อัตวิสัยและประสบการณ์ของผู้หญิงทำหมันแล้วท้องในระบบหลักประกันสุขภาพ
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ซ, 183 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
อัญอริญชย์ วงษ์อำมาตย์ อัตวิสัยและประสบการณ์ของผู้หญิงทำหมันแล้วท้องในระบบหลักประกันสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92929
Title
อัตวิสัยและประสบการณ์ของผู้หญิงทำหมันแล้วท้องในระบบหลักประกันสุขภาพ
Alternative Title(s)
Subjectivity and experiences of pregnant women after tube sterilization : study under Universal Health Coverage Scheme
Author(s)
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้หญิงที่ทำหมันแล้วท้องในระบบหลักประกันสุขภาพ การให้ความหมายต่อการทำหมันแล้วท้อง ,ความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางการแพทย์ของผู้หญิงที่ทำหมันแล้วท้องในกระบวนการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตลอดจนประสบการณ์ความทุกข์ของกลไกการเยียวยาในระบบการขอรับเงินช่วยเหลือและการต่อต้าน ต่อรองของหญิงทำหมันแล้วท้องศึกษาในผู้หญิงที่ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกรณีทำหมันแล้วท้อง จำนวน 6 ราย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเรื่องเล่าและ การสังเกตการณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่ทำหมันแล้วท้องได้เข้าสู่การทำหมันด้วยเหตุผลด้านความเพียงพอของจำนวนบุตร ภาวะทางเศรษฐกิจ และภาวะสุขภาพ นอกจากนี้ยังได้ให้ความหมายของการทำหมันแล้วท้องว่า เป็นความผิดพลาด ล้มเหลว เป็นการรักษาที่ไม่ได้ผล หรือมีความคลาดเคลื่อน เป็นการเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ เวลาและเป็นความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพของทั้งมารดา และทารกในครรภ์ และเมื่อทราบว่าทำหมันแล้วท้องผู้หญิงรู้สึกเศร้า หดหู่ใจ ตกใจ อึดอัด รวมไปถึงการต้องข้อสงสัย ในการวิจัยครั้งนี้พบว่าปฎิกริยาของระบบบริการทางการแพทย์ อำนาจทางการแพทย์ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจกระทำเป็นรูปแบบต่างๆ ทั้งการเพิกเฉย ละเลย ตอกย้ำ ความฉุนเฉียว การไม่ดูแล และไม่แนะช่องทางการช่วยเหลือ บ่ายเบี่ยง และปฏิเสธการให้เข้าถึงการรับบริการตลอดจนการท้าทายในความรู้ทางการแพทย์ที่ผู้หญิงไม่สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งไม่อำนวยความสะดวกใน การเข้าถึงประวัติการรักษา ล้วนเป็นปฎิกริยาของระบบทางการแพทย์ที่สร้างความทุกข์ของผู้หญิงทำหมันแล้วท้อง นอกจากนี้ยังพบว่าระบบการเยียวยายังตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการแพทย์ ทั้งผลการพิจารณา ข้อกำหนดระยะเวลาการพิจารณาการเยียวยาแบบครั้งเดียวและไม่รอบด้าน ต่างสร้างความทุกข์ให้กับผู้หญิงทำหมันแล้วท้อง อย่างไรก็ดีในการศึกษานี้พบว่าผู้หญิงทำหมันแล้วท้องไม่ยอมจำนนต่ออำนาจทางการแพทย์แต่อย่างเดียว ผู้หญิงมีการต่อต้าน ต่อรอง กับระบบบริการ กับอำนาจความรู้ทางการแพทย์และระบบการเยียวยาด้วย ได้แก่ การต่อต้านต่อรอง ต่อชุดความรู้ทางการแพทย์ และการต่อต้านต่อระบบการเยียวยา ข้อเสนอแนะ ควรมีระบบการเยียวยาที่เหมาะสม รอบด้านและครอบคลุมความเสียหายด้านต่างๆทั้งมิติทางสังคม เศรษฐกิจและจิตใจของผู้หญิงทำหมันแล้วท้อง และเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการคลอดของผู้หญิงทำหมันแล้วท้องสามารถใช้สิทธิได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอดจนส่งเสริมและสร้างความเข้าใจให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนครอบครัวให้เข้าใจมิติด้านเพศภาวะของการทำหมันแล้วท้อง ควบคู่กับการให้ความรู้ทางการแพทย์
This study was a qualitative research aiming at studying the experiences of pregnant women after tube sterilization under health insurance system defining pregnancy after tube sterilization, their medical power relationship in the system of primary allowance and the experiences of misery on the amelioration mechanism of the system on the basic allowance and their resistance. The study was conducted with 6 after tube sterilization women pregnant who filed a petition for the basic allowance under Article 41 of the National Health Insurance Act in Bangkok and its premises. Methodology was narrative interview, observation and content analysis. The results revealed that they took the tube sterilization on the reasons of children adequacy, economic and health conditions. Besides, they defined pregnancy after tube sterilization as the failure and error of treatment, economic damages, time loss and risk to health for both the mother and the child in the womb. Upon realizing their pregnancy, they felt sad, were depressed, shocked, frustrated and suspicious. This study displayed that the reaction of the medical service system, medical power, and power relationship had been in various forms: heedlessness, abdication, reiteration, temperance, abandonment, non-consultation, evasion, refusal for service access, and challenging with the medical knowledge which women could not canvass including ill-facilitation in accessing treatment records. All these were the medical system creating their miseries. In addition, it was also found that the amelioration system was subject to medical power regarding the results of investigation, criteria of standards, duration of investigation, a-one-time and non-versatile amelioration, which also added to their miseries. However, in this research, it was disclosed that they did not only surrender to the medical power but also, resisted, and bargained with the service system, the power of medical knowledge, and the amelioration system through resistance and negotiation with the medical knowledg
This study was a qualitative research aiming at studying the experiences of pregnant women after tube sterilization under health insurance system defining pregnancy after tube sterilization, their medical power relationship in the system of primary allowance and the experiences of misery on the amelioration mechanism of the system on the basic allowance and their resistance. The study was conducted with 6 after tube sterilization women pregnant who filed a petition for the basic allowance under Article 41 of the National Health Insurance Act in Bangkok and its premises. Methodology was narrative interview, observation and content analysis. The results revealed that they took the tube sterilization on the reasons of children adequacy, economic and health conditions. Besides, they defined pregnancy after tube sterilization as the failure and error of treatment, economic damages, time loss and risk to health for both the mother and the child in the womb. Upon realizing their pregnancy, they felt sad, were depressed, shocked, frustrated and suspicious. This study displayed that the reaction of the medical service system, medical power, and power relationship had been in various forms: heedlessness, abdication, reiteration, temperance, abandonment, non-consultation, evasion, refusal for service access, and challenging with the medical knowledge which women could not canvass including ill-facilitation in accessing treatment records. All these were the medical system creating their miseries. In addition, it was also found that the amelioration system was subject to medical power regarding the results of investigation, criteria of standards, duration of investigation, a-one-time and non-versatile amelioration, which also added to their miseries. However, in this research, it was disclosed that they did not only surrender to the medical power but also, resisted, and bargained with the service system, the power of medical knowledge, and the amelioration system through resistance and negotiation with the medical knowledg
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล