Wetland ecology at Salaya Campus and its importance for improving ecological literacy
Issued Date
2023
Copyright Date
2008
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xv,196 leaves : ill. (some col.)
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Biology))--Mahidol University, 2008
Suggested Citation
Chutamas Sukhontapatipak Wetland ecology at Salaya Campus and its importance for improving ecological literacy. Thesis (Ph.D. (Biology))--Mahidol University, 2008. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89417
Title
Wetland ecology at Salaya Campus and its importance for improving ecological literacy
Alternative Title(s)
นิเวศวิทยาของพื้นที่ชุ่มน้ำวิทยาเขตศาลายาและความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางนิเวศ
Author(s)
Abstract
คุณค่าทางนิเวศวิทยาและทางการศึกษาของพื้นที่ชุ่มน้ำมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต ศาลายา จ. นครปฐม ถูกประเมินโดยการสำรวจชุมชนพืชและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ ในน้ำ ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึงกันยายน 2550 โดยได้บูรณาการความรู้นิเวศวิทยาของพื้นที่ชุ่ม น้ำกับวิชานิเวศวิทยาระดับปริญญาตรี และได้ทำการทบทวนการดำเนินการจัดการวิทยาเขตศาลายา กับหลักการนิเวศวิทยาของสถานศึกษาตามมาตรฐานสากล พื้นที่ชุ่มน้ำวิทยาเขตศาลายาประกอบด้วยทุ่งหญ้าชื้นแฉะและทุ่งน้ำจืด ชุมชนพืชในทุ่ง หญ้าชื้นแฉะแบ่งได้เป็น 7 เขต เรียงจากระดับน้ำตื้นไปลึก ได้แก่ เขตไม้ยืนต้น เขตขลู่ เขตหญ้าคา เขตกกผสมหญ้า เขตหญ้าขน เขตแขม และเขตธูปฤาษี ขณะที่ทุ่งน้ำจืดมีชุมชนพืชเพียง 4 เขต โดยมี เขตธูปฤาษีครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด หอยฝาเดียวและหนอนแดงเป็นสัตว์กลุ่มที่พบมากในพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งสอง เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับพืชและเศษซากตะกอนในพื้นที่ชุ่มน้ำ กลุ่มดัชนีชี้วัดหน้าที่ ของชุมชนพืชและดัชนีหอยวงศ์ Lymnaeidae ระบุความแตกต่างระหว่างพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งสอง โดยทุ่งน้ำจืดได้รับผลกระทบจากการกระจายของธูปฤาษีและสภาวะสารอาหารมากเกินในระดับต่ำ ส่วนทุ่งหญ้าชื้นแฉะได้รับผลกระทบจากหญ้าขนซึ่งเป็นพืชต่างถิ่น บทปฏิบัติการนิเวศวิทยาที่ใช้พื้นที่ ชุ่มน้ำเป็นแหล่งเรียนรู้ 60% สามารถพัฒนาทั้งความรู้ทางนิเวศวิทยาและทัศนคติของนักศึกษาต่อ พื้นที่ชุ่มน้ำได้ ขณะที่โครงการปรับปรุงแผนแม่บทของวิทยาเขตจำเป็นต้องบูรณาการความรู้ นิเวศวิทยาของพื้นที่ชุ่มน้ำด้วย การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในวิทยาเขตสามารถทำได้โดยผ่านโครงการเพิ่มเติมด้วยการปล่อย หิ่งห้อยซึ่งเป็นสัตว์พื้นถิ่นที่สาธารณชนสนใจคืนสู่ธรรมชาติ การจัดให้ทุ่งหญ้าชื้นแฉะบางส่วน ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่อนุรักษ์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชน มหาวิทยาลัยในการจัดการ การให้การศึกษา และการวิจัยเกี่ยวกับนิเวศวิทยาของระบบนิเวศดั้งเดิม ให้กลมกลืนกับระบบนิเวศที่กำลังเปลี่ยนไปเพราะการดำเนินการจัดการพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Science
Degree Discipline
Biology
Degree Grantor(s)
Mahidol University