ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 142 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
ศุภณัฐ อรรถวุฒิปกรณ์ ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91918
Title
ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Alternative Title(s)
The effect of computer-assisted instruction on developing attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนปกติ(เอกสารความรู้) และ 4) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคงทนของเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในสังกัดกรุงเทพมหานคร จานวน 77 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 39 คนและกลุ่มควบคุม 38 คน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มทดลองทั้งหมด 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ควรมี 9 ลักษณะ ได้แก่ เนื้อหาถูกต้อง เข้าใจได้ง่าย สามารถชักจูงให้คล้อยตามได้ บรรจุสื่อหลากหลายชนิด มีปฏิสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ มีผลป้อนกลับที่มีคุณภาพให้ผู้เรียนได้ควบคุมบทเรียนตามความเหมาะสม สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล และควรใช้บทเรียนมากกว่า 1 ครั้ง 2) ค่าเฉลี่ยของเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นไม่แตกต่างหลังจากใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ค่าเฉลี่ยของเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นของกลุ่มที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่แตกต่างกันกับกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนปกติ 4) ค่าเฉลี่ยของเจตคติที่มีต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม มีความคงทนแตกต่างกัน
The purposes of this research were: 1) to develop Computer-Assisted Instruction for developing attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment. 2) to compare attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment before and after using Computer?Assisted Instruction (CAI), 3) to compare attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment between using CAI and conventional teaching method (knowledge sheet), and 4) to study and compare retention of the attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment between using CAI and conventional teaching method. The research methodology was quasi?experimental design. The participants were 77 fourth graders from a school in Bangkok Area Office. The samples comprised of two groups: an experimental group (39 students) and a controlled group (38 students). The experimental group participated in one hour per week of CAI for 2 weeks. The research findings were: 1) Computer?assisted instruction to develop attitudes towards persons with visual impairment for fourth graders should have 9 attributes: correct content, easy to understand, persuasive ability, multimedia, various interactions, provide quality feedback, appropriated?level of lesson control, adapted for individuals and more than 1 time use. 2) There were no significant differences in the pre?test and post?test of the experimental group. 3) There were no significant differences in the post?test of the experimental group and the controlled group and, 4) There were significant differences of the retention of attitudes towards visual impairment of the experimental group and the controlled group.
The purposes of this research were: 1) to develop Computer-Assisted Instruction for developing attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment. 2) to compare attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment before and after using Computer?Assisted Instruction (CAI), 3) to compare attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment between using CAI and conventional teaching method (knowledge sheet), and 4) to study and compare retention of the attitudes of fourth graders towards persons with visual impairment between using CAI and conventional teaching method. The research methodology was quasi?experimental design. The participants were 77 fourth graders from a school in Bangkok Area Office. The samples comprised of two groups: an experimental group (39 students) and a controlled group (38 students). The experimental group participated in one hour per week of CAI for 2 weeks. The research findings were: 1) Computer?assisted instruction to develop attitudes towards persons with visual impairment for fourth graders should have 9 attributes: correct content, easy to understand, persuasive ability, multimedia, various interactions, provide quality feedback, appropriated?level of lesson control, adapted for individuals and more than 1 time use. 2) There were no significant differences in the pre?test and post?test of the experimental group. 3) There were no significant differences in the post?test of the experimental group and the controlled group and, 4) There were significant differences of the retention of attitudes towards visual impairment of the experimental group and the controlled group.
Description
การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล