Anti-inflammatory activity of DMPBD, a phenylbutanoid from Zingiber cassumunar roxb.
Issued Date
2023
Copyright Date
1994
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 112 leaves : ill. (some col.)
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Pharmacology))--Mahidol University, 1994
Suggested Citation
Rattima Jeenapongsa Anti-inflammatory activity of DMPBD, a phenylbutanoid from Zingiber cassumunar roxb.. Thesis (M.Sc. (Pharmacology))--Mahidol University, 1994. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/90625
Title
Anti-inflammatory activity of DMPBD, a phenylbutanoid from Zingiber cassumunar roxb.
Alternative Title(s)
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด DMPBD จากไพล
Author(s)
Abstract
This study aimed to evaluate the anti-inflammatory effects of a pure substance, [(E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl)butadiene; (DMPBD)] isolated from Zingiber cassumunar Roxb., by using both in vivo and in vitro methods. The in vivo models included rat ear edema induced by topical applications of ethyl phenylpropiolate (EPP), arachidonic acid (AA) or 12-0-tetradecanoylphorbol 13-acetate (TPA) and rat paw edema induced by subplantar injections of carrageenan or platelet-activating factor (PAF). The in vitro method was the study of antiplatelet aggregating activities of various compounds on platelet aggregation induced by collagen, adenosine diphosphate (ADP), AA or PAF. Topically applied DMPBD suppressed ear swelling induced by EPP or AA with higher potency than oxyphenbutazone and phenidone. In both cases, maximum activity was achieved at 30 minutes after application. Low doses of DMPBD (0.l-1000 ng/ear) inhibited ear edema induced by TPA in a dose-related manner. However, with higher doses (10-1000 µg/ear) the activities were diminished. DMPBD was more potent than diclofenac with the ID(,50) values at 8 hr of 660 and 7200 pmole/ear, respectively. DMPBD and diclofenac inhibited carrageenan-induced rat paw edema with similar potencies and peak time activity which was achieved at 4-5 hr after drug administration. The inhibitory effects were dose related. However, both compounds failed to inhibit PAF-induced paw edema; while salbutamol, a selective β2-agonist, significantly inhibited edema in a dose-dependent manner. When comparing the inhibitory effects of DMPBD, aspirin and phenidone on platelet aggregation induced by collagen, ADP, AA and PAF, DMPBD was the most potent inhibitor of PAF-induced platelet aggregation. Phenidone was more effective than DMPBD and aspirin when collagen, ADP and AA were used as inducers of platelet aggregation. The overall results of this study indicate that DMPBD is a topically active anti-inflammatory agent. It appears to interact with the inflammatory process in a similar way as drugs inhibiting cyclooxygenase and lipoxygenase enzymes of AA metabolism. The chemical structure of DMPBD is, however, entirely different from those of previously known anti-inflammatory drugs. DMPBD may, thus, represent a novel class of compounds with a potential for developing into anti-inflammatory drugs. Further studies related to toxicological studies, pharmaceutical formulation and clinical trials should be conducted.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาฤทธิ์ต้าน การอักเสบของสารสกัดบริสุทธิ์จากไพล [(E)-1- (3,4-dimethoxyphenyl) butadiene, (DMPBD)] โดยใช้รูปแบบการทดลองทั้ง in vivo และ in vitro การศึกษาแบบ in vivo ทำเพื่อดูประสิทธิภาพของ DMPBD ในการลดอาการบวมของใบหูของหนูขาวซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดย การทาสาร ethyl phenylpropiolate (EPP), arachidonic acid (AA), หรือ 12-O-tetradecanoylphorol 13-acetate (TPA) และผลต่ออาการบวมของอุ้งเท้าหนูขาว ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยการฉีดสาร carrageenan หรือ platelet-activating factor (PAF) ส่วนการศึกษา in vitro เป็นการศึกษาโดยดูผลของ DMPBD และยาต้านการอักเสบที่ใช้ ในปัจจุบันต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดซึ่งเกิดจากการ เหนี่ยวนำโดย collagen adenosine diphosphate (ADP), AA และ PAF DMPBD ที่ใช้โดยวิธีการทาสามารถลดอาการบวมของใบหู ที่ถูกกระตุ้นโดย EPP และ AA ได้ดีกว่า oxyphenbutazone และ phenidone ตามลำดับ โดยมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ สูงสุดที่เวลา 30 นาทีในทั้งสองกรณี พบว่าประสิทธิภาพใน การลดอาการบวมจาก TPA ของ DMPBD ในขนาดต่ำ (0.1-1000 ng/ear) จะเพิ่มขึ้นตามขนาดยาที่ใช้ ในขณะที่ DMPBD ในขนาดสูง (10-1000 µg/ear) กลับมีฤทธิ์ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับ diclofenac DMPBD มีความแรงสูงกว่า โดยมีค่า ID(,50) ที่เวลา 8 ชั่วโมง 660 pmole/ear ในขณะ ที่ ID50 ของ diclofenac สูงถึง 7200 pmole/ear DMPBD และ diclofenac ลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนู ที่เกิดจากการฉีด carrageenan ได้ดีพอ ๆ กัน โดยออกฤทธิ์ สูงสุดที่ชั่วโมงที่ 4-5 หลังทายา ผลการออกฤทธิ์ขึ้นอยู่ กับขนาดของยาที่ใช้ สารทั้งสองตัวนี้ไม่สามารถลดอาการบวม ที่เกิดจากการฉีด PAF ได้ ในขณะที่ salbutamol ซึ่งเป็น β2-agonist สามารถลดอาการบวมได้อย่างเด่นชัด และผลที่ได้แปรผันตามขนาดยาที่ใช้ เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ด เลือดที่ถูกเหนี่ยวนำโดย collagen, ADP, AA และ PAF โดย aspirin, phenidone และ DMPBD พบว่า DMPBD ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำโดย PAF ได้ดีที่สุด ในขณะที่ phenidone ยับยั้งการเกาะกลุ่มที่ ถูกเหนี่ยวนำโดย collagen, ADP และ AA ได้ดีกว่า DMPBD และ aspirin จากผลการศึกษาทั้งหมด เชื่อว่า DMPBD น่าจะมี ฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยอาจออกฤทธิ์ผ่านการยับยั้งการทำงาน ของเอนไซม์ cyclooxygenase และ lipoxygenase ของ กระบวนการ AA metabolism DMPBD เป็นสารที่มีสูตรโครง สร้างทางเคมีแตกต่างจากยากลุ่มต้านการอักเสบที่มีใช้อยู่ ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่ DMPBD จะเป็นสาร ในกลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพพอที่จะนำมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นยา ลดการอักเสบ และสมควรที่จะมีการศึกษาเพิ่มเติมด้านพิษวิทยา การพัฒนารูปแบบยาเตรียม และการวิจัยผลของยาทางคลินิค ต่อไป
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาฤทธิ์ต้าน การอักเสบของสารสกัดบริสุทธิ์จากไพล [(E)-1- (3,4-dimethoxyphenyl) butadiene, (DMPBD)] โดยใช้รูปแบบการทดลองทั้ง in vivo และ in vitro การศึกษาแบบ in vivo ทำเพื่อดูประสิทธิภาพของ DMPBD ในการลดอาการบวมของใบหูของหนูขาวซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดย การทาสาร ethyl phenylpropiolate (EPP), arachidonic acid (AA), หรือ 12-O-tetradecanoylphorol 13-acetate (TPA) และผลต่ออาการบวมของอุ้งเท้าหนูขาว ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยการฉีดสาร carrageenan หรือ platelet-activating factor (PAF) ส่วนการศึกษา in vitro เป็นการศึกษาโดยดูผลของ DMPBD และยาต้านการอักเสบที่ใช้ ในปัจจุบันต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดซึ่งเกิดจากการ เหนี่ยวนำโดย collagen adenosine diphosphate (ADP), AA และ PAF DMPBD ที่ใช้โดยวิธีการทาสามารถลดอาการบวมของใบหู ที่ถูกกระตุ้นโดย EPP และ AA ได้ดีกว่า oxyphenbutazone และ phenidone ตามลำดับ โดยมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ สูงสุดที่เวลา 30 นาทีในทั้งสองกรณี พบว่าประสิทธิภาพใน การลดอาการบวมจาก TPA ของ DMPBD ในขนาดต่ำ (0.1-1000 ng/ear) จะเพิ่มขึ้นตามขนาดยาที่ใช้ ในขณะที่ DMPBD ในขนาดสูง (10-1000 µg/ear) กลับมีฤทธิ์ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับ diclofenac DMPBD มีความแรงสูงกว่า โดยมีค่า ID(,50) ที่เวลา 8 ชั่วโมง 660 pmole/ear ในขณะ ที่ ID50 ของ diclofenac สูงถึง 7200 pmole/ear DMPBD และ diclofenac ลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนู ที่เกิดจากการฉีด carrageenan ได้ดีพอ ๆ กัน โดยออกฤทธิ์ สูงสุดที่ชั่วโมงที่ 4-5 หลังทายา ผลการออกฤทธิ์ขึ้นอยู่ กับขนาดของยาที่ใช้ สารทั้งสองตัวนี้ไม่สามารถลดอาการบวม ที่เกิดจากการฉีด PAF ได้ ในขณะที่ salbutamol ซึ่งเป็น β2-agonist สามารถลดอาการบวมได้อย่างเด่นชัด และผลที่ได้แปรผันตามขนาดยาที่ใช้ เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ด เลือดที่ถูกเหนี่ยวนำโดย collagen, ADP, AA และ PAF โดย aspirin, phenidone และ DMPBD พบว่า DMPBD ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำโดย PAF ได้ดีที่สุด ในขณะที่ phenidone ยับยั้งการเกาะกลุ่มที่ ถูกเหนี่ยวนำโดย collagen, ADP และ AA ได้ดีกว่า DMPBD และ aspirin จากผลการศึกษาทั้งหมด เชื่อว่า DMPBD น่าจะมี ฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยอาจออกฤทธิ์ผ่านการยับยั้งการทำงาน ของเอนไซม์ cyclooxygenase และ lipoxygenase ของ กระบวนการ AA metabolism DMPBD เป็นสารที่มีสูตรโครง สร้างทางเคมีแตกต่างจากยากลุ่มต้านการอักเสบที่มีใช้อยู่ ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่ DMPBD จะเป็นสาร ในกลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพพอที่จะนำมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นยา ลดการอักเสบ และสมควรที่จะมีการศึกษาเพิ่มเติมด้านพิษวิทยา การพัฒนารูปแบบยาเตรียม และการวิจัยผลของยาทางคลินิค ต่อไป
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Science
Degree Discipline
Pharmacology
Degree Grantor(s)
Mahidol University