ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของเชื้อ Haemophilus influenza และการดื้อยา ในเด็กสุขภาพดีของศูนย์เด็กเล็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่ง

dc.contributor.authorโชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์en_US
dc.contributor.authorศุภชัย ปิติกุลตุงen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว.en_US
dc.date.accessioned2015-10-30T03:24:00Z
dc.date.accessioned2021-09-20T08:27:51Z
dc.date.available2015-10-30T03:24:00Z
dc.date.available2021-09-20T08:27:51Z
dc.date.created2558-10-29
dc.date.issued2552
dc.descriptionการประชุมวิชาการอนามัยครอบครัวแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ครอบครัวไทย: ความหลากหลายสู่ความสมดุล ความสุข และความเข้มแข็ง: Thai family: from diversity to harmony, happiness and healthy, วันที่ 15-16 ตุลาคม 2522 ณ ห้องภาณุรังษี บอลล์รูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ บางพลัด กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552. หน้า129.en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในเด็กอายุระหว่าง 1-5 ปี ที่มาใช้บริการที่ศูนย์เด็กเล็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่ง เพื่อประเมินภาวะการเป็นพาหะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของ Haemophilus influenza ในลำคอ รวมทั้งหาการดื้อยาต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ Haemophilus influenza โดยวิธี oropharyngeal swab ในเด็ก 189 คน เป็นชาย 95 คน หญิง 94 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ Chi-square test และ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 44.4 ของเด็กเป็นพาหะของ H. influenzae และในจำนวนนี้ พบว่า ร้อยละ 1.1 เป็นพาหะของ H. influenzae type b ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นพาหะของเชื้อ H.influenzae อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.005 ได้แก่ เด็กที่อายุน้อยกว่า 36 เดือน ประวัติการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำกว่า 2,500 กรัม การมีเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี ในบ้านมากกว่า 2 คน มารดามีอาชีพรับราชการหรือรับจ้าง เด็กอยู่ในครอบครัวขยาย และการไม่ได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ (H.influenzae type b) จากการศึกษาความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพพบว่า ร้อยละ 31.5 ดื้อต่อยา ampicillin และร้อยละ 1.1 ดื้อต่อยา cefotaxime ดังนั้นครอบครัวควรมีการวางแผนการ ป้องกันการเป็นพาหะของเชื้อ H. influenzae ตั้งแต่การตั้งครรภ์ การดูแลสุขอนามัยในครอบครัวที่มีจำนวนสมาชิกหลายคน ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เหมาะกับความเสี่ยงของแต่ละครอบครัว รวมถึงการใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม สำหรับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กควรมีการป้องกันการแพร่เชื้อและลดโอกาสของการเป็นพาหะของเชื้อเพื่อลดการเกิดโรคต่างๆ จากเชื้อที่ติดต่อโดยทางการหายใจ อีกทั้งควรส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมen_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63595
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการดื้อยาen_US
dc.subjectความสัมพันธ์en_US
dc.subjectเด็กen_US
dc.subjectสุขภาพen_US
dc.subjectฮีโมฟิลุสอินฟลูเอนเซen_US
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของเชื้อ Haemophilus influenza และการดื้อยา ในเด็กสุขภาพดีของศูนย์เด็กเล็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่งen_US
dc.typeProceeding Posteren_US

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description: