ความสามารถทางสาธารสุขที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดระยอง
Issued Date
2550
Copyright Date
2550
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 190 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
Suggested Citation
ศุภกร จุฑาจันทร์ ความสามารถทางสาธารสุขที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93072
Title
ความสามารถทางสาธารสุขที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดระยอง
Alternative Title(s)
Public health competencies affecting towards health service performance in primary care unite : Rayong province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสามารถทางสาธารณสุข และความสามารถในการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดระยอง พร้อมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างความสามารถทางสาธารณสุข และความสามารถในการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขกับประสิทธิผลการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดระยอง รวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 94 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถทางสาธารณสุขของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมนทั้ง 7 ประการ ได้แก่ ด้านการเป็นผู้นำในวิสัยทัศน์ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการจัดการสารสนเทศ ด้านการประเมินสภาพ การวางแผนและการประเมินผล ด้านการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นและการร่วมมือกัน ด้านการคิดเป็นระบบและด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนมีความสามารถรายด้าน ใกล้เคียงกันอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนมีความสามารถในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมากที่สุด ส่วนความสามารถการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขโดยรวมแล้วหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนมีความสามารถในการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับประสิทธิผลการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนมีผลงานอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสาธารณสุขต่างๆ กับประสิทธิผลการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดระยอง พบว่า ความสามารถทางสาธารณสุขของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมนทั้ง 7 ประการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการดำเนินงานการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.648) ส่วนความสามารถการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินงานการให้บริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดระยอง ข้อเสนอแนะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยองควรจะสนับสนุนนโยบายการพัฒนาคุณภาพบริการในหน่วยงาน โดยเน้นความสามารถการประเมินผลแผนงานโครงการของหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ และ ควรจะสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะโปรแกรมฐานข้อมูล ข้อมูลสุขภาพพื้นฐานในสถานบริการสุขภาพ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ประเมินผลงานอย่างชัดเจน
This descriptive research aims to analyze the public health competencies, and public health resources management affecting health service performance in Rayong primary care units. It also analyzes the relationship of public health competencies and public health resources management with the public health service performance of primary care units in Rayong. The data was collected using questionnaires to interview 94 heads of primary care units. The data was analyzed by frequency distribution, percentage, average value, standard deviation, and Pearson's Coefficient correlation. The results revealed that the competency of the heads of primary care units in 7 aspects: visionary leadership, communication, information management, condition assessment, planning and assessment, collaboration and coordination with other departments, systematic thinking, health promotion and prevention was at a moderate level. Heads of primary care units had competency in health promotion and prevention the most, in terms of competency in public health resources management in the overall picture they were at the moderate level, and the primary care unit management was also at the moderate level. Therefore, the analysis to find the relationship between public health competencies and primary care unit service performance in Rayong revealed that 7 competencies of heads of primary care units had a significant positive relationship to the public health service performance at primary care units in Rayong (r = 0.648). The competency of public health resources management had no relationship with the public health service performance at primary care units in Rayong. Suggestions: The Office of Public Health in Rayong should provide support in service quality development policy in the units by focusing on the project assessment competency at every level in public health departments, as well as provide support in applying the use of information technology, especially the health fundamental database program, at primary care units and the setting of assessment regulations.
This descriptive research aims to analyze the public health competencies, and public health resources management affecting health service performance in Rayong primary care units. It also analyzes the relationship of public health competencies and public health resources management with the public health service performance of primary care units in Rayong. The data was collected using questionnaires to interview 94 heads of primary care units. The data was analyzed by frequency distribution, percentage, average value, standard deviation, and Pearson's Coefficient correlation. The results revealed that the competency of the heads of primary care units in 7 aspects: visionary leadership, communication, information management, condition assessment, planning and assessment, collaboration and coordination with other departments, systematic thinking, health promotion and prevention was at a moderate level. Heads of primary care units had competency in health promotion and prevention the most, in terms of competency in public health resources management in the overall picture they were at the moderate level, and the primary care unit management was also at the moderate level. Therefore, the analysis to find the relationship between public health competencies and primary care unit service performance in Rayong revealed that 7 competencies of heads of primary care units had a significant positive relationship to the public health service performance at primary care units in Rayong (r = 0.648). The competency of public health resources management had no relationship with the public health service performance at primary care units in Rayong. Suggestions: The Office of Public Health in Rayong should provide support in service quality development policy in the units by focusing on the project assessment competency at every level in public health departments, as well as provide support in applying the use of information technology, especially the health fundamental database program, at primary care units and the setting of assessment regulations.
Description
บริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
บริหารสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล