การประเมินสมมูลคาร์บอนของการปลูกข้าวกรณีศึกษาในประเทศไทย

dc.contributor.authorยุวดี ไชยเชษฐ์en_US
dc.contributor.authorจงจินต์ ผลประเสริฐen_US
dc.contributor.authorสุพพัต ควรพงษากุลen_US
dc.contributor.authorประยูร ฟองสถิตย์กุลen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล.en_US
dc.date.accessioned2015-08-24T03:20:27Z
dc.date.accessioned2021-09-15T15:51:29Z
dc.date.available2015-08-24T03:20:27Z
dc.date.available2021-09-15T15:51:29Z
dc.date.created2558-08-13
dc.date.issued2551
dc.descriptionการประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 12 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาวะโลกร้อนผลกระทบต่อสุขภาพและความรับผิดชอบ: Global warming: health impact and responsibilities, 20-22 สิงหาคม 2551 โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551. หน้า 66.en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะประเมินสมมูลคาร์บอน (Carbon equivalence) จากการใช้ประโยชน์คาร์บอน (Carbon utilization) ในรูปของพลังงาน น้ำ และปุ๋ย บนพื้นที่การปลูกข้าวนาน้ำฝนและนาชลประทาน เพื่อเป็นแนวทางในการลดปริมาณระบายคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน และแสดงถึงความต้องการพื้นที่ในการปลูกข้าวเพื่อเป็นอาหารหลัดของคนในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสำรวจพื้นที่ภาคสนาม โดยวัดปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล อัตราการทำงานของคน กระบือ และเครื่องจักร และปรัมาณการใช้น้ำและผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ ผลการสึกษาพบว่า ปริมาณการระบายคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้น้ำมันดีเซลเป็นพลังงานในรถไถนา 2 ล้อ (8-12 Hp), 4 ล้อ (28-60 Hp) และรถเกี่ยวนวดคิดเป็นค่าสมมูลคาร์บอนโดยเฉลี่ย 12.79±3.3, 19.19±1.2 และ 20.06 ±1.4 กก.คาร์บอน/เฮกแตร์ ตามลำดับ เปรียบเทียบเป็นอัตราการทำงานโดยเฉลี่ยของรถไถนา 2 ล้อ, 4 ล้อ และกระบือมีค่า 11.37±0.9, 5.69±0.1 และ 26.94±6 ชั่วโมง/เฮกแตร์ ตามลำดับ ส่วนอัตราการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยเฉลี่ยของรถเกี่ยวนวดและแรงงานคนมีค่า 3.±.6 และ 0.43±1.4 ชั่วโมง/เฮกแตร์ ตามลำดับ น้ำและปุ๋ยเป็นปัจจัยการปลูกข้าวที่เกี่ยวข้องกับคู่สมมูลคาร์บอนปริมาณการคายและการระเหย (Evapotranspiration) ของข้าวแต่ละฤดูกาลมีค่าโดยเฉลี่ย 966 ลบ.ม./ไร่ พื้นที่นาชลประมานได้รับน้ำจากการกักเก็บน้ำและจ่ายลงสู่พื้นที่ จึงนำประมาณน้ำที่ใช้ในการคายระเหยของข้าวคิดเป็นค่าสมมูลคาร์บอนมีค่า 27.33 กก.คาร์บอน/เฮกแตร์ ส่วนพื้นที่นาน้ำฝนมีค่าสมมูลคาร์บอนเป็นศูนย์เนื่องจากน้ำที่ใช้อยู่ในวัฏจักรของน้ำตามธรรมชาติ ค่าปริมาณการใช้ปุ๋ยในพื้นที่นาชลประทานคิดเป็นค่าสมมูลคาร์บอนสูงกว่านาน้ำฝนมีค่า 417.94±27.9 และ 225.30±45.5 กก.คาร์บอน/เฮกแตร์ ตามลำดับ พื้นที่นาชลประทานให้ปริมาณของผลผลิตข้าวสูงกว่าพื้นที่นาน้ำฝนซึ่งมีค่า 753±281 และ 433±73 กก./ไร่ คิดเป็นค่าสมมูลคาร์บอน 1882.50 และ 1081.25 กก.คาร์บอน/เฮกแตร์ ตามลำดับ ในปี 2550 ปริมาณผลผลิตข้าว 29.90 ล้านตันในการปลูกข้าว 2 ครั้งต่อปีบนพื้นที่นาชลประทานและนาน้ำฝนทั้งประเทศ 66.95 ล้านไร่ จากการบริโภคข้าวของคนไทยคิดเป็นค่าความต้องการพื้นที่ปลูกข้าว 0.272ไร่/คน หรือ 0.043 เฮกแตร์/คนen_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63518
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการปลูกข้าวen_US
dc.subjectสมมูลคาร์บอนen_US
dc.titleการประเมินสมมูลคาร์บอนของการปลูกข้าวกรณีศึกษาในประเทศไทยen_US
dc.typeProceeding Posteren_US

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description: