การประเมินการจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองบัญชาการทหารสูงสุด

dc.contributor.advisorประเสริฐไชย สุขสอาด
dc.contributor.authorชลัยรัตน์ โสภจารีย์
dc.date.accessioned2024-01-25T01:24:27Z
dc.date.available2024-01-25T01:24:27Z
dc.date.copyright2550
dc.date.created2567
dc.date.issued2550
dc.descriptionการจัดการทางการกีฬา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
dc.description.abstractการศึกษาการจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองบัญชาการทหารสูงสุดครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อประเมินผลการจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองบัญชาการทหารสูงสุด และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะในการจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองบัญชาการทหารสูงสุด กรอบแนวคิดมาจากการบริหารจัดการโดยทฤษฎี 4 M(4Ms) และรูปแบบการประเมินซิป อันได้แก่ สภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และ ผลผลิต โดยใช้แบบสัมภาษณ์เจาะลึก(In-depth Interview) และแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการอำนวยการ จำนวน 1 คน คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 8 คน และนักกีฬา และผู้ควบคุมทีม จำนวน 350 คน จากผลการศึกษาด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีการเตรียมความเหมาะสม และความพร้อมของสภาพการจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองบัญชาการทหารสูงสุดและจัดเตรียมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเพื่อรองรับนโยบาย นำไปสู่การปฏิบัติ และดำเนินการจัดการแข่งขันให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามห้วงเวลาที่กำหนด ผลการศึกษาปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ พบว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดมีการเตรียมการด้านบุคลากร งบประมาณ สถานที่ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และการจัดการ ได้อย่างเพียงพอและ เหมาะสม สำหรับในเรื่องปัญหาและอุปสรรคพบว่า การแบ่งมอบงานยังไม่มีความลงตัวเนื่องจาก บุคลากรมีจำนวนจำกัดทำให้ต้องรับผิดชอบหน้าที่หลายฝ่าย การยืมเงินรองจ่ายไม่เป็นไปตามความต้องการของคณะกรรมการ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันไม่ทันสมัย และไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ผลการศึกษาผลผลิตและผลกระทบ พบว่า นักกีฬาและผู้ควบคุมทีม มีความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองบัญชาการทหารสูงสุดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนทางด้านผลกระทบ พบว่า นักกีฬาและ ผู้ควบคุมทีม เห็นด้วยว่า การจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองบัญชาการทหารสูงสุด มีผลกระทบด้านสังคม ด้านการพัฒนากีฬา นักกีฬา ด้านการจัดการแข่งขัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการจัดโครงการอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการแข่งขัน และจัดการสัมมนาเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการจัดการแข่งขัน
dc.description.abstractThis study evaluated the sports competition management of the Supreme Command Headquarters. It reviewed aspects of problems and obstacles met with and presents suggestions for rectification. The concepts come from Management and Execution, 4 Ms theory (Man, Money, Management, Material) and CIPP Evaluation (Context, Input, Process and Product). The research used in-depth interview and questionnaires to collect information from the sample population. The sample population consisted of: one member of the Board of Directors, 8 Executive Board members, 350 sportsmen and team managers. From the study of environment it was found that the Supreme Command had prepared everything suitable for the internal sports competition and there were meetings held of the Managing Board to respond to the policy and implement practice and manage the sports competition well within the time allotted. In studying the factors of input and process it was found that the Supreme Command had prepared sufficient and suitable personnel, budget, venue, sports materials and equipment's and other conveniences. On the matter of problems and obstacles it was found that the assignment of duties was not efficient. As the number of personnel was limited, one person was responsible for many things. Advance payment of money did not go according to the plan of the committee members. The materials used for competition were neither modern nor according to the standard. Considering the factors of the results and effects, it was found that the sportsmen and the team mangers were quite satisfied with the internal sports competition of the supreme Command to a high level. On the effects of the internal sports competition of the Supreme Command, it was found that there were social effects on sports development, sportsmen, and management of sports. Suggestions are that there should be instructions to develop knowledge and ability of the personnel responsible for the management of the competition and arrange for a seminar for the various units involved to make them aware of the importance and request their cooperation in sports competitions.
dc.format.extentก-ช, 136 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93957
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectกองทัพบก -- กีฬา
dc.subjectการบริหารการกีฬา
dc.subjectกีฬา -- การประเมิน
dc.titleการประเมินการจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองบัญชาการทหารสูงสุด
dc.title.alternativeEvaluation of sports competition of supreme command headquarters in 2007
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4537246.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineการจัดการทางการกีฬา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files