การใช้บริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 112 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ศศิวิมล ดีคำ การใช้บริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92728
Title
การใช้บริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร
Alternative Title(s)
Maternal care utilization among female migrants from Myanmar in Sumut Sakhorn
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการใช้บริการและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับบริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่า เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรสาครอายุระหว่าง 25-40 ปี และต้องเคยตั้งครรภ์หรือคลอดภายในเวลา 2 ปี หรือกำลังตั้งครรภ์ ณ ปัจจุบัน จำนวน 400 คน โดยคัดเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) และสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นผ่านแบบจำลองการใช้บริการสุขภาพของ Andersen (Andersen's Behavioral Model of Health Services Utilization) ผลการศึกษาพบว่าแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าเลือกเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 60 รองลงมาคือเลือกเข้ารับบริการการฝากครรภ์และคลอดทั้งในโรงพยาบาลและคลินิกร้อยละ 40 และมีการเข้ารับการตรวจติดตามการตั้งครรภ์ครบตามนัดทุกครั้ง (100%) ร้อยละ 16 เข้ารับการตรวจติดตามเกือบทุกครั้ง (80%) ร้อยละ 27 เข้ารับการตรวจติดตามเป็นบางครั้ง (30%) ร้อยละ 38.8 และไม่เคยเข้ารับการตรวจติดตามเลย (0%) ร้อยละ 18.2 เนื่องจากเข้าฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์มากหรือไม่เคยเข้ารับการฝากครรภ์ก่อนคลอดอายุเฉลี่ยของครรภ์เมื่อเข้าฝากครรภ์ครั้งแรกคือ 22.21 สัปดาห์ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เดินทางไปรับบริการฝากครรภ์และการคลอดโดยอาศัยรถประจำทางเป็นหลัก ระยะเวลาในการเดินทางอยู่ที่ประมาณ 47.79 นาที ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธ์ิความถดถอย พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการฝากครรภ์ครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ สถานภาพสมรส การสนับสนุนจากครอบครัวและนายจ้าง การตระหนักว่าตนเองตั้งครรภ์และสถานภาพการทำงานโดยแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่ามีสถานภาพสมรสและอยู่ด้วยกัน มีญาติหรือนายจ้างส่งเสริมให้เข้ารับการฝากครรภ์ มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และรับรู้ได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ (จากการขาดประจำเดือนและการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง) มีใบอนุญาตเข้าทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะไปเข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกได้เร็ว ตัวแปรดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเข้าถึงบริการฝากครรภ์ครั้งแรกได้ร้อยละ 36.5 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสม่ำเสมอในการตรวจติดตามการตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อายุ การตระหนักรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ สิทธิการรักษาพยาบาล ประสบการณ์การใช้บริการสุขภาพ ระยะเวลาการเดินทาง และการสนับสนุนจากครอบครัวและนายจ้าง โดยแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าที่มีอายุมาก มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์มีสิทธิในการรักษาพยาบาล มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้บริการสุขภาพและมีความพึงพอใจด้านการให้บริการของโรงพยาบาล รวมถึงระยะเวลาในการเดินทางที่น้อย และได้รับการส่งเสริมจากครอบครัวหรือนายจ้างให้มาตรวจติดตามการตั้งครรภ์ ก็จะเข้ารับการตรวจติดตามการตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ โดยตัวแปรเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของความสม่ำเสมอในการตรวจติดตามการตั้งครรภ์ที่ร้อยละ 59 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าถึงแม้แรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าจะเข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกค่อนข้างเร็วแต่การตรวจติดตามการตั้งครรภ์ตามแพทย์นัดยังค่อนข้างน้อย เนื่องมาจากแรงงานข้ามชาติหญิงเหล่านี้ต้องทำงานในช่วงกลางวัน ไม่สะดวกในการเข้าใช้บริการ จึงควรมีการจัดตั้งคลินิกเกี่ยวกับการตั้งครรภ์การวางแผนครอบครัวเฉพาะกลุ่มแรงงานในช่วงเย็นของแต่ละวันหรืออาจจะเป็นสัปดาห์ละ 2-3 วัน และจัดทำในทุกโรงพยาบาลของรัฐ เพื่อเอื้อต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าที่ต้องทำงาน ไม่สามารถลางานหรือปลีกตัวออกมาได้ และควรมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่แรงงานที่กำลังตั้งครรภ์ ญาติและครอบครัว โดยใช้ล่ามเป็นสื่อในการสอนและอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการฝากครรภ์และการตรวจติดตามการตั้งครรภ์
This quantitative study aimed to investigate a pattern of maternal health care utilization and factors influencing the utilization among female migrant workers from Myanmar. The study sample was 400 Myanmar female migrants, aged 25 - 40 years, and lived in Samut Sakhorn province a convenience sampling was used to select the participants who met the inclusion criteria. The research instrument was a questionnaire developed from Andersen Behavioral Model of Health Utilization. Results showed that 60% of Myanmar female migrants chose to receive health services in hospital, and 40% chose to obtain antenatal care and give birth in either a hospital or a clinic. 16% of them never missed the prenatal visits while 27% turned up for almost every visits and 38.8% turned up for some visits. 18.2% of them never obtained prenatal care. On average, a gestational age at the first prenatal visit was 22.21 weeks. Mostly, the participants traveled to health facilities by bus approximately, the trip took 47.79 minutes. The regression analysis found that marital status, support from family and employer, acknowledgement of one's own pregnancy, and work status significantly affected access to the first antenatal visit (p<0.05). Moreover, age, acknowledgement of one's own pregnancy, possession of medical benefit, experience of health services utilization, travel time, and support from family and employer significantly influenced the consistency in antenatal appointment attendance (p<0.05). According to the result of this study, establishing an after-hours clinic that provides family planning services for Myanmar female migrants in all public hospitals is recommended. Besides, antenatal education to these female migrants, their families and relatives should be provided to promote understanding in prenatal care and prenatal appointment attendance.
This quantitative study aimed to investigate a pattern of maternal health care utilization and factors influencing the utilization among female migrant workers from Myanmar. The study sample was 400 Myanmar female migrants, aged 25 - 40 years, and lived in Samut Sakhorn province a convenience sampling was used to select the participants who met the inclusion criteria. The research instrument was a questionnaire developed from Andersen Behavioral Model of Health Utilization. Results showed that 60% of Myanmar female migrants chose to receive health services in hospital, and 40% chose to obtain antenatal care and give birth in either a hospital or a clinic. 16% of them never missed the prenatal visits while 27% turned up for almost every visits and 38.8% turned up for some visits. 18.2% of them never obtained prenatal care. On average, a gestational age at the first prenatal visit was 22.21 weeks. Mostly, the participants traveled to health facilities by bus approximately, the trip took 47.79 minutes. The regression analysis found that marital status, support from family and employer, acknowledgement of one's own pregnancy, and work status significantly affected access to the first antenatal visit (p<0.05). Moreover, age, acknowledgement of one's own pregnancy, possession of medical benefit, experience of health services utilization, travel time, and support from family and employer significantly influenced the consistency in antenatal appointment attendance (p<0.05). According to the result of this study, establishing an after-hours clinic that provides family planning services for Myanmar female migrants in all public hospitals is recommended. Besides, antenatal education to these female migrants, their families and relatives should be provided to promote understanding in prenatal care and prenatal appointment attendance.
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล