ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยและนักศึกษา : กรณีศึกษาการดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม
Issued Date
2567
Copyright Date
2564
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 167 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564
Suggested Citation
พุทธรัต พัฒนวรกิจ ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยและนักศึกษา : กรณีศึกษาการดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม. สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99518
Title
ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยและนักศึกษา : กรณีศึกษาการดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม
Alternative Title(s)
Intercultural communication competence of university officers and students : a case study of Mahidol university social engagement operation
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และอุปสรรคและวิธีการก้าวข้ามอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ในกลุ่มบุคลากรผู้ขับเคลื่อนงานด้านพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคมจำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาผู้ร่วมดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์ฯ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (participant observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีลักษณะที่มาทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรค เมื่อมีความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมอย่างน้อย 3 ด้าน เพราะหากความสามารถน้อยกว่าสามด้านจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตัวอย่างบกพร่อง และไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมด้านความตระหนักทางวัฒนธรรม ดังนั้น ความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของบุคลากรและนักศึกษาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในการดำเนินงาน หากมีทุกฝ่ายมีความสามารถในตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ก็จะนำไปสู่การก้าวข้ามอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมได้เป็นผลสำเร็จ อาจก่อให้เกิดโอกาสการดำเนินงานที่มีประสิทธิมากยิ่งขึ้น นำไปสู่เป้าหมายการดำเนินงานได้สำเร็จ
This study aims at investigating the intercultural communication competencies of the officers and students at Mahidol University. Also, this study aims to explore the obstacles and solutions in terms of intercultural communication. The participants were the five officers who are in charge of the social engagement operation and the ten students who participated in the social engagement operation. The participant observation and in-depth interview were employed in this study. The results revealed that intercultural communication competence and obstacles between the two groups were significantly different due to their diverse cultural backgrounds. Furthermore, the results showed that the participants could overcome their obstacles when they have at least three intercultural communication competencies. This study found that the participants' cultural learning process is deficient when they lack those three intercultural communication competencies, especially cultural awareness. Consequently, intercultural communication competence is vital for the officers and students in terms of collaboration because it affects the operating relationship. Being aware of cultural differences could promote them to overcome their intercultural communication obstacles, support their operation to be more proficient, and complete their working plans effectively.
This study aims at investigating the intercultural communication competencies of the officers and students at Mahidol University. Also, this study aims to explore the obstacles and solutions in terms of intercultural communication. The participants were the five officers who are in charge of the social engagement operation and the ten students who participated in the social engagement operation. The participant observation and in-depth interview were employed in this study. The results revealed that intercultural communication competence and obstacles between the two groups were significantly different due to their diverse cultural backgrounds. Furthermore, the results showed that the participants could overcome their obstacles when they have at least three intercultural communication competencies. This study found that the participants' cultural learning process is deficient when they lack those three intercultural communication competencies, especially cultural awareness. Consequently, intercultural communication competence is vital for the officers and students in terms of collaboration because it affects the operating relationship. Being aware of cultural differences could promote them to overcome their intercultural communication obstacles, support their operation to be more proficient, and complete their working plans effectively.
Description
ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2564)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล