การบังคับใช้กฎหมายกับการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 207 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
เสาวนีย์ สงวนกลิ่น การบังคับใช้กฎหมายกับการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93457
Title
การบังคับใช้กฎหมายกับการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน
Alternative Title(s)
Law enforcement for the youth crime recidivism
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ของเด็กและเยาวชน เพื่อศึกษาช่องว่างของกฎหมายที่มีผลต่อการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน และเพื่อหา แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิดซ้ำ ต่อไป ซึ่งเป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ บุคคลที่อยู่ใน กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน โดยแบ่งเป็น ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม จำนวน 2 ท่าน พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม จำนวน 5 ท่าน เจ้าพนักงานตำรวจในเขต พื้นที่จังหวัดนครปฐมจำนวน 6 ท่าน พนักงานคุมประพฤติของสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครปฐม จำนวน 6 ท่าน และนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครปฐม จำนวน 4 ท่าน รวมผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 23 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า การบังคับใช้กฎหมายกับการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนยังไม่มี่ความ เหมาะสม ยังขาดประสิทธิภาพและลักษณะของกฎหมายยังส่งผลต่อการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน อัน เนื่องมาจากปัญหาช่องว่างของกฎหมาย แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งผลให้เด็กและ เยาวชนกระทำความผิดซ้ำคือ ประการแรกควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ให้มีการแยกการดำเนินกระบวนพิจารณา คดีสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดซ้ำออกจากการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับเด็กและเยาวชนที่ กระทำความผิดครั้งแรก ประการที่สองควรมีการแก้ไขกฎหมาย ให้มีความเป็นปัจจุบัน ทันกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และมีสภาพการบังคับใช้ที่เหมาะสม ประการที่สามควรมีการแก้ไขกฎหมาย ในบทมาตราที่มีวัตถุประสงค์ในการมุ่ง ให้โอกาสเด็กและเยาวชน ให้มีความชัดเจน ประการที่สี่ควรมีการแก้ไขกฎหมาย โดยเพิ่มมาตรการทางกฎหมาย ใน การแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด และประการสุดท้ายควรมีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มหน่วยงานนี่จะเข้ามา ดูแลเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด ในส่วนที่ต้องมีการคุมประพฤติ เพื่อเป็นการควบคุม สอดส่อง ติดตามดูและ พฤติกรรมอย่างใกล้ชิด
The objective of this research was to explore the law enforcement and legal loopholes affecting youth crime recidivism in order to find solutions to such problems. Qualitative research was conducted with a structured interview to collect data from 23 key informants involved in the judicial process for youth in Nakornpathom province. They were two juvenile and family court judges, five juvenile and family attorneys, six policemen, six probation officers and four psychologists or social workers at Nakornpathom Juvenile Observation and Protection division. The study found that law enforcement for youth crime recidivism was inappropriate and ineffective as well as law structure being open to legal loopholes,\ which enabled youth crime recidivism. Solution guidelines for law enforcement of youth crime recidivism were firstly to amend the laws to keep the judicial procedures for children and youth crime recidivism separate from those for first-time offenders. Secondly, the law should be updated consistently to keep up with the current social situation and proper use. Thirdly, certain articles in the law that aim to favor children and youth must be amended. Fourthly, the law should be amended by increasing the legal measures to rehabilitate children and youth and prevent recidivism. Finally, the law should be amended to increase the size of the probation division for close surveillance and follow-up on youth crime recidivism.
The objective of this research was to explore the law enforcement and legal loopholes affecting youth crime recidivism in order to find solutions to such problems. Qualitative research was conducted with a structured interview to collect data from 23 key informants involved in the judicial process for youth in Nakornpathom province. They were two juvenile and family court judges, five juvenile and family attorneys, six policemen, six probation officers and four psychologists or social workers at Nakornpathom Juvenile Observation and Protection division. The study found that law enforcement for youth crime recidivism was inappropriate and ineffective as well as law structure being open to legal loopholes,\ which enabled youth crime recidivism. Solution guidelines for law enforcement of youth crime recidivism were firstly to amend the laws to keep the judicial procedures for children and youth crime recidivism separate from those for first-time offenders. Secondly, the law should be updated consistently to keep up with the current social situation and proper use. Thirdly, certain articles in the law that aim to favor children and youth must be amended. Fourthly, the law should be amended by increasing the legal measures to rehabilitate children and youth and prevent recidivism. Finally, the law should be amended to increase the size of the probation division for close surveillance and follow-up on youth crime recidivism.
Description
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล