Factors related to the needs for home care of patients with essential hypertension
Issued Date
2000
Copyright Date
2000
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 125 leaves
ISBN
9746644904
9789746644907
9789746644907
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.N.S. (Community Health Nursing))--Mahidol University, 2000
Suggested Citation
Nongnuch Petchroung Factors related to the needs for home care of patients with essential hypertension. Thesis (M.N.S. (Community Health Nursing))--Mahidol University, 2000. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/108630
Title
Factors related to the needs for home care of patients with essential hypertension
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้านของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
Author(s)
Abstract
Essential hypertension is an important public health problem in Thailand. Patients have to confront hypertension all of their lives. Home care should apply an appropriate strategy for essential hypertensive patients. The Neuman System Model (Neuman, 1995) was employed in this study as a guideline. This descriptive study of factors related to the needs for home care of patients with essential hypertension aims to identify the needs for home care and factors related to the needs for home care of patients. Data were gathered from three hundred subjects among essential hypertensive patients who were followed up at the hypertension clinic, Siriraj Hospital, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, using an interview questionnaire
constructed according to the Neuman System Model. Pearson's product moment correlation coefficient and a Chi-square test were used to test the significance of the relationships. The results of the study revealed that the subjects have a high level of overall needs. When considering specific needs, it revealed that the subjects have a high level of physiological, psychological and spiritual needs, and a moderate level of socio-cultural and developmental
needs. The physiological needs of subjects included the need to be instructed about the action and side effects of antihypertensive drugs. The psychological needs were mainly the need to be instructed about the danger of stress affecting hypertension. Socio-cultural needs comprised the need to receive attention from caregivers. The need to be instructed about rehabilitation made up the developmental needs. Spiritual needs were the needs to be helped to maintain hope and willpower in their lives. Factors related to the needs for home care found that internal environmental factors such as gender were statistically associated with developmental needs for home care at the .05 level of significance. Age was negatively associated with socio-cultural needs for home care at the .05 level of significance. The ability to perform activities of daily living was positively associated with socio-cultural needs for home care at the .05 level of statistical significance. It was negatively associated with developmental needs for home care at the .05 level of statistical significance. External environmental factors such as family income were negatively associated with socio-cultural needs for home care at the .01 level of statistical significance. Health insurance was statistically associated with socio-cultural needs for home care at the .05 level of significance. Overall needs for home care were not related to internal and external environmental factors. This study suggests that home care service to patients should focus on informing patients about the action and side effects of antihypertensive drugs, information about the harmful effects of stress on hypertension and education about how to practice skills to manage stress should be included. Counseling patients when they experience stress, learning about community resources, and arranging teaching programs in order to rehabilitate patients and help them maintain hope and willpower in their lives should also be included. These home care services should focus on the patients who are young adults, females, who have a low ability to perform the activities of daily
living, a low family income and no health insurance.
โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ผู้ป่วยต้องเผชิญกับภาวะความดันโลหิตสูงไปตลอดชีวิต การรักษาพยาบาลที่บ้านน่าจะเป็นกลยุทธที่เหมาะสมที่จะใช้กับผู้ป่วยเหล่านี้ การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้านของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โดยประยุกต์แนวคิดแบบจำลองระบบของนิวแมนเป็นแนวทางในการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้าน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 300 คน ซึ่งมารับการตรวจ รักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดแบบจำลองระบบของนิวแมน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความต้องการใน รายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการพยาบาลด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณในระดับมาก ส่วนความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรม และพัฒนาการมีในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการด้านร่างกายในเรื่อง คำแนะนำเกี่ยวกับการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต ด้านจิตใจ มีความต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับอันตรายของความเครียดต่อภาวะความดันโลหิตสูง ด้านสังคม-วัฒนธรรม มีความต้องการเกี่ยวกับการเอาใจใส่ของผู้ให้การดูแลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ด้านพัฒนาการ มีความต้องการเกี่ยวกับคำแนะนำในการทำงานที่เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย และด้านจิตวิญญาณ มีความต้องการในเรื่อง การช่วยให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหวังและมีกำลังใจ สำหรับปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้าน พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายใน ได้แก่ เพศ มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรม และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการด้านพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่ รายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประกันสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้านโดยรวม ไม่พบความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอก ผลที่ได้จากการศึกษา ได้ข้อเสนอแนะว่าในการให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุควรมุ่งเน้นในเรื่องคำแนะนำเกี่ยวกับการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต อันตรายของความเครียดที่มีผลต่อภาวะความดันโลหิตสูง การสอนและฝึกทักษะการจัดการกับความเครียด การให้คำปรึกษาเมื่อมีความเครียด การหาแหล่งประโยชน์ทางสังคมให้แก่ผู้ป่วยเพื่อช่วยสนับสนุนและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย การจัดโปรแกรมการสอนเพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและการช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหวัง และกำลังใจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อย เพศหญิง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันน้อย มีรายได้ของครอบครัวน้อยและไม่มีประกันสุขภาพ
โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ผู้ป่วยต้องเผชิญกับภาวะความดันโลหิตสูงไปตลอดชีวิต การรักษาพยาบาลที่บ้านน่าจะเป็นกลยุทธที่เหมาะสมที่จะใช้กับผู้ป่วยเหล่านี้ การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้านของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โดยประยุกต์แนวคิดแบบจำลองระบบของนิวแมนเป็นแนวทางในการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้าน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 300 คน ซึ่งมารับการตรวจ รักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดแบบจำลองระบบของนิวแมน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความต้องการใน รายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการพยาบาลด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณในระดับมาก ส่วนความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรม และพัฒนาการมีในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการด้านร่างกายในเรื่อง คำแนะนำเกี่ยวกับการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต ด้านจิตใจ มีความต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับอันตรายของความเครียดต่อภาวะความดันโลหิตสูง ด้านสังคม-วัฒนธรรม มีความต้องการเกี่ยวกับการเอาใจใส่ของผู้ให้การดูแลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ด้านพัฒนาการ มีความต้องการเกี่ยวกับคำแนะนำในการทำงานที่เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย และด้านจิตวิญญาณ มีความต้องการในเรื่อง การช่วยให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหวังและมีกำลังใจ สำหรับปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้าน พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายใน ได้แก่ เพศ มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรม และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการด้านพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่ รายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประกันสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านสังคม-วัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความต้องการการรักษาพยาบาลที่บ้านโดยรวม ไม่พบความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอก ผลที่ได้จากการศึกษา ได้ข้อเสนอแนะว่าในการให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุควรมุ่งเน้นในเรื่องคำแนะนำเกี่ยวกับการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต อันตรายของความเครียดที่มีผลต่อภาวะความดันโลหิตสูง การสอนและฝึกทักษะการจัดการกับความเครียด การให้คำปรึกษาเมื่อมีความเครียด การหาแหล่งประโยชน์ทางสังคมให้แก่ผู้ป่วยเพื่อช่วยสนับสนุนและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย การจัดโปรแกรมการสอนเพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและการช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหวัง และกำลังใจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อย เพศหญิง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันน้อย มีรายได้ของครอบครัวน้อยและไม่มีประกันสุขภาพ
Description
Community Health Nursing (Mahidol University 2000)
Degree Name
Master of Nursing Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Nursing
Degree Discipline
Community Health Nursing
Degree Grantor(s)
Mahidol University