คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ
dc.contributor.advisor | ปิยธิดา ตรีเดช | |
dc.contributor.advisor | วงเดือน ปั้นดี | |
dc.contributor.author | ประเสริฐ ทองเรือง | |
dc.date.accessioned | 2024-01-17T01:57:57Z | |
dc.date.available | 2024-01-17T01:57:57Z | |
dc.date.copyright | 2554 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.description | บริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556) | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Survey) มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จำนวน 212 คน (เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2555 - 14 สิงหาคม 2555) ได้แบบสอบถาม กลับคืนที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจำนวน 177 ชุด คิดเป็นร้อยละ 83.49 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ มี คุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง บรรยากาศองค์การอยู่ในระดับสูง ปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การโดยรวมและปัจจัยจูงใจโดยรวม กับคุณภาพชีวิตการ ทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.759, p-value < 0.01 และ r = 0.723, p-value < 0.01 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบ ความความแตกต่างของคุณภาพชีวิตการทำงานตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพศ หญิงมีคุณภาพชีวิต การทำงานมากกว่าเพศชาย สถานภาพการสมรสคู่มีคุณภาพชีวิตการทำงานมากกว่า สถานภาพการสมรสโสด และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหาร มีคุณภาพชีวิตการทำงานมากกว่า กลุ่มที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ปฏิบัติ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหารควรรักษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการเพิ่มค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและปริมาณ งาน การจัดจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เหมะสมกับงานและปริมาณงาน การสนับสนุนเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ให้ เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน การพิจารณาความดีความชอบด้วยความยุติธรรม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและสร้าง บรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | |
dc.description.abstract | This research was quantitative research and a cross-sectional survey study with the objective of identifying factors associated with quality of work life of the personnel in Tumbol Health Promoting Hospital in Samutprakarn province. The sample comprised 212 personnel of Tumbol Health Promoting Hospital. Questionnaires were used as a data collecting tool. Data collection was undertaken during 24th June - 14th August, 2012. There were 117 returned questionnaires (83.49%). The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Pearson's correlation coefficient. The study found that the quality of work life of the personnel at the hospital was at a medium level. The organization atmosphere was at a high level. Motivation was at a medium level. Associative analysis found that the over-all organizational atmosphere and over-all motivation factor had a high level of positive association with quality of work life of the personnel at the hospital with statistical significance (r = 0.759 p-value < 0.01 and r = 0.723 p-value < 0.01, consecutively). Analysis of the different levels of quality of work life with varying personal factors found the following: female public health personnel had better quality of work life than the males, the married had better quality of work life than the singles, and the personnel with an administrative position had better quality of work life than the personnel with an operational position. The recommendations from this research are that the administration should 1) keep the quality of work life of the personnel at an appropriate level by increasing the fringe benefits to be in accord with staffs knowledge, capability, and work load, 2) provide an appropriate number of personnel suitable to the type of work and the work load, 3) provide sufficient equipment and supply to be relevant with the performance of the work, and 4) provide a fair reward system for motivation and create a positive working atmosphere for the personnel at Tumbol Health Promoting Hospital. | |
dc.format.extent | ก-ญ, 147 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92989 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน -- ไทย -- สมุทรปราการ | |
dc.subject | เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล -- ไทย -- สมุทรปราการ | |
dc.title | คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ | |
dc.title.alternative | Quality of work life of health personnel at Tumbol Health Promoting Hospital in Samutprakarn province | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd486/5137418.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | บริหารสาธารณสุข | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |