ลักษณะวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.contributor.advisor | นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ | |
dc.contributor.advisor | สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ | |
dc.contributor.advisor | กมลพร สอนศรี | |
dc.contributor.author | สกาวรัตน์ พานชูวงศ์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-22T08:53:39Z | |
dc.date.available | 2024-01-22T08:53:39Z | |
dc.date.copyright | 2557 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description | รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557) | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้และความสำเร็จของการจัดการความรู้ 2) อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรแห่งการ เรียนรู้ที่มีต่อความสำเร็จการจัดการความรู้ 3) ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการจัดการความรู้ของคณะ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มประชากร 126 คน และสัมภาษณ์บุคลากรปฏิบัติงานด้านการจัดการความรู้ 5 ท่าน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า วัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูงทุกด้านโดยเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านผู้นำองค์กรมุ่งเน้นคนมากที่สุด รองลงมาคือด้านความเชื่อมั่นของผู้นำองค์กรต่อคนในองค์กร ด้านการให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ด้านความผูกพันต่อวิธีคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการสื่อสารระหว่างกันอย่างเปิดเผย ความสำเร็จของการจัดการความรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูง ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ อยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านพัฒนาองค์กรมากที่สุด รองลงมาคือด้านพัฒนางาน และด้านพัฒนาคน ตามลำดับ ซึ่งพบว่าวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้สามารถอธิบายความสำเร็จของการจัดการความรู้ ดังสมการความสำเร็จของการจัดการความรู้ = -0.072 + 0.194 (ผู้นำองค์กรมุ่งเน้นคน) - 0.088 (ความเชื่อมั่นของผู้นำองค์กรต่อคนในองค์กร) + 0.044 (ความเชื่อมั่นร่วมกันของคนในองค์กร) - 0.038 (การสื่อสารระหว่างกันอย่างเปิดเผย) + 0.347 (ความผูกพันต่อวิธีคิดอย่างเป็นระบบ) + 0.381 (การให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม) ค่า R2 = 0.779 สำหรับปัญหา/อุปสรรคการจัดการความรู้ ได้แก่ 1. การขาดหน่วยงานและ บุคลากรที่รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้โดยตรง 2. ช่องทางการเผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ เพียงพอ 3. บุคลากรดูแลระบบ อุปกรณ์และการวางระบบรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่เพียงพอ และ 4. ความแตกต่างในความเป็นตัวตน และลักษณะงานของบุคลากรสายสนับสนุนและสายวิชาการ ทำให้ยากต่อการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการกำหนดกิจกรรมการจัดการความรู้ที่น่าสนใจสำหรับบุคลากรทั้ง 2 สายงาน | |
dc.description.abstract | The research uses both quantitative and qualitative research methods. The objectives of this research are 1) to study the learning organization culture and the success of knowledge management 2) to study the influence of the learning organization culture on the success of knowledge management 3) to study the problems and obstacles of knowledge management in the Faculty of Social Science and Humanities, Mahidol University. The population size of 126 and 5 of the staff used knowledge management. The research tools were questionnaires and interview documents. The researcher use frequency, percentage, means, standard deviation, Pearson's correlation coefficient and multiple linear regression analysis to analyze the data. The results of this research is the overview of the learning organization culture to be at a high level, as follows; the organization leadership is at the highest level and next is the belief of the staff in the leaders in the organization, teamwork, relationship, communication and the success of knowledge management are at a high level. The opinions in the success of knowledge management are at a high level in all, as follows; the organization development is at the highest level and next is the development of work and staff respectively. As for the analysis, it shows that the capability of the learning organization culture in explaining the success of knowledge management = 0.0721 + 0.194 (the organizational leadership of staff) - 0.088 (the belief in the leaders of organization of staff) + 0.044 (the harmony of staff) - 0.038 (communication) + 0.347 (the relationship) + 0.381 (teamwork) and the variance explained at 77.9% (R2=0.779). The problems and obstacles of knowledge management from the suggestions and interviews were (1) public relations and exchange of knowledge is not enough (2) the staff for technology in knowledge exchange is not high enough now and in a long term (3) The differences in characteristics and job description of the supporting staff and academic staff make it difficult to participate in learning and set the activities of knowledge management for the staff. | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 138 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93466 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การบริหารองค์ความรู้ | |
dc.subject | วัฒนธรรมองค์การ | |
dc.subject | องค์กรแห่งการเรียนรู้ | |
dc.title | ลักษณะวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.title.alternative | Learning organization culture influence to the success of knowledge management in Faculty of Social Sciences and Humanities Mahidol University | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd495/5336624.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |