ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไทย
dc.contributor.advisor | วาทินี บุญชะลักษี | |
dc.contributor.advisor | สวรัย บุณยมานนท์ | |
dc.contributor.author | ดนุสรณ์ โพธารินทร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T06:22:37Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T06:22:37Z | |
dc.date.copyright | 2555 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description | วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555) | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไทย เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการด้านสุขภาพครอบคลุมประชาชนทุกคน โดยเฉพาะสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นสิทธิขั้นปฐมภูมิที่มีไว้ให้สำหรับประชาชนทุกคนเพื่อเข้ารักษาในสถานพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาตั้งแต่ปี 2544 แต่ผลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2552 พบว่า มีผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ถึงร้อยละ 46.1 การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลโครงการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของประเทศไทย ปี 2552 จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ศึกษาเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 4,746 คน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression) ผลการศึกษา พบว่า มี 6 ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ โรคประจำตัว ระดับการศึกษา หลักประกันด้านสุขภาพ ประเภทของสถานพยาบาลฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน และภูมิภาคที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดในการศึกษาครั้งนี้ สามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไทยได้ร้อยละ 18.0 (R2 = 0.180) ผลจากการศึกษาดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า โครงการของรัฐบาล (บัตรทอง) และโครงการประกันสุขภาพต่างๆ (Health Insurance Schemes) มีความสำคัญมาก ค่า R2 ในการศึกษานี้อาจจะเป็นตัวชี้วัด (Indicator) ว่า ยิ่งมีโครงการของรัฐและของเอกชนในการรักษาพยาบาลมากเพียงใด ค่า R2 ก็ยิ่งจะลดต่ำลง ดังนั้น R2 อาจจะใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของนโยบายการรักษาพยาบาลของประเทศได้ในระดับหนึ่ง การศึกษาครั้งนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ รัฐควรที่จะส่งเสริมประชาชนให้มีการดูแลสุขภาพของตนเอง และการมีระบบหลักประกันด้านสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุได้ ดังนั้นรัฐควรคงไว้ซึ่งนโยบายดังกล่าว และควรส่งเสริมพัฒนาระบบหลักประกันด้านสุขภาพให้มีความครอบคลุมทั่วถึงผู้สูงอายุที่ยังตกหล่น เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับผู้สูงอายุไทยต่อไป | |
dc.format.extent | ก-ญ, 84 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93596 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- การเงิน | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ค่าใช้จ่าย | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- การพยาบาล | |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุไทย | |
dc.title.alternative | Factors affecting healthcare expenditure of the Thai elderly | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd462/5237473.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม | |
thesis.degree.discipline | วิจัยประชากรและสังคม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |