การบริโภคสมุนไพร : อัตลักษณ์และอำนาจในตนในการดูแลสุขภาพของคนเมือง

dc.contributor.advisorเพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์
dc.contributor.advisorณัฐณีย์ มีมนต์
dc.contributor.advisorพิมพวัลย์ บุญมงคล
dc.contributor.authorพรปวีณ์ จันทร์อุไร
dc.date.accessioned2024-01-23T01:30:51Z
dc.date.available2024-01-23T01:30:51Z
dc.date.copyright2556
dc.date.created2567
dc.date.issued2556
dc.descriptionสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รูปแบบการบริโภคสมุนไพรและการให้ความหมายต่อการบริโภค สมุนไพรของคนเมือง วาทกรรมเรื่องสมุนไพร อัตลักษณ์จากการบริโภคสมุนไพร และ อำนาจในตนในการตัดสินใจเลือก บริโภคสมุนไพร ผู้ให้ข้อมูลเป็นคนเมืองที่มีการบริโภคสมุนไพรจำนวน 12 ราย มีอายุระหว่าง 25-55 ปี การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ ในระดับปริญญาตรีและมีอาชีพที่หลากหลาย ได้แก่ ผู้บริหาร วิศวกร พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็น ต้น มีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี คัดเลือกมาจากศูนย์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ สวนป่านาบุญ 3 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสังเกต และ สัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า คนเมืองมีรูปแบบการบริโภคสมุนไพรที่ทั้งใช้ร่วมกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน และบริโภค สมุนไพรเพียงอย่างเดียว ทั้งการเป็นยา และอาหาร ประเภทของสมุนไพรที่บริโภคมีสมุนไพรสด และสมุนไพรแปรรูป มีการให้ ความหมายเชิงสัญญะคือ ความเป็นธรรมชาติ ความสดชื่น การเพิ่มพลังชีวิต ความปลอดภัย ความสะดวก ความมีมาตรฐาน ความทันสมัย คนเมืองมีชุดความรู้ในการอธิบายเรื่องสมุนไพรที่หลากหลายภายใต้วาทกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ว่า สมุนไพร เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ ไม่มีสารเคมี ไม่มีการตกค้างในร่างกาย ไม่สะสมตามอวัยวะต่างๆ วาทกรรมการแพทย์แผนไทย ที่ว่าด้วย การ เป็นต้นไม้ พืชผักหญ้าต่างๆ นำมาใช้เป็นอาหาร เป็นสิ่งที่ให้สรรพคุณทางยา วาทกรรมภูมิปัญญา ที่เป็นความรู้จากบรรพบุรุษที่ ควรเรียนรู้ และ วาทกรรมการแพทย์ทางเลือก ที่ว่าด้วยความสมดุลและพลังชีวิต การศึกษาครั้งนี้พบอีกว่าสมุนไพรไม่ได้มี ความหมายเพียงเป็นยา แต่เป็นสัญญะต่อการดำเนินชีวิตที่ซึมซับ สร้างตัวตน อัตลักษณ์คนเมือง ในหลายลักษณะคือ เป็นคนที่ พอเพียงรู้จักประมาณตน เป็นคนใจเย็น เป็นคนที่ดูแลสุขภาพตนเองดี เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาไทย เป็นคนที่ลดการยึดมั่นถือมั่น และ เป็นคนที่มีร่างกายที่บริสุทธิ์อันสะท้อนปัญหาความต้องการด้านสุขภาพของคนเมืองที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตที่เสี่ยง เร่งรีบ และ แข่งขัน นอกจากนั้นการบริโภคสมุนไพรของคนเมืองสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจในตนของคนเมืองในการตัดสินใจแสวงหา ทางเลือกในการรักษาสุขภาพตนเอง การค้นคว้าหาความรู้ในการดูแลตนเอง การประเมินผลที่เกิดขึ้นหลังจากบริโภคสมุนไพร การวินิจฉัยและรักษาสุขภาพของตนเองด้วยสมุนไพร และ การต่อรองกับอำนาจของผู้เชี่ยวชาญ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา รัฐควรส่งเสริมการใช้สมุนไพรโดยตระหนักถึงชุดวาทกรรมที่หลากหลายใน สังคม สมุนไพรมีหลายมิติในโลกชีวิตผู้บริโภค ควรเพิ่มช่องทาง ส่งเสริมการบริโภคทั้งการเป็นอาหาร เป็นยา ทั้งมิติการรักษา และการส่งเสริมและดูแลสุขภาพตนเอง การส่งเสริมการใช้สมุนไพรนอกจากผ่านระบบบริการสาธารณสุข ควรส่งเสริมผ่าน เครือข่ายผู้บริโภคและเสริมพลังอำนาจในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน
dc.description.abstractThe aims of this research were to study patterns of herb consumption, meanings given to consumption of herbs and discourses about herbs among urban people, as well as the identities related to herb consumption and the agency of consumers to make decisions about herb consumption. Data were collected from 12 urban informants with ages ranging from 25 to 55 years. Most of the informants had a bachelor's degree; they had diverse professions including administrator, engineer, air hostess, and entrepreneur. All had used herbs for at least 1 year and were recruited through the Applied Thai Traditional Medicine Center at Thammasat Chalermprakiat Hospital or through Suan Pa Na Boon 3 Community. A qualitative research approach was used; data were collected through observation and in-depth interviews. The research findings showed that some urban people consume herbs in addition to modern medicines, while others exclusively rely on herbs. Herbs, both fresh and processed, are used as food as well as for their medicinal properties. The symbolic meanings given to herbs include seeing them as natural, refreshing, life-force enhancing, safe, convenient, up-tostandard, and as modern. The urban people studied had multiple explanatory sets about herbs. Following modern medical discourse, herbs were considered pure, chemical-free, and free of the risk of accumulation in the body or in specific organs. Following Thai traditional medicine discourse, herbs were conceptualized as trees, weeds, vegetables or other kinds of plants that could be used as food but also had medicinal properties. Explanations based on the folk wisdom discourse (focusing on valuable knowledge passed from generation to generation) and the alternative medicine discourse focused on balance and life force. Herbs were not just seen as medicine; they possessed symbolic meanings that were absorbed and used in the identity construction of urban people in many ways. Urban people using herbs were considered frugal, calm, taking good care of their health and practicing non-attachment, as well as having pure bodies. These perceptions reflect the health needs of urban people and their risky, busy and competitive lifestyles. In addition, consumption of herbs among urban people reflects their agency in making decisions on their self-care, their pursuit of knowledge to guide their selfcare, their ways of evaluating the results of their own herb use, their self-diagnosis and selfcare using herbs, and in negotiating the power of experts. It is recommended on the basis of this study that the government should encourage the use of herbs, based on an appreciation of the multiplicity of discourses in society and of the multi-dimensional meanings of herbs in the lifeworlds of herb consumers. The use of herbs as both food and medicine (as treatment of illness and as tonics) should be promoted. Channels to access herbs should be increased; they should be accessible not only through public health services but also though consumer networks. Empowerment should be provided to the population at large to facilitate self-care.
dc.format.extentซ, 223 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93568
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectยาสมุนไพร
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
dc.titleการบริโภคสมุนไพร : อัตลักษณ์และอำนาจในตนในการดูแลสุขภาพของคนเมือง
dc.title.alternativeHerbal consumption : identity and agency in self-care practice among urban people
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd481/5437754.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files