การพัฒนาแบบแผนการดูแลที่บ้านสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลันในเขตเมือง
Issued Date
2538
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ (2538). การพัฒนาแบบแผนการดูแลที่บ้านสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลันในเขตเมือง. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63525
Title
การพัฒนาแบบแผนการดูแลที่บ้านสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลันในเขตเมือง
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา
1) ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลันในเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ของแต่ละครอบครัวในชุมชนเขตเมือง
2) การดูแลช่วยเหลือที่บ้าน จากผู้ปกครองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลัน
3) แนวทางการดำเนินงานเพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็ก โดยวิธี Participatory Action Research (P.A.R.) จากกระบวนการเยี่ยมบ้าน (home visit approach)
วิธีการ เป็นการวิจัยที่ใช้การผสมผสานระหว่างการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) กับ P.A.R. ประชากรศึกษาเป็นเด็กอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี ที่เคยป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลัน 1 ครั้งขึ้นไป และเด็กปกติซึ่งมารับภูมิคุ้มกันโรคในคลินิก well baby ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในสังกัดสาธารณสุขภาค สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ภาค 1, 3, และ 5 รวมถึงผู้เลี้ยงดูเด็กทุกคน การเลือกตัวอย่างใช้สุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยเริ่มจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จนถึงเด็กป่วยและเด็กดีที่มารับบริการสาธารณสุข ทั้งสิ้น 12 แห่ง ในช่วงเดือนพฤษาภคม – มิถุนายน 2536 ได้กลุ่มเด็กป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลัน 340 คน และเด็กที่มารับบริการด้วยสาเหตุอื่นๆ 289 คน
การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก เป็นการศึกษาปัจจัยเสี่ยง โดยศึกษาแบบย้อนกลับ case control study เก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์จาผู้เลี้ยงดูเป็นประจำในเวลากลางวัน สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ Chi-square, odds ratio และ Hierachical multiple logistic regression ระยะที่สองพัฒนารูปแบบการดูแลช่วยเหลือเด็กที่บ้าน โดยพยาบาลสาธารณสุข ของศูนย์บริการสาธารณสุขที่ครอบครัวของเด็กอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ได้ใช้วิธี P.A.R. ร่วมกับกระบวนการเยี่ยมบ้านตั้งแต่ขึ้นตอนสร้างสัมพันธภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล วางแผน ดำเนินตามแผน ประเมนผล สรุปสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน ทุกขั้นตอนมีผู้เลี้ยงดูเด็กจะมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ครอบครัวที่เป็นกลุ่มทดลอง 54 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 57 ครอบครัว ซึ่งสุ่มมาจากกลุ่มเด็กป่วยในระยะที่ 1ใช้วิธีวัดก่อนและวิธีวัดหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ Mc Nemar test และทำ content analysis จากแฟ้มบันทึกการเยี่ยมบ้านในแต่ละขั้นตอน
ผลการวิจัย ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วง เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ประวัติการป่วยด้วยโรคอุจจะระร่วง (OR = 10.28) การป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ (OR = 2.39) การคลานเล่นของเด็กอายุต่ำกว่า 1 ½ ปี (OR = 1.97) เด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม (OR = 1.88) ครอบครัวที่มีส้วมไม่ถูกสุขลักษณะ (OR = 1.68) การกำจัดน้ำเสียไม่ถูกวิธี (OR = 1.63) และครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่าเดือนละ 5,000 บาท
สำหรับการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กที่บ้านเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอุจจาระร่วงซ้ำอีก ใช้เวลาเยี่ยมประมาณ 7 ครั้ง ในระยะเวลา 3-11 เดือน พบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้มีพฤติกรรมการดูแลช่วยเหลือ และป้องกันโรคก่อนเยี่ยมไม่แตกต่างกัน แต่มีความแตกต่างระหว่างการวัดครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ของ 2 กลุ่มนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 ทุกปัจจัยนับตั้งแต่ความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อาหาร ส้วม ขยะ การดูแลและป้องกันไม่ให้เด็กป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วงซ้ำ พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ท้องเสียอีกเลย เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุมเกือบครึ่งหนึ่งที่ไม่ท้องเสียอีก แต่ยังมีท้องเสียมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปร้อยละ 40 ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความพึงพอใจให้พยาบาลมาเยี่ยมบ้าน เพราะเกิดความมั่นใจ รวมถึงได้ปรึกษาหารือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ด้วย
ข้อเสนอแนะ รัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องควรมีการเฝ้าระวังเด็กที่เคยป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง เด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย สภาพที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ และเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ½ ปี ควรได้รับการดูแลเฝ้าระวังเป็นพิเศษ กระบวนการเยี่ยมบ้านของพยาบาลสาธารณสุข ได้มีส่วนช่วยปรับปรุงปัจจัยเสี่ยงต่างๆของครอบครัว อันจะเป็นผลให้ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเกิดโรคอุจจาระร่วงซ้ำอีกรวมถึงการช่วยเหลือผู้เลี้ยงดูเด็ก ให้สามารถตัดสินใจและวางแผนดูแลช่วยเหลือเด็กป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงที่บ้านได้ด้วยความปลอดภัยและมั่นใจ จึงควรให้มีการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเสี่ยง และใช้กระบวนการให้ผู้ปกครองเด็กได้มีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจทุกขั้นตอนของการดำเนินงานที่บ้าน
Description
การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 7 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิถีชีวิตไทยยุคโลกาภิวัฒน์กับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาสุขภาพ, 6-8 ธันวาคม 2538 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538. หน้า 141-143.