กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาโครงการประเภทคมนาคม
dc.contributor.advisor | คนางค์ คันธมธุรพจน์ | |
dc.contributor.advisor | วิลาสินี อโนมะศิริ | |
dc.contributor.advisor | วนิพพล มหาอาชา | |
dc.contributor.author | รัชศิริ ประดิษฐ์กุล | |
dc.date.accessioned | 2024-01-05T02:02:19Z | |
dc.date.available | 2024-01-05T02:02:19Z | |
dc.date.copyright | 2561 | |
dc.date.created | 2561 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561) | |
dc.description.abstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประเภทคมนาคม และนำไปสู่การเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประเภทคมนาคม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลกับประชาชนที่เข้าร่วม รับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 9 คน และตัวแทนจากนิติบุคคลผู้มีสิทธิทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผู้จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 14 คน ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นในกรณีศึกษา 3 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบทางพิเศษ, โครงการระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ราง และโครงการระบบขนส่งทางอากาศ ผลการศึกษาพบว่า จากการนำข้อค้นพบจากงานวิจัยมาเปรียบเทียบกับหลักการพื้นฐานของการจัดการมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประเภทคมนาคมยังไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานของการจัดการมีส่วนร่วมของประชาชน เรื่อง การเริ่มต้นเร็ว (Starting Early) ความจริงใจ (Sincerity) และวิธีการที่เหมาะสม (Suitability) สำหรับประเด็นการจำแนกผู้มีส่วนได้เสียโดยยึดหลักการรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ให้มากที่สุดเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของการจัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเด็น เรื่อง ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนในคำนิยาม ไม่มีการกำหนดระดับและรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปรับปรุงแนวทางการมีส่วนร่วมใน 3 ประเด็น ประเด็นแรกคือ 1) เพิ่มรายละเอียดคำนิยามของผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจนมากขึ้น 2) กำหนดบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน และ 3) กำหนดรูปแบบของการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้แตกต่างกัน ส่วนที่ 2 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ เสนอให้เจ้าของโครงการและผู้จัดกระบวนการรับฟังความเห็น 1) ลงพื้นที่เพื่อวางแผนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่เกี่ยวกับวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมใน การจัดประชุมรับฟังความเห็น 2) ใช้ภาษาที่ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่าย สื่อสารด้วยภาษาถิ่น และให้ข้อมูลโครงการที่จำเป็นเท่านั้นกับประชาชน และ 3) เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของโครงการเป็นระยะควบคู่ไปกับ การจัดกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน | |
dc.description.abstract | The purposes of this study were to explore the problems of public participation and to propose recommendations to improve public participation process in environmental impact assessment of transportation projects. Qualitative research methodology was applied. In-depth interviews were carried out with 9 persons from the Project Affected Person (PAPs) group and 5 persons from the Environmental Impact Assessment Consultants. All 14 informants actively participated in the public participation activities of the selected case studies including expressway project, the rail mass transit project and the airport project. The basic principle of public participation; starting early, stakeholder, sincerity, and suitability was used as a framework to assess the effectiveness of public participation in environmental impact assessment of transportation projects. The study found that the public participation in environmental impact assessment of the three projects did not follow the principle of starting early, sincerity and suitability. The study also found that the public participation in environmental impact assessment of transportation projects met the criteria of stakeholder identification because all groups of stakeholders were allowed to participate in the process. However, there was a problem of ambiguity in the definition. In additions, there was no differences in the level of participation among the stakeholder groups. This study proposes the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning to improve the public participation guideline in 3 issues; 1) clarify the definition of each group of stakeholders, 2 ) determine the role of each stakeholder group more clearly and 3) differentiate the level of participation of each stakeholder group. This study also recommends the project owners and facilitators to consult with stakeholders about appropriate methods and timing for the public participation meeting as well as use easy language and provide only necessary information to the public. In additions, the project owners should invite the stakeholders to monitor the operation of the project periodically, along with activities that demonstrate social and environmental responsibility to build good relationships with the community. | |
dc.format.extent | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | ก-ญ, 182 แผ่น : ภาพประกอบ วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91897 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน | |
dc.title | กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาโครงการประเภทคมนาคม | |
dc.title.alternative | Public participation in environmental impact assessment : case studies of transportation projects | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/545/5938693.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |