แนวทางและวิธีการสอนในการับมือความกังวลในการบันทึกเสียงของนักดนตรี

dc.contributor.advisorรัฐนัย บำเพ็ญอยู่
dc.contributor.advisorอนรรฆ จรัณยานนท์
dc.contributor.authorพชร รัตนอรุณ
dc.date.accessioned2024-01-15T04:07:41Z
dc.date.available2024-01-15T04:07:41Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุ อาการ แนวทางและวิธีการสอน ในการรับมือกับความกังวลในการบันทึกเสียงของนักดนตรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยทำการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ใน การบันทึกเสียง และการสอนดนตรีจำนวน 10 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ พร้อมทั้งสารวจความคิดเห็น และวิธีการสอนในการพัฒนานักเรียนให้สามารถรับกับความกังวล ในการบันทึกเสียงที่เกิดขึ้นได้ โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และ นำเสนอผ่านการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในเรื่อยง ความกังวลในการบันทึกเสียงเป็นปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการบันทึกเสียงในประเทศไทย ซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความกังวลในการบันทึกเสียง มีหลายประเด็นด้วยกัน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 มุมมองทางด้านความกังวลในการบันทึกเสียง ประกอบด้วยประเด็นดังนี้ 1) สาเหตุที่ทำให้เกิดความกังวลในการบันทึกเสียง 2) อาการที่นักดนตรีแสดงออก เมื่อนักดนตรีเกิดความกังวลในการบันทึกเสียง 3) แนวทางในการรับมือกับความกังวลในการบันทึกเสียงของนักดนตรี 4) มุมมองของนักดนตรีต่อปัญหาความกังวลในการบันทึกเสียง ส่วนที่ 2 มุมมองทางด้านดนตรีศึกษา ประกอบด้วยประเด็นดังนี้ 1) วิธีการสอนเพื่อให้นักดนตรีรับมือกับความกังวลในการบันทึกเสียง 2) สภาพปัญหาที่พบในการเรียนการสอน 3) วิธีการแก้ปัญหา 4) ผลที่ได้จากการสอนเพื่อให้นักดนตรีรับมือกับ ความกังวลในการบันทึกเสียงจากบทสรุปงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า วิธีการรับมือกับความกังวลในการบันทึกเสียงของนักดนตรี คือ การได้รับการสอนในการรับมือความกังวล ประกอบกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองเพื่อที่นักดนตรีจะสามารถนำความรู้ความเข้าใจ ไปใช้รับมือกับความกังวลที่เกิดขึ้นกับตนเองในแต่ละสถานการณ์ได้ในที่สุด
dc.description.abstractThe qualitative research aims to study the causes and symptoms of music performance anxiety in a recording studio, and to offer teaching strategies for coping with it by using a semi-structured interview. The phenomenological approach was used as the research methodology. The data was collected from artists, studio musicians, music producers, experienced teachers, and sound engineers who are expert at audio recording. The research provides solutions for problems caused by different kinds of anxiety and pedagogical methods that can be used to prepare for studio recording. Problems related to impractical practice habits are also addressed. In conclusion, the effective ways to cope with performance anxiety in recording studio are to learn from experience, to understand the causes and symptoms, to constantly practice and develop oneself, and to find appropriate ways to cope with it based on the considerations discussed in this study.
dc.format.extentก-ญ, 186 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92768
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการบันทึกเสียง
dc.subjectความวิตกกังวล -- นักดนตรี
dc.titleแนวทางและวิธีการสอนในการับมือความกังวลในการบันทึกเสียงของนักดนตรี
dc.title.alternativeCoping strategies and teaching methods for music performance anxiety in recording studio
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/510/5736951.pdf
thesis.degree.departmentวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
thesis.degree.disciplineดนตรี
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files