การเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิก ระหว่างขดลวดค้ำยันชนิดเคลือบยา BIOLIMUS A9 และ ยา SIROLIMUS ภายหลังได้รับการรักษาหลอดเลือด เลี้ยงหัวใจผ่านสายสวน
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ทิพยวรรณ เลิศวิลัย, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร, ณัฐนารี เอมยงค์, ดำรัส ตรีสุโกศล (2558). การเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิก ระหว่างขดลวดค้ำยันชนิดเคลือบยา BIOLIMUS A9 และ ยา SIROLIMUS ภายหลังได้รับการรักษาหลอดเลือด เลี้ยงหัวใจผ่านสายสวน. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63563
Title
การเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิก ระหว่างขดลวดค้ำยันชนิดเคลือบยา BIOLIMUS A9 และ ยา SIROLIMUS ภายหลังได้รับการรักษาหลอดเลือด เลี้ยงหัวใจผ่านสายสวน
Abstract
ภูมิหลัง: ขดลวดค้ำยันเคลือบยา Biolimus A9 (Biolimus A9-Eluting Stent: BES) และ ยา Sirolimus (Sirolimus-Eluting Stent: SES) อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการรักษาหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ผ่านสายสวนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการรักษาทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดเลี้ยง หัวใจผ่านสายสวน ด้วยขดลวดค้ำยันชนิด BES และ SES
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจด้วยขดลวดค้ำยันชนิด BES หรือ SES ระหว่างปี พ.ศ. 2548–2551 ณ โรงพยาบาลศิริราช ปลายทางหลักของการศึกษา (ผลลัพธ์ทางคลินิก) คืออุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การเสียชีวิตทุกสาเหตุ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และการกลับมา ขยายหลอดเลือดซ้ำ ใช้วิธีการวิเคราะห์ Kaplan–Meier และ Log–rank test
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 486 คนที่เข้าเกณฑ์การศึกษา อายุเฉลี่ย 63.8 + 1.1 ปี และเป็นเพศชาย 353 คน (72.6%) ลักษณะของผู้ป่วย และประวัติโรคของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ระยะเวลาการติดตาม 9 ปี ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยขดลวดค้ำยัน BES มีอัตราการเกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยขดลวดค้ำยัน SES (BES 51.5% กับ SES 30.9%) อัตราการเสียชีวิตทุกสาเหตุ (21.6% กับ 15.5%) อัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (17.8% กับ 8.3%) และอัตราการกลับมาขยายหลอดเลือดซ้ำ (12.0% กับ 7.2%) ค่ามัธยฐานการปลอดเหตุการณ์อุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่ม BES เท่ากับ 79.8 เดือน ในกลุ่ม SES มากกว่า 108 เดือน ทุกผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่รักษาด้วยขดลวด ค้ำยัน SES มีอัตราการปลอดเหตุการณ์ สูงกว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยขดลวดค้ำยัน BES อย่างไรก็ตาม มีเพียงอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ (p=0.007) และการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (p=0.003) ที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วย 2 กลุ่มนี้
สรุปผลการศึกษา: การรักษาหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจผ่านสายสวน ด้วยขดลวดค้ำยัน SESให้
ผลลัพธ์ทางคลินิกในระยะยาวดีกว่าขดลวดค้ำยัน BES
Description
การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 15 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21: มุมมองอนาคต และการจัดการเชิงระบบ: Public health and environment in the 21st Century: evidence-based global health, วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 42.