurses should pay attention on assessing depression and provide nursing care to reduce risk behaviors of drug-related problems in patients with heart failure. | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า และการใช้ยาหลายขนาน ต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้แนวคิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา (drug-related problems) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวน 86 คน ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการใช้ยาของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานสาหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2558 - กันยายน 2558 และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย (52.3) มีอายุเฉลี่ย 67.51 ปี (SD = 10.19) (Max= 85, Min= 41) มีประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้าปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 62.80 มีความแตกฉานด้านสุขภาพเพียงพอ ร้อยละ 37.20 มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 41.90 ใช้ยา 3-6 ขนาน ร้อยละ 51.20 (Max = 13, Min = 3, Mean = 6.78, SD= 2.72) และมีพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยา ร้อยละ 62.80 ภาวะซึมเศร้าเพียงปัจจัยเดียวสามารถพยากรณ์พฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .416, p = .001) อาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า การใช้ยาหลายขนานสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ร้อยละ 15.3 (R2 = .153, F = 3.667, p = .009) จากผลการศึกษาผู้วิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลควรให้ความสนใจในการประเมินภาวะซึมเศร้าและให้ การพยาบาล เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว | |
dc.format.extent | ก-ฎ, 174 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93361 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ยา -- ขนาดการใช้ | |
dc.subject | ความซึมเศร้า -- การรักษาด้วยยา | |
dc.subject | ภาวะหัวใจล้มเหลว -- ผู้ป่วย | |
dc.title | อิทธิพลของอาการเหนื่อยล้า ความแตกฉานด้านสุขภาพ ภาวะซึมเศร้าและการใช้ยาหลายขนาน ต่อพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดปัญหาในการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว | |
dc.title.alternative | The influence of fatigue, health literacy, depression, and polypharmacy on risk behaviors of drug-related problems in patients with heart failure | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2560/cd527/5636875.pdf | |
thesis.degree.department | คณะพยาบาลศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |