การศึกษาข้อผิดพลาดในงานเขียนเรียงความภาษาจีนกลาง : กรณีศึกษานิสิตไทยระดับอุดมศึกษา
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[ก]-ฐ, 262 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ภวธัช พงษ์ศรี การศึกษาข้อผิดพลาดในงานเขียนเรียงความภาษาจีนกลาง : กรณีศึกษานิสิตไทยระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92678
Title
การศึกษาข้อผิดพลาดในงานเขียนเรียงความภาษาจีนกลาง : กรณีศึกษานิสิตไทยระดับอุดมศึกษา
Alternative Title(s)
Error analysis of Mandarin Chinese essays : a case of Thai undergraduate students
Author(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดในงานเขียนเรียงความของนิสิตไทยระดับ บทคัดย่อ ปริญญาตรีที่เรียนวิชาเอกภาษาจีน และเพื่อวิเคราะห์สาเหตุข้อผิดพลาดในงานเขียนจากวัตถุประสงค์แรก ด้วยวิธีการย้อนพินิจ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากงานเขียนของผู้เรียนทั้งหมด 32 ชิ้น ของนิสิต สาขาภาษาจีน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 4 หลังจากนั้นผู้วิจัยจึงนำข้อผิดพลาดของผู้เรียนมาสัมภาษณ์เพื่อ วิเคราะห์ถึงการถ่ายทอดความคิดในการใช้ภาษาของผู้เรียน รวมทั้งนำมาวิเคราะห์ควบคู่กับลักษณะข้อผิดพลาดของ ผู้เรียน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังทำการนับจำนวนข้อผิดพลาด และสาเหตุข้อผิดพลาคของผู้เรียน เพื่อหาจำนวนประเภท ข้อผิดพลาดและสาเหตุข้อผิดพลาดที่เกิดมากที่สุดของผู้เรียน อีกทั้งผู้วิจัยยังนำช้อมูลของจำนวนนับในกลุ่มสูงและกลุ่ม ต่ำมาเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่าจากงานเขียนของผู้เรียนมีทั้งหมด 414 ครั้ง โดยแบ่งเป็นกลุ่มสูง 175 ครั้ง และ กลุ่มต่ำ 239 ครั้ง ส่วนประเภทข้อผิดพลาดนั้น ผู้วิจัยพบว่ามีทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องหมาขวรรคตอน 2) ตัวอักษร 3 คำศัพท์และความหมายในระดับประโขค 4) คำศัพท์และความหมายในระดับสัมพันธสาร การใช้ไวยากรณ์ และ 6 รูปแบบการใช้ภาษาที่นำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ สำหรับสาเหตุของ ข้อผิดพลาดนั้น ผู้วิจัยพบว่ามีทั้งหมด 8 สาเหตุ ได้แก่ 1) ผู้เรียนได้รับอิทธิพลทางภาษาที่ 1 2) ผู้เรียนเข้าใจ กฎเกณฑ์การใช้ภาษาที่ 2 ผิด 3) ผู้เรียนไม่รู้กฎเกณฑ์การใช้ภาษาที่ 2 4) ผู้เรียนเลือกใช้ภาษาตามที่คนเองรู้ 5) ผู้เรียนไม่สามารถแยกภาษาเขียนกับภาษาพูดได้ 6) ผู้เรียนขาคทักษะในการตั้งหัวเรื่อง 7) ผู้เรียนจำตัวอักษรผิด และ 8) ความไม่เหมาะสมในการใช้ภาษาตามความคิดของเจ้าของภาษา ซึ่งสาเหตุทั้ง 8 สาเหตุนำไปสู่ปัจจัยที่ เป็นอุปสรรดในการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การถ่ายโอนทางภาษา 2) การเรียนรู้ภาษาที่ไม่สมบูรณ์ 3) การใช้ภาษา และ 4) การขาดการฝึกฝน และเมื่อผู้วิจัยเปรียบเทียบประเภทข้อผิดพลาดและ สาเหตุข้อผิดพลาดของ กลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ผู้วิจัยก็พบว่าปริมาณข้อผิดพลาดของกลุ่มต่ำมีมากกว่ากลุ่มสูง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้เสนอแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาด โดยการนำวิชาภาษาไทยมาบูรณาการกับการพัฒนาทางด้านความคิด การใช้เหตุผล และ ความคิดเชื่อมโยง สำหรับการสอนวิชาภาษาจีนเองนั้น ก็ควรเน้นวิธีการสื่อความของภาษาจีนให้ออกมาตรงกับความคิด ของผู้เรียน และยิ่งไปกว่านั้นครูผู้สอนภาษาจีนควรนำแนวทางของภาษาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบบทเรียน และสื่อการเรียนการสอน นอกจากนี้งานวิจัยชิ้นนี้ยังแสดงให้เห็นถึงระดับความรู้ภาษาของผู้เรียนที่ยังน่าเป็นห่วง ซึ่งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรที่จะตระหนัก รวมทั้งให้ความสำคัญและพัฒนาปรับปรุงการเรียนการ สอนภาษาจีนในประเทศไทย
The study aimed to investigate errors in 32 essays by Thai senior undergraduates majoring in Chinese, at Srinakharinwirot university, by analyzing the cause of errors using the retrospection approach. This qualitative research analyzed and explored the possible causes of errors though interview, counted frequency and cause of the errors, then compared with the proficiency levels of participants. The results showed that a total of 414 errors were found, in the more proficient learners 175 errors were found, and the less proficient learners made 239 errors, including punctuation, character, lexical items and meaning in sentence, lexical items and meaning in discourse, grammatical, and pragmatic uses of language. Eight causes of errors were identified as learners were influenced by L1; learners misunderstood L2 rules; learners did not know L2 rules; learners chose their own language; learners could not distinguish spoken from written language; learners lacked the skills to name the title; learners failed to remember the correct character; and inappropriate use of language by learners based on the native speakers' opinion. These causes possibly resulted from language transfer, incomplete learning, incorrect use of written language, and lack of practice. Moreover, the results showed that the more proficient learners outperformed those at the lower Chinese proficiency levels. This research proposed that solutions to errors made by Thai learners of Chinese could be found by the learners using the Thai language integrated with greater development of thought processes - reasoning and linking thoughts - and a focus on how to communicate in the Chinese language in order to determine a learning approach that matches the ideas of the learner, and educational practitioners should thus teach Chinese language by applying linguistic approach to design their lessons and course materials. In addition, this research demonstrated that the proficiency level of Thai learners of Chinese is of some concern. The public and private sectors involved in education should be aware of this and focus on improving Chinese language teaching in Thailand.
The study aimed to investigate errors in 32 essays by Thai senior undergraduates majoring in Chinese, at Srinakharinwirot university, by analyzing the cause of errors using the retrospection approach. This qualitative research analyzed and explored the possible causes of errors though interview, counted frequency and cause of the errors, then compared with the proficiency levels of participants. The results showed that a total of 414 errors were found, in the more proficient learners 175 errors were found, and the less proficient learners made 239 errors, including punctuation, character, lexical items and meaning in sentence, lexical items and meaning in discourse, grammatical, and pragmatic uses of language. Eight causes of errors were identified as learners were influenced by L1; learners misunderstood L2 rules; learners did not know L2 rules; learners chose their own language; learners could not distinguish spoken from written language; learners lacked the skills to name the title; learners failed to remember the correct character; and inappropriate use of language by learners based on the native speakers' opinion. These causes possibly resulted from language transfer, incomplete learning, incorrect use of written language, and lack of practice. Moreover, the results showed that the more proficient learners outperformed those at the lower Chinese proficiency levels. This research proposed that solutions to errors made by Thai learners of Chinese could be found by the learners using the Thai language integrated with greater development of thought processes - reasoning and linking thoughts - and a focus on how to communicate in the Chinese language in order to determine a learning approach that matches the ideas of the learner, and educational practitioners should thus teach Chinese language by applying linguistic approach to design their lessons and course materials. In addition, this research demonstrated that the proficiency level of Thai learners of Chinese is of some concern. The public and private sectors involved in education should be aware of this and focus on improving Chinese language teaching in Thailand.
Description
ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล