ผลของการสื่อสารด้วยแอพพลิเคชันบนแท็บเล็ตต่อความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล และผู้ดูแลในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
Issued Date
2567
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 126 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ชนิตา ตัณฑเจริญรัตน์
ผลของการสื่อสารด้วยแอพพลิเคชันบนแท็บเล็ตต่อความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล และผู้ดูแลในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91826
Title
ผลของการสื่อสารด้วยแอพพลิเคชันบนแท็บเล็ตต่อความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล และผู้ดูแลในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
Alternative Title(s)
Effect of communication via tablet application on nursing personnel's and caregivers' communication satisfaction with pediatric patients on ventilators
Author(s)
Abstract
การสื่อสารที่ยากลำบากระหว่างผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจกับบุคลากรทางการพยาบาลและผู้ดูแลทำให้เกิดการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงพัฒนาแอพลิเคชันบนแท็บเล็ต "กระดานเสียงของฉัน" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยสื่อสารเพื่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่ใช้วิธีการสื่อสารตามปกติ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แอพพลิเคชันบนแท็บเล็ตต่อความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาลและผู้ดูแลในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยมีรูปแบบเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรทางการพยาบาล 44 คน และคู่ของผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจกับผู้ดูแล 18 คู่ ในหอผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลราชบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบทีภายในกลุ่ม และแมนวิทนีย์ ยู ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรทางการพยาบาลมีความพึงพอใจในการสื่อสารด้วยแอพพลิเคชันบนแท็บเล็ตกับผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่าการสื่อสารตามปกติ ที่นัยสำคัญ .05 (p < .001) และผู้ดูแลกลุ่มที่สื่อสารด้วยแอพพลิเคชันบนแท็บเล็ตมีความพึงพอใจในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ดูแลที่ใช้วิธีการสื่อสารตามปกติ ที่นัยสำคัญ .05 (p < .001) จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรนำ "กระดานเสียงของฉัน" ไปใช้สำหรับเป็น อุปกรณ์ช่วยสื่อสารในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจกับบุคลากรทางการพยาบาลและผู้ดูแล หรือ ผู้ป่วยเด็กกลุ่มอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยการเปล่งเสียงได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
The difficulty in communication among pediatric patients on ventilators with nursing personnel and caregivers leads to insufficient communication related to unresponsive needs of the patients. My Voice Board , tablet application, is one of communication methods that may faster better communication among nursing personnel, caregivers, and pediatric patients on ventilators than using normal methods such as writing and body language. This study examined the effect of communication via tablet application on nursing personnel's and caregivers' communication satisfaction with pediatric patients on ventilators. This study was a quasi-experimental research. The sample comprised of 44 nursing personnel and 18 dyads of caregivers and pediatric patients on ventilators at Siriraj Hospital and Ratchaburi Hospital, Thailand. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, Mann-Whitney U test. The findings revealed that nursing personnel were more satisfied with communication via tablet application than normal communication (p < .001). Caregivers who used tablet application reported more satisfaction in communication with their children, compared to those who used normal communication (p < .001). Based on the study findings, My Voice Board should be encouraged for wide use with pediatric patients or those who cannot verbally communicate so that their needs will be responsively met.
The difficulty in communication among pediatric patients on ventilators with nursing personnel and caregivers leads to insufficient communication related to unresponsive needs of the patients. My Voice Board , tablet application, is one of communication methods that may faster better communication among nursing personnel, caregivers, and pediatric patients on ventilators than using normal methods such as writing and body language. This study examined the effect of communication via tablet application on nursing personnel's and caregivers' communication satisfaction with pediatric patients on ventilators. This study was a quasi-experimental research. The sample comprised of 44 nursing personnel and 18 dyads of caregivers and pediatric patients on ventilators at Siriraj Hospital and Ratchaburi Hospital, Thailand. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, Mann-Whitney U test. The findings revealed that nursing personnel were more satisfied with communication via tablet application than normal communication (p < .001). Caregivers who used tablet application reported more satisfaction in communication with their children, compared to those who used normal communication (p < .001). Based on the study findings, My Voice Board should be encouraged for wide use with pediatric patients or those who cannot verbally communicate so that their needs will be responsively met.
Description
การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลเด็ก
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล