ความหมายเชิงสัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
Issued Date
2550
Copyright Date
2550
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฐ, 242 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
Suggested Citation
โชติรส พิพัฒน์ผล ความหมายเชิงสัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93911
Title
ความหมายเชิงสัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
Alternative Title(s)
Symbolic meaning in the establishment of the Erawan Museum
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
NOTE 520 3 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษาความหมายเชิงสัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่า ความหมายที่อยู่เบื้องหลังของการนำเสนอจากปรัชญาแนวคิด และแรงบันดาลใจของผู้สร้าง การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานโดยนำแนวคิด ทฤษฎีต่างๆมาปรับใช้ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับข้อมูลและงานที่ได้ไปศึกษาเพื่อนำมาสู่การถอดรหัสและวิเคราะห์การสื่อความหมายด้วยแนวคิดทางพิพิธภัณฑ์วิทยา ผลการวิจัย พบว่า พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอกชน จากผลงานริเริ่มสร้างสรรค์โดย นายเล็ก วิริยะพันธุ์ ซึ่งมิได้เป็นเพียงอาคารประติมากรรมช้างสามเศียรทองแดง ขนาดมหึมาที่ขึ้นรูปด้วยมือแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกเท่านั้น หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโลกตะวันออก ที่แฝงเร้นไปด้วยวิธีคิดทางรหัสธรรมอันแยบยล ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สรุปสาระสำคัญของการศึกษา ออกเป็น 2 หัวข้อ คือ 1) คุณค่าทางศาสนา ที่แสดงให้เห็นถึง สัจธรรมในชีวิตของมนุษย์ 2) คุณค่าเชิงสถาปัตยกรรม อันแสดงให้เห็นมิติแห่งความศรัทธาที่สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นชาติพิพิธภัณฑ์ เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสารและเป็นสถานที่ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆให้แก่มหาชน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ การเพิ่มสื่อที่หลากหลายและเหมาะสม ต่อรับรู้คุณค่า เพื่อกระตุ้นความสนใจผู้แก่ชม อนึ่ง "พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ" ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้นอกระบบได้แสดงบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างโลกสามัญและโลกศักดิ์สิทธิ์ (sacred and profane)โดยการส่งผ่านความคิดในเชิงนามธรรมไปสู่ผู้ชม ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า พิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน สามารถเป็นองค์กรทางสังคมที่นำพาผู้ชมไปสู่การค้นหาความรู้อย่างลึกซึ้ง ทางด้าน ปรัชญา แก่นธรรม จริยธรรมต่างๆ ได้ด้วย
This was thesis research on symbolic meaning in the establishment of the Erawan Museum which focused on background meaning of the presentation, philosophy, concept and inspiration of the creator. This research used various techniques applying many theories to collect and study the information, leading to the decoding and analysis of the meaning expressed by the museology principle. The research shows that Erawan Museum is a private museum created by Mr. Lek Viriyahbhun. It is not just the first and the only copper-elephant building that has been crafted and shaped by hand, but it also reflects eastern thought with hidden and profound religious concepts and philosophy. The researcher summarizes the main points of this research into two parts : the first is religious concepts which show the truth of human life, the second is architectural value which shows the uniqueness of the nation. This study suggests that the visitor's interests and appreciation could be stimulated by extending various types of media effectively and appropriately. The Erawan Museum, as an external educational source, shows an important role, that of connecting the ordinary world and to the sacred and profane world by passing on abstract concepts and philosophy to the visitors. The researcher found that today's museum should also be an organization that leads visitors to explore deeply knowledge of the essence of Dhamma and morality.
This was thesis research on symbolic meaning in the establishment of the Erawan Museum which focused on background meaning of the presentation, philosophy, concept and inspiration of the creator. This research used various techniques applying many theories to collect and study the information, leading to the decoding and analysis of the meaning expressed by the museology principle. The research shows that Erawan Museum is a private museum created by Mr. Lek Viriyahbhun. It is not just the first and the only copper-elephant building that has been crafted and shaped by hand, but it also reflects eastern thought with hidden and profound religious concepts and philosophy. The researcher summarizes the main points of this research into two parts : the first is religious concepts which show the truth of human life, the second is architectural value which shows the uniqueness of the nation. This study suggests that the visitor's interests and appreciation could be stimulated by extending various types of media effectively and appropriately. The Erawan Museum, as an external educational source, shows an important role, that of connecting the ordinary world and to the sacred and profane world by passing on abstract concepts and philosophy to the visitors. The researcher found that today's museum should also be an organization that leads visitors to explore deeply knowledge of the essence of Dhamma and morality.
Description
วัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท
Degree Discipline
วัฒนธรรมศึกษา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล