ผลของฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ต่อการรับรู้ด้านสุขภาพของนักเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorลักขณา เติมศิริกุลชัย
dc.contributor.advisorมณฑา เก่งการพานิช
dc.contributor.advisorธนาดล เก่งการพานิช
dc.contributor.authorธนนันทน์ วรรณศิโรรัตน์
dc.date.accessioned2024-01-17T02:49:22Z
dc.date.available2024-01-17T02:49:22Z
dc.date.copyright2553
dc.date.created2567
dc.date.issued2553
dc.descriptionสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2553)
dc.description.abstractเพื่อศึกษาผลของฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ ต่อการรับรู้ด้านสุขภาพ ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ซอง บุหรี่ และความตั้งใจในการสูบบุหรี่ของนักเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 480 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ one way ANOVA (F- test) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ 30.6 เพศหญิงมีการรับรู้ความรุนแรงและโอกาส เสี่ยงต่ออันตรายจากการสูบบุหรี่จากการเห็นภาพคำเตือนและข้อความแสดงชื่อสารพิษและสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่ สูงกว่าเพศชาย (เพศหญิงมีการรับรู้ความรุนแรงจากการเห็นภาพคำเตือนและข้อความ 8.03 และ 6.88 คะแนน ตามลำดับ การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการเห็นภาพคำเตือนและข้อความ 5.81 และ 7.39 คะแนนตามลำดับ) โดยการรับรู้ความรุนแรง จากการเห็นภาพคำเตือนและการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการเห็นข้อความมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มที่ สูบบุหรี่มีการรับรู้ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงจากการเห็นภาพคำเตือนและข้อความต่ำกว่ากลุ่มอื่น (การรับรู้ความ รุนแรงจากการเห็นภาพและข้อความ 6.87 และ 6.14 คะแนนตามลำดับ การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการเห็นภาพและ ข้อความ 5.64 และ 6.91 คะแนนตามลำดับ) โดยการรับรู้ความรุนแรงจากการเห็นภาพคำเตือนและข้อความมีความ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มที่ไม่เคยเห็นมีการรับรู้ความรุนแรงจากการเห็นภาพคำเตือนสูงกว่ากลุ่มที่เคย เห็นและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (8.63 คะแนน) กลุ่มที่ตั้งใจเลิกสูบบุหรี่มีการรับรู้ความรุนแรงและ โอกาสเสี่ยงจากการเห็นภาพคำเตือนและข้อความสูงกว่ากลุ่มที่ตั้งใจไม่เลิกสูบ (กลุ่มที่ตั้งใจเลิกสูบมีการรับรู้ความ รุนแรงจากการเห็นภาพคำเตือนและข้อความ 7.12 และ 6.71 คะแนนตามลำดับ การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการเห็นภาพคำ เตือนและข้อความ 6.01 และ 7.03 คะแนนตามลำดับ) โดยการรับรู้ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงจากการเห็นภาพคำเตือน และการรับรู้ความรุนแรงจากการเห็นข้อความมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำเตือนบนซองบุหรี่ทำให้ กลุ่มตัวอย่างไม่อยากพกพาและไม่อยากซื้อบุหรี่ ข้อเสนอแนะคือให้มีภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ต่อไปและบังคับใช้กับ ซองบุหรี่มวนเองด้วย ให้ใช้ภาพที่เฉพาะเจาะจงต่อกลุ่มเยาวชน เน้นภาพที่น่ากลัว สื่อความหมายชัดเจน และรณรงค์ ภาพดังกล่าวผ่านสื่อเพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนริเริ่มสูบบุหรี่ด้วย
dc.format.extentก-ฏ, 187 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93068
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการรับรู้
dc.subjectการสูบบุหรี่ -- แง่สุขภาพ
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.titleผลของฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ต่อการรับรู้ด้านสุขภาพของนักเรียนอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeEffect of cigarette labelling on health perception among vocational students in Bangkok, Thailand
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd446/4936394.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files