การทำงานเป็นทีมตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorปิยธิดา ตรีเดช
dc.contributor.advisorสุคนธา ศิริ
dc.contributor.authorปิยนุช แก้วคำรอด
dc.date.accessioned2024-01-17T01:57:59Z
dc.date.available2024-01-17T01:57:59Z
dc.date.copyright2554
dc.date.created2567
dc.date.issued2554
dc.descriptionบริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงอรรถาธิบาย เพื่อประเมินระดับและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล จำนวนสมาชิกของทีม การติดต่อสื่อสาร และบรรยากาศในการทำงานกับการทำงานเป็นทีมตาม การรับรู้ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลในข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานประจำฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ในทุกสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการถึงชำนาญการพิเศษ และเจ้าพนักงานสาธารณสุขระดับปฏิบัติงานถึงชำนาญงาน จำนวน 175 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 ถึง วันที่ 15 มิถุนายน 2556 ประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ และประสบการณ์การทำงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี และจำนวนสมาชิกในทีมอยู่ระหว่าง 2-4 คน มีการ ติดต่อสื่อสาร บรรยากาศในการทำงาน และการทำงานเป็นทีมตามการรับรู้อยู่ในระดับสูง ( x =4.05 , 3.80 และ 3.78 ตามลำดับ) ปัจจัยส่วนบุคคลและจำนวนสมาชิกของทีมไม่มีความสัมพันธ์กับการทำงานเป็นทีมตามการรับรู้ ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ส่วนการติดต่อสื่อสารและบรรยากาศ ในการทำงานมีความสัมพันธ์กับการทำงานเป็นทีมตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ในระดับปานกลางและระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.001 (r = 0.692 และ 0.801 ตามลำดับ) จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ควรได้รับการพัฒนาทางด้านองค์ประกอบของทีม โดยจัดสรรบทบาทตามความสามารถ บุคลิกภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับความชอบของสมาชิก ให้ยอมรับในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และส่งเสริมบรรยากาศในการทำงาน หัวหน้าทีมควรเอาใจใส่ในปัญหาข้อขัดแย้ง สร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบร่วมกัน ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ และความรู้สึกที่ดีต่อกัน โดยมีกิจกรรมและการทำงานร่วมกัน
dc.description.abstractThe study was an explanatory research with the objective of evaluating and analyzing the association between personal characteristics, number of team member, communication and working atmosphere with team work as perceived by the officers of environment and sanitation section, Office of the District, Bangkok Metropolitan. The data was collected from the officers of the Office of the District, Bangkok Metropolis Municipality who were working in the Environment and Sanitation Section of Bangkok Metropolis. A 175 sanitation officers at the operational level, along with specialized experts and public health officers from operational level to expert level. The data were collected by using questionnaires during the period from 15th May - 15th June 2013. The data were analyzed by using computerized packaged program, statistics used were percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and Pearson's Product Correlation Coefficient. The study found that the majority of the population were female; age 21- 30 years old; bachelor degree; holding the position as a sanitary technical officer at an operational level; working experience 1-5 years, and the average team consisted of 2-4 team members. The communication, working atmosphere, and team work as perceived by the studied population were at a high level ( x = 4.05, 3.80 and 3.78 consecutively). The study found no association between personal characteristics and number of person in a team with team work as perceived by the studied population. The study found the association between communication and working atmosphere with team work as perceived by the studied population in medium level and high level with statistical significance at p-value<0.001 (r = 0.692 and 0.801 consecutively). This researcher suggests there should be development of team work in the Environment and Sanitation Section in Office of the District, Bangkok Metropolitan in the aspect of the component of team by allocating the working role in accord with the capability, personality and the interest of the member. Each member should accept the state of working with other person and promote the working atmosphere. Team leader should take action in resolving conflict, creating common consciousness of responsibility so that cooperation and positive attitude be mutually created through having activity and working together.
dc.format.extentก-ฌ, 136 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93015
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการทำงานเป็นทีม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectการทำงาน -- แง่จิตวิทยา
dc.titleการทำงานเป็นทีมตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeTeamwork perceived by the staff, environment and sanitation section, District Office in Bangkok, Bangkok Metropolitan Administration
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd483/5336850.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineบริหารสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files