ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ของผู้ประกอบการร้านบริการอินเตอร์เน็ตและเกมส์ กรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorลักขณา เติมศิริกุลชัย
dc.contributor.advisorภรณี วัฒนสมบูรณ์
dc.contributor.authorอลงกรณ์ เปกาลี
dc.date.accessioned2024-01-16T03:51:47Z
dc.date.available2024-01-16T03:51:47Z
dc.date.copyright2555
dc.date.created2567
dc.date.issued2555
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
dc.description.abstractการศึกษาเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ของผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตและเกมส์ ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 263 คน เลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ศึกษา กับการปฏิบัติตามกฎหมายด้วยสถิติทดสอบไค-แสควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตและเกมส์ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย ร้อยละ 88.6 และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายร้อยละ 11.4 โดยในกลุ่มที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายครบถ้วนร้อยละ 22.9 ผู้ประกอบการยังคงขาดการปฏิบัติตามในข้อกำหนดเกี่ยวกับการติดป้าย หรือสติกเกอร์ห้ามสูบบุหรี่มากที่สุด (ร้อยละ 69.2) เมื่อพิจารณาแบบแผนของการปฏิบัติตามกฎหมายในกลุ่มร้านอินเตอร์เน็ตและเกมส์ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายเพียงบางส่วนพบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.8) ไม่จัดอุปกรณ์อำนวยการสูบและห้ามหรือตักเตือนเมื่อพบการสูบบุหรี่บริเวณร้าน ผู้ประกอบการมากกว่าร้อยละ 50 ไม่ทราบเกี่ยวกับโรคจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง สถานที่สาธารณะที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ และบทลงโทษของ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ในส่วนของปัจจัยภายในตัวบุคคลอื่น ๆ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มีเจตคติต่อการปฏิบัติ ตามกฎหมายเป็นกลาง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในระดับสูง และอิทธิพลจาก ผู้ใช้บริการในระดับปานกลาง และผู้ประกอบการได้รับข้อมูลข่าวสารสื่อสนับสนุน และการตรวจเยี่ยมจากเจ้าหน้าที่ เพียง ร้อยละ 36.9, 21.6 และ35.2 ตามลำดับ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.4) มีความพร้อมสูงสุดในการปฏิบัติตาม ข้อกำหนดของกฎหมาย แต่ร้อยละ 19.0 ไม่เห็นด้วยต่อการกำหนดให้ร้านอินเตอร์เน็ตเป็นเขตปลอดบุหรี่ ผลการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ประกอบการ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย เจตคติต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ความรับผิดชอบต่อสังคม อิทธิพลของผู้ใช้บริการ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ความตัUงใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกฎหมาย การได้รับสื่อสนับสนุน และการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ มีความสัมพันธ์กับการ ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการศึกษานี้ ภาคีและเครือข่ายเพื่อ การควบคุมยาสูบควรให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และรณรงค์ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยเฉพาะการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ผ่านทางกระทรวงวัฒนธรรม หรือผู้ถือลิขสิทธิ เกมส์ออนไลน์
dc.format.extentก-ฎ, 165 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92950
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการสูบบุหรี่ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.subjectพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
dc.subjectอินเทอร์เน็ต -- แง่สังคม -- ไทย
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ของผู้ประกอบการร้านบริการอินเตอร์เน็ตและเกมส์ กรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeFactors associated with compliance with the non-smoker's health protection act 1992 of internet cafe proprietors in Bangkok
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd466/5237653.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files